Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51073
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์ | en_US |
dc.contributor.advisor | พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม | en_US |
dc.contributor.author | กฤตกร สภาสันติกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:10:11Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T02:10:11Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51073 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีจุดประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอน (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอน (3) เพื่อศึกษาความมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอน และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนขนาดกลางแห่งหนึ่ง จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดความมีเหตุผล และแบบสังเกตพฤติกรรมความมีเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบของคำอธิบาย พบว่า ข้อกล่าวอ้าง และหลักฐานอยู่ในระดับดี ส่วนการให้เหตุผลยังอยู่ในระดับควรปรับปรุง 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอนมีคะแนนเฉลี่ยความมีเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 84.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อจำแนกตามลักษณะความมีเหตุผล พบว่าทั้ง 5 ลักษณะมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอนมีคะแนนเฉลี่ยความมีเหตุผลไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามลักษณะความมีเหตุผล พบว่ามีเพียง 1 ลักษณะ คือ แสวงหาสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์และระบุความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆได้ ที่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was a pre-experimental research. The purposes of this study were to (1) study the scientific explanation making ability of tenth grade students who learned through the chemistry teaching strategy using the predict-observe-explain sequence (2) compare scientific explanation making ability of tenth grade students, before and after learning through the chemistry teaching strategy using the predict-observe-explain sequence (3) study the rationality of tenth grade students who learned through the chemistry teaching strategy using the predict-observe-explain sequence , and (4) compare rationality of tenth grade students, before and after learning through the chemistry teaching strategy using the predict-observe-explain sequence. The sample was one class in Mathematics-Science program of tenth grade students of a medium-sized school who were studying in the first semester of the academic year 2016. The research instruments were the scientific explanation making test, the rationality test, and the rationality observation form. The collected data was analyzed by arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows 1. The tenth grade students who learned through Predict-observe-explain sequence had the mean score of scientific explanation making ability at good level. Classifying each component of scientific explanation, the mean score of claim making and identifying evidence were at good level. However, the reasoning was at need improvement level. 2. The tenth grade students who learned through Predict-observe-explain sequence had the mean score of ability in scientific explanation making after the experiment higher than before the experiment at .05 level of significance in every component of scientific explanation. 3. The tenth grade students who learned through Predict-observe-explain sequence had the mean score of rationality at 84.13 percent which was higher than the criterion score set at 80 percent in every component of rationality. 4. The tenth grade students who learned through Predict-observe-explain sequence had the mean score of rationality after the experiment that is not statistically different from before the experiment at .05 level of significant. However, one component of rationality in which was "finding a cause of event and demonstrate the relation between cause and effect of phenomena" had the mean score after the experiment higher than before the experiment at .05 level of significance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1158 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | - |
dc.subject | ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | - |
dc.subject | ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ -- การประเมิน | - |
dc.subject | Chemistry -- Study and teaching (Secondary) | - |
dc.subject | Scientific ability -- Study and teaching (Secondary) | - |
dc.subject | Scientific ability -- Evaluation | - |
dc.title | ผลของกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 | en_US |
dc.title.alternative | EFFECTS OF CHEMISTRY TEACHING STRATEGY USING THE PREDICT-OBSERVE-EXPLAIN SEQUENCE ON ABILITY IN SCIENTIFIC EXPLANATION MAKING AND RATIONALITY OF TENTH GRADE STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษาวิทยาศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Parinda.Li@chula.ac.th,Parinda.L@chula.ac.th,parinda.L@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | prompong.p@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1158 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783430927.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.