Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51032
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์en_US
dc.contributor.authorสลักจิต พรมสุวรรณen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:09:20Z-
dc.date.available2016-12-02T02:09:20Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51032-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractโครงการที่อยู่อาศัยประเภทเช่ามีความสำคัญต่อผู้มีรายได้น้อยเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลของนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญโดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้มีการพัฒนาและบริหารจัดการที่อยู่อาศัยประเภทเช่ามาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงมีนาคม 2559 โดยมีผลการดำเนินงานฯ รวม 60,539 หน่วย วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการอาคารเช่าของ กคช.ในอนาคต โดยทำการศึกษาจากโครงการฯ ของกคช.ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาการดำเนินงาน และปัจจัยความสำเร็จของหน่วยงานที่คล้ายคลึงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้ที่มีประสบการณ์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา กคช.ประสบปัญหาการบริหารจัดการอาคารเช่าที่ขาดประสิทธิผล ไม่สามารถปรับขึ้นค่าเช่าได้ และมีหนี้ค้างชำระจำนวนมาก กคช.มีความพยายามแก้ไข แต่เป็นการแก้ไขเฉพาะเรื่องยังขาดการมองปัญหาแบบบูรณาการทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การกำหนดนโยบายจากรัฐบาลไปจนกระทั่งการบริหารจัดการหลังการก่อสร้าง จากผลการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ดังนี้ 1)ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติเพื่อเสนอแนะนโยบายการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศ และผลักดันให้รัฐบาลมีแผนการดำเนินงานระยะยาว 2)มีมาตรการสนับสนุนการจัดหาที่ดินในทำเลที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้เช่า 3)การอุดหนุนด้านการเงินในส่วนที่ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถรับภาระได้ และการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ผลิตที่อยู่อาศัยเช่า ข้อเสนอแนะต่อการเคหะแห่งชาติ ดังนี้ 1)การจัดทำกรอบแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ต้องมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐทั้งในส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกันพัฒนาระบบ Waiting List ให้มีประสิทธิภาพ และการกำหนดทำเลที่ตั้ง แบบบ้าน อัตราค่าเช่าที่สอดคล้องกับความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายและความสามารถในการจ่ายที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่ 2)พัฒนาระบบการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง 3)พัฒนาระบบการบริหารจัดการหลังโครงการแล้วเสร็จ ประกอบด้วย (1) มีระบบการบรรจุและการตรวจสอบคุณสมบัติผู้อยู่อาศัยตลอดเวลา (2)มีการติดตาม ตรวจสอบ ควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด (3)ศึกษาการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการอาคารเช่าหรือ Business Unit เพื่อกำกับและบริหารจัดการโครงการฯ ในแต่ละภูมิภาค และพื้นที่เป้าหมายen_US
dc.description.abstractalternativePublic rental housing is regarded as important assistance from the government providing for the low income in many countries, including Thailand. The National Housing Authority (NHA) has developed and managed public rental housing projects since its establishment. As of March 2016, the NHA possesses 60,539 rental units. This thesis aims at proposing guidelines for development and management of the rental housing system. The research reviewed the relevant work papers and document to study the performance of rental housing development and management carried out by the NHA, another similar housing development agency in Thailand, and some national housing authorities in foreign countries, to identify the critical success factors. Data collection was also made through interviews with resource persons and small-group discussion among experts. The research results showed that the NHA faces a major problem of ineffective management of its rental housing projects, resulting in the failure to increase the rent and the state of being in arrears. The NHA has tried to tackle such problems in a discrete manner, not integrating the problems into an entire process. Based on the findings, it is suggested that the government should 1) set a national housing policy committee responsible for formulating and regulating a long-term rental housing operational plan, 2) provide supportive measures for the supply of land with suitable location for developing rental housing, and 3) render financial assistance to those who cannot afford the rent and provide low-interest loans to developers for affordable rental housing projects. While the NHA should 1) develop a long-term plan for development of rental housing under the cooperation with local administrative organizations and other concerned government agencies to jointly develop an effective housing waiting list system and specify project location, housing types and rent rate in accordance with diversified housing needs, preference, and affordability of the tenants, 2) improve a process for selecting construction contractor, and 3) improve a management system after construction completion in aspects of (1) tenant selection system, (2) project operation and monitoring system, and (3) study to establish centers or business units for management of NHA’s rental housing projects in the regions and target areas.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการอาคารเช่าของการเคหะแห่งชาติen_US
dc.title.alternativeGUIDELINES FOR DEVELOPMENT AND MANAGEMENT OF THE NATIONAL HOUSING AUTHOURITY’S RENTAL HOUSING PROJECTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.comen_US
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773592225.pdf6.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.