Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51015
Title: กระบวนการพัฒนาโครงการอาคารชุดประเภทที่พักอาศัยภายใต้แบรนด์: กรณีศึกษา เดอะเรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียลเต็ล กรุงเทพฯ และเดอะเรสซิเดนเซส แอท เดอะเซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ
Other Titles: PROJECT DEVELOPMENT PROCESS OF BRANDED RESIDENCES CONDOMINIUM: A CASE STUDY OF THE RESIDENCES AT MANDARIN ORIENTAL, BANGKOK AND THE RESIDENCES AT THE ST.REGIS, BANGKOK
Authors: กชพรรณ เดือนฉาย
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussara.S@Chula.ac.th,sara_sripanich@yahoo.com
Subjects: ที่อยู่อาศัย
อาคารชุด
การจัดการการเคหะ
การพัฒนาที่ดิน
Dwellings
Condominiums
Housing management
Real estate development
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ราคาที่ดินปัจจุบันที่ปรับสูงขึ้นกว่าร้อยละ 35-40 ส่งผลต่อต้นทุนโครงการอาคารที่พักอาศัยก่อนหน้านี้ต้นทุนที่ดินจะมี ทำให้ผู้พัฒนาหันมาพัฒนาโครงการอาคารที่พักอาศัยระดับราคาสูงมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการอาคารที่พักอาศัยประเภท Branded Residences ซึ่งใช้แบรนด์โรงแรมจากต่างประเทศในการบริหาร งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวคิด และกระบวนการพัฒนาโครงการอาคารที่พักอาศัยประเภท Branded Residences รวมทั้งข้อดี และข้อจำกัดของการพัฒนาโครงการ โดยเลือกศึกษาโครงการ เดอะเรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียลเต็ล กรุงเทพฯ และเดอะเรสซิเดนเซส แอท เดอะเซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสำรวจโครงการ ผู้พัฒนาโครงการ และ ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า 1.) ผู้พัฒนาโครงการอาคารที่พักอาศัยประเภท Branded Residences มีนโยบายของบริษัทที่ต้องการพัฒนาโครงการอาคารที่ พักอาศัยระดับราคาสูง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าราคา ขายแก่โครงการ โดยมีตลาดเฉพาะเจาะจง เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการบริการที่เป็นเลิศ ให้ความสำคัญกับ การออกแบบ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงต้องการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ 2.) ลักษณะสำคัญของโครงการ อาคารที่พักอาศัยประเภท Branded Residences คืออยู่ในโครงการแบบผสม (Mixed-use) ในทำเลที่มีความพร้อม ทั้งสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และมีทัศนียภาพที่สวยงาม ตัวอาคารที่พักอาศัยจะใช้ชื่ออาคารเป็นชื่อเดียวกับ แบรนด์โรงแรม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงแรม (Hotel operator) จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการและบริหารโครงการ 3.) กระบวนการพัฒนาโครงการประเภท Branded Residences มีขั้นตอนคล้ายกับการพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ โดยมีข้อแตกต่างกันคือ Hotel Operator จะเข้ามาทำงานร่วมกับผู้พัฒนาโครง การตั้งแต่แรกเริ่ม โดยจะเป็นผู้อนุมัติแบบอาคาร แบบห้อง และแบบพื้นที่ส่วนกลาง รวมถึงแผนการตลาดก่อน เริ่มการก่อสร้าง ขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุดคือช่วง ก่อนการก่อสร้าง ซึ่งได้แก่การคัดเลือกแบรนด์ที่เหมาะสม และการตกลงบทบาทในการพัฒนาโครงการร่วมกันระหว่างผู้พัฒนาโครงการ และ Hotel Operator ผู้อยู่อาศัยต้องมีการเซ็นสัญญายอมรับ ทั้งนี้ Hotel operator เป็นผู้บริหารอาคารตั้งแต่ตอนทำสัญญาจะซื้อ จะขายหรือเช่าระยะยาวกับโครงการ 4.) โครงการสามารถเพิ่มมูลค่าราคาขายกว่าร้อยละ 45-70 เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการที่ไม่ใช่ โครงการ Branded Residences ในทำเลเดียวกัน และในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) มีโครง การประเภทเดียวกันเพียง 5 โครงการ ถือว่ามีจำนวนที่น้อยและยังสามารถพัฒนาโครงการประเภทนี้ได้อีกในอนาคต แต่สิ่งที่ผู้พัฒนาโครงการต้องคำนึงคือระยะเวลาพัฒนาโครงการและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการใช้แบรนด์ของโรงแรม รวมถึงข้อตกลงทางกฎหมายที่ต้องผูกพันกับ Hotel Operator ในระยะยาว งานวิจัยชี้ให้เห็นถึงแนวคิด กระบวนการ ข้อดีและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการอาคารที่พักอาศัย ประเภท Branded Residences ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้พัฒนาโครงการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ พัฒนาโครงการประเภทนี้ และผู้ที่สนใจการวางแผนพัฒนาโครงการที่ต้องการบริหารอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Increase in land price up to 35-40 percent affects the cost of residential development. In the luxury segment, The developer intend to develop the residential in luxury segment. The researcher found that there are residential projects that use hotel brands and provide facilities management and services by hotel operators. These projects are called Branded Residences. This research aims to study the concept and the development of Branded Residences, including the advantages and limitations. The case study namely The Residences at Mandarin Oriental, Bangkok and The Residences at The St. Regis Bangkok. Project surveys and interviews with the project developers were conducted and then opinions from the specialists. The study indicated the following: 1.) The development of Branded Residences usually involves a company policy that requires developers to develop the residential projects in the luxury segment and idea to add value to the sale price. The target is the niche market as well as expansion into overseas markets who want excellent service with a focus on design and brand image 2.) Branded Residences are usually located in Mixed-use project with public utility and public assistance. Residential products leveraging off the quality of the hotel brand to create an aspirational product, reflecting luxury, prestige and services provide by hotel operator 3.) Regarding the process of developing this type of project, the hotel operator will develop the project with the developer from the pre-construction stage. The most time-consuming period is pre-construction which includes selecting the right brand, the study of financial feasibility and agreeing to the roles between the project developers and hotel operator working with the project since its inception. 4.) The advantage is that you can add value to the project with the selling price of 45-70% more than the non-Branded Residences project in the same location. And currently (2016) has this type of project only 5 projects considered small numbers and can also develop this type of project in the future. However, the limitations that must be considered the need to get approval from the hotel operator before starting the construction – thus increasing the cost of the hotel brand and duration of projects increased. Also, the legal agreement to be bound by the hotel operator in the longer term can not be changed. This research indicate that concept, the development, advantages and limitations of Branded Residences is useful to the decision making of the developers interested in this type of project and those interested in planning development project management efficiently.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51015
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.522
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.522
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773554425.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.