Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51079
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ | en_US |
dc.contributor.author | วรฤทัย มุมทอง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:10:16Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T02:10:16Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51079 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรักชาติของนักเรียน (2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในห้องเรียน (3) ศึกษาลักษณะของหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ในการส่งเสริมความรักชาติ (4) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมความรักชาติ วิธีวิจัยเป็นการวิจัยหลักสูตร ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 692 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage stratified random sampling) เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับความรักชาติของนักเรียนและสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งมีค่าเที่ยงเท่ากับ 0.88 และ 0.88 แบบวิเคราะห์แบบเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยาย การวิจัยเอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความรักชาติของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีระดับความรักชาติอยู่ในระดับมาก (M=4.07, SD=0.52) และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบย่อย พบว่า ทั้ง 3 องค์ประกอบอยู่ในระดับมาก กล่าวคือ ความรักชาติแบบหลงใหล (M=4.09, SD=0.60) ความรักชาติเชิงสัญลักษณ์ (M=4.07, SD=0.62) และความรักชาติเชิงสร้างสรรค์ (M=4.09, SD=0.58) 2) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ของครูตามการรับรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีการรับรู้อยู่ในระดับมาก (M=3.61, SD=0.58) และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบย่อย พบว่า นักเรียนมีการรับรู้ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (M=3.74, SD=0.71) ด้านสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (M=3.82, SD=0.64) และด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.28, SD=0.62) 3) ลักษณะของหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ในการส่งเสริมความรักชาติ พบว่า ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ภายในหลักสูตรได้ระบุความเข้าใจเกี่ยวกับความรักชาติ อีกทั้งยังกำหนดให้ผู้เรียนเข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจและดำรงความเป็นไทย และการวิเคราะห์แบบเรียนด้านเนื้อหา พบว่า เนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดลำดับเนื้อหาโดยเรียงจากง่ายไปยาก แบบฝึกหัดส่วนใหญ่เป็นการวัดความรู้โดยเน้นการวิเคราะห์ และการนำไปใช้ ภาษาที่ใช้ถูกต้อง ด้านรูปเล่มของแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ จำนวนหน้าแตกต่างกัน กระดาษสีขาว ตัวอักษรมีขนาดใหญ่มีทั้งการใช้ตัวอักษรสีและอักษรสีดำ ขนาดเล่มเท่ากัน และภาพบนปกของแบบเรียนมีความสอดคล้องกับเนื้อหาภายในเล่ม 4) แนวทางการส่งเสริมความรักชาติของนักเรียน สามารถสรุป 5 แนวทาง ได้แก่ (1) ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีความรักชาติมากที่สุด คือ ความรักชาติเชิงสร้างสรรค์ (2) ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมความรักชาติในรายวิชาประวัติศาสตร์ ดังนั้น ครูต้องมีวิธีการถ่ายทอดวิชาประวัติศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อความรักชาติ และมีการสัมมนาระหว่างครูผู้สอน แลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถสะท้อนให้เกิดความรักชาติ (3) โรงเรียนต้องมีการจัดกิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมความรักชาติในวันสำคัญ โดยให้นักเรียนบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน (4) หน่วยงานต้นสังกัดต้องมีการจัดอบรมครู ในด้านการสอนเพื่อส่งเสริมความรักชาติ (5) หลักสูตรและแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ต้องมีการเพิ่มเนื้อหาที่เน้นให้สะท้อนความรักชาติมากขึ้น และแบบเรียนต้องสอดแทรกเนื้อหาในเรื่องความรักชาติตลอดทั้งเล่ม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were: (1) to investigate the level of students’ patriotism (2) to study the instructional organization of the history subject in classroom context (3) to examine the history curriculum in terms of supporting students’ patriotism and (4) to propose the guideline of the patriotism enhancement in secondary school students. The method used was a curriculum research. In order to conduct this research, 692 secondary school students in provincial area in Bangkok were chosen. The multi-stage stratified random sampling was used as a sampling technique. The data collecting instruments were the following: students’ patriotism and instruction in history subject questionnaires with the reliability coefficients ranging 0.88 and 0.88, analytical textbook forms and interview forms. The data were analyzed using descriptive statistics, document research and content analysis. The research findings were as follows: 1) There was a high level of patriotism in the students; blind patriotism, constructive patriotism and symbolic patriotism received a high level (M=4.09, SD=0.06; M=4.09 SD=0.62 and M=4.04, SD=0.58). 2) There was a high level of perception in the history subject in the students (M=3.61, SD=0.58); media, learning sources and activities in classroom were received a high level (M=3.82, SD=0.64 and M=3.74, SD=0.71). Measurement and evaluation were received a medium level (M=3.28, SD=0.62). 3) The history curriculum in terms of patriotism support indicated the learning standards, and upheld patriotism and Thai historical development, nation, culture, wisdom, and cherished national as well as valued Thai-ness. Contents in textbooks were also in accordance with the curriculum objectives. The textbooks were levelled from easy to difficult. The exercises emphasized on evaluating the students’ knowledge and implementation. The language using in the textbooks was correct. There was a difference in the amount of pages, whereas there was a similarity in size and design, which were white paper with both color and black printed. Also, the cover pages were relevant to the content in textbook. 4) The guidelines for enhancing students’ patriotism were summarized as following: (1) Teachers should support students to be constructive patriotism (2) As having an important role in propping students up, the history teachers should apply certain activities to encourage students’ interest in patriotism, and organize the seminar focusing on patriotism (3) The teachers should arrange patriotism activities which support students to dedicate themselves into helping the community (4) Office of the National Education Commission should manage conferences to motivate teachers’ patriotism (5) The education committees should add patriotism contents in the curriculum and textbooks. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | แนวทางการส่งเสริมความรักชาติของนักเรียนโดยใช้การวิจัยหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม | en_US |
dc.title.alternative | GUIDELINES FOR ENHANCING STUDENTS' PATRIOTISM USING CURRICULUMRESEARCH IN SOCIAL STUDIES, RELIGION AND CULTURE STRAND | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Duangkamol.T@Chula.ac.th,duangkamol.t@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783462027.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.