Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51026
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์en_US
dc.contributor.authorวัฒนอร ปัญญจเรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:09:06Z-
dc.date.available2016-12-02T02:09:06Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51026-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractเมื่อต้นทุนในการพัฒนาโครการอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาขายสูงขึ้น ประชาชนจำเป็นที่ต้องยอมลดขนาดที่อยู่อาศัยตนเองจากที่อยู่อาศัยแนวราบมาเป็นอาคารชุด ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่า จากการศึกษาพบว่า 5 ปีที่ผ่านมาระดับราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยโครงการ อาจมีผลจากมูลค่าของที่ดิน และการซื้อเพื่อเก็งกำไร จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ามีการทำวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกซื้อห้องชุดพักอาศัยเพื่อการลงทุน ส่วนงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สอยในพื้นที่ห้องพักอาศัยขนาดเล็ก ซึ่งประเด็นศึกษายังไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ผู้พักอาศัยที่เป็นกลุ่มที่ใช้งานจริง และมีกรรมสิทธิ์ จากการศึกษาพบว่าในเรื่องสภาพสังคม และ เศรษฐกิจ ทั้ง 4 โครงการ มีสัดส่วนผู้อยู่อาศัยอายุใกล้เคียงกัน คือ อายุ 28-45 ปี โดยเดอะซี๊ดฯผู้อยู่อาศัยมีอายุน้อยที่สุด เนื่องจากต้องการความสะดวกในการใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส การศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท ที่อยู่อาศัยเดิมเป็นลักษณะบ้านในกรุงเทพฯ รายได้ต่อครัวเรือนมากกว่า 90,000 บาทต่อเดือน ผู้อาศัยชอบการตกแต่งแบบ Modern classic ใช้งบประมาณในการตกแต่งห้องพักคิดเป็นร้อยละ 2.85-4.47 ของราคาห้องพัก ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้ครัวเรือน 1 เดือน โดยเฟอร์นิเจอร์ที่ผู้อาศัยให้ความสำคัญมากที่สุดภายในห้องพัก ได้แก่ เตียง ตู้เสื้อผ้าและตู้เก็บของ เฟอร์นิเจอร์ที่ผู้อาศัยให้ความสำคัญน้อยที่สุดภายในห้องพัก ได้แก่ โต๊ะเครื่องแป้งและโต๊ะทำงาน การใช้พื้นที่ภายในห้องพัก พื้นที่ส่วนพักผ่อน มักใช้ในเชิงอเนกประสงค์ และขาดพื้นที่เก็บของ พื้นที่ส่วนตัว ผู้อาศัยใช้พื้นที่ได้ถูกวัตถุประสงค์แต่พื้นเก็บของไม่เพียงพอ และผู้อยู่อาศัยไม่ให้ความสำคัญกับโต๊ะเครื่องแป้ง พื้นที่ประกอบอาหาร ตู้เก็บของด้านบนชุดครัวก็มีขนาดที่เล็กเกินไป พื้นที่ห้องน้ำ มีการติดตั้งชั้นวางของมาเพิ่มเพื่อการวางของที่มากขึ้น และ พื้นที่ระเบียง ใช้ในการตากผ้า และผู้อาศัยบางส่วนใช้ในการประกอบอาหาร กลุ่มผู้อยู่อาศัยจริงมักมีปัญหาหลักๆในการใช้พื้นที่คือ พื้นที่เก็บของไม่เพียงพอ, การที่โครงการแบ่งพื้นที่ย่อยมากเกินไปไม่ตรงตามการใช้งาน และมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีความจำเป็น ซึ่งลักษณะการใช้พื้นที่ขนาดเล็กมักเป็นไปในเชิงอเนกประสงค์โดยรวมพื้นที่การนั่งเล่น, ทำงาน และรับประทานอาหารเข้าด้วยกัน ผู้ประกอบการควรเตรียมพื้นที่ภายในห้องพักอาศัยที่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยคำนึงถึงความต้องการและพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก เฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นควรใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถเก็บของได้ในตัว โดยรวมเฟอร์นิเจอร์หลายชิ้นไว้ในชิ้นเดียวเพื่อประหยัดพื้นที่และได้ประโยชน์สูงสุด และยกเลิกเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีความจำเป็น เพื่อนำค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นๆมาใช้ประโยชน์สูงสุด ส่วนพื้นที่ภายนอกห้องพักอาศัยผู้ประกอบการสามารถเตรียมพื้นที่เก็บของและพื้นที่ตากผ้าส่วนกลางไว้เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้อยู่อาศัยen_US
dc.description.abstractalternativeSince some people cannot afford to buy a house due to the high cost of construction, they have decided to buy an apartment that suits their budget. During the past five years, housing prices have gone up every year when compared with the number of units of each condominium project because the land price is high and some people buy a unit to make profit after selling it. According to the literature review, some people bought an apartment for investment. Some studies were carried out to explore the functional use of a small-sized apartment. However, the focus on customers that buy their apartment for living and their ownership rights has not been studied. It is found that among the four projects, the residents ranged from 28 years old to 45. The youngest group live in the Seed since it is near the BTS Skytrain. All of them graduated with a Bachelor’s degree and work for a company. They used to live in a house in Bangkok and now earn more than 90,000 baht a month. The residents prefer to have their own apartment decorated in a modern classic style. They have spent 2.85-4.47% of the price of their apartment on decoration, as much as their monthly income allows. The pieces of furniture that the residents pay attention to most are the bed, wardrobe and closet while the dressing table and working desk are the least. As for the functional area, the resting area is used for various purposes and there is no area for storing items or for personal use. However, in general, each area serves its purpose but the residents complain that there is not enough space for storing items and the kitchen cabinets are too small. They do not pay attention to the dressing table and the cooking area. More shelves are placed in the bathroom to store things and the balcony is used for drying clothes or cooking. Their main problems are a lack of area for storing items, each functional area being to small to fully serve its purpose and the provision of unnecessary furniture items. Since each functional area is too small, one area is multi-functional – a living room, a study and a dining room. As a result, a condominium developer should divide the area in the apartment to achieve its purpose by taking the needs and the behaviors of the buyers into consideration. Only functional furniture should be provided so the money can be spent on other things. Many pieces of furniture should be able to be stacked upon one another so more space is left for other purposes. The developer can transform the outer area into a space for storing items and drying clothes as an alternative for the customer.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.533-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาคารชุด -- การใช้พื้นที่-
dc.subjectอาคารชุด -- การใช้พื้นที่ -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectCondominiums -- Space utilization-
dc.subjectCondominiums -- Space utilization -- Thailand -- Bangkok-
dc.titleพฤติกรรมการใช้พื้นที่ภายในห้องพักอาศัยในอาคารชุดของกลุ่มผู้ที่ซื้อเพื่อการอยู่อาศัยจริง : กรณีศึกษาโครงการพระราม3-ริเวอร์วิว, ลุมพินี วิลล์ แบริ่ง-ลาซาล, เดอะซี้ดสาทร-ตากสิน และ เดอะแบงค็อค นราธิวาสen_US
dc.title.alternativeSpace utilization behaviors in residential unit of condominium buyers for their own living : a case study of Lumpini Place Rama 3 Riverview, Lumpini Ville Bearing-Lasalle, The Seed Sathorn-Taksin and The Bangkok Sathron-Narathiwasen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.533-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773578525.pdf9.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.