Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51066
Title: การพัฒนาการสอนด้วยการใช้แผนผังกราฟิกเพื่อสร้างความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: An instructional development by using graphic organizers to construct the understanding and learning retention in art history for undergraduate students
Authors: มนตรี วรารักษ์สัจจะ
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Poonarat.P@Chula.ac.th,ppoonarat@gmail.com,Ppoonara@chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- ประวัติ -- การศึกษาและการสอน
การสอนด้วยสื่อ
Art -- History -- Study and teaching
Teaching -- Aids and devices
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์โดยการใช้แผนผังกราฟิก ที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคงทนและความเข้าใจในการเรียนรู้ สำหรับใช้ในการสอนวิชาในรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ในระดับอุดมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ นิสิตที่กำลังศึกษายู่ในชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2558 สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผังกราฟิกเป็นเครื่องมือถ่ายทอดเนื้อหาประวัติศาสตร์ศิลป์ จำนวน 3 แผน 2) สื่อการสอนที่ใช้แผนผังกราฟิกที่มีลักษณะเด่นในการนำเสนอข้อมูลแต่ละประเภทบรรจุภายในสื่อนำเสนออิเล็กทรอนิกส์ 3) แบบทดสอบก่อนเรียน4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เรียน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยเครื่องมือสถิติ t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากผู้เรียนใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นผังกราฟิกในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์แล้ว เกิดความคงในการเรียนรู้เมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ และเกิดความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) จากค่าเฉลี่ยพบว่าความคิดเห็นของผู้เรียนมีระดับความคิดเห็นในด้านที่มากที่สุด ได้แก่ 1.ช่วยให้ลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้น 2.ช่วยให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น และ 3.ช่วยให้สรุปข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนความคิดเห็นที่มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ช่วยให้จดบันทึกได้ง่ายขึ้น 3) พฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้นั้น พบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมการจดจ่อกับสื่อ การตั้งคำถาม และการตอบคำถาม ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นสภาพปกติของผู้เรียนในกลุ่มตัวอย่าง และมีพฤติกรรมการจดบันทึกและมีการอภิปรายร่วมกันน้อย
Other Abstract: The aim of this research was to develop learning retention and understanding by using graphic organizers in art history for undergraduate students. The quasi-experimental design was conducted in this study. The samples were 29 freshman students in art education program, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Five research instruments were used. They consisted of: 1) Lesson plans 2) Teaching media 3) Art history tests 4) Student’s behavior observation form 5) Student’s opinions questionnaire. The obtained data from students’ art history tests were analyzed by t–test statistic. The students' behavior and the opinions were analyzed by qualitative method. The research findings are as follows. 1) After students were introduced to the graphic organizers usage in the art history class, students’ achievement and the learning retention in art history were increased to higher level at the significance level of .05, 2) Based on students’ opinion it was found these following (a) graphics organizers are useful for content sequencing (b) graphics organizers are helpful for memorizing (c) graphic organizers are helpful in summarized contents. The least students’ opinion were graphic organizers being helpful in writing down class contents. 3) Students concentrated and showed interaction in the art history class at moderated level, but the writing and group discussion was present at low level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51066
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1189
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1189
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783408127.pdf10.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.