Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51082
Title: อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างมิติและวิธีประมาณค่าความเที่ยงที่มีต่อค่าความเที่ยงแบบพหุมิติ ความแม่นยำ และความถูกต้องของการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง
Other Titles: EFFECTS OF MULTIDIMENSIONALITY AND RELIABILITY ESTIMATION METHODS ON MULTIDIMENSIONAL RELIABILITY ACCURACY AND PRECISION OF ESTIMATED RELIABILITY COEFFICIENT
Authors: วิภาพรรณ มักขุนทด
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nuttaporn.L@Chula.ac.th,Nuttaporn.L@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) ศึกษาค่าประมาณความเที่ยงที่ได้จากวิธีประมาณค่าความเที่ยง 5 วิธี ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง ค่าสัมประสิทธิ์โอเมก้าแบบพหุมิติ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบสูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาแบบแบ่งชั้น และ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ภายใต้สถานการณ์ที่การวัดเป็นแบบพหุมิติ และ มีระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติแตกต่างกัน (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของค่าประมาณความเที่ยงที่ได้จากวิธีประมาณค่าความเที่ยงวิธีต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์ที่การวัดเป็นแบบพหุมิติ และ มีระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติแตกต่างกัน และ(3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติที่สามารถใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคแทนการวิธีประมาณค่าความเที่ยงแบบพหุมิติ ข้อมูลสำหรับการศึกษาเป็นข้อมูลจำลองจากวิธีการมอนติคาร์โล ภายใต้สถานการณ์จำลอง จำนวน 25 สถานการณ์ คือ วิธีการประมาณค่าความเที่ยงมี 5 วิธี และระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติมี 5 ระดับ ซึ่งในแต่ละสถานการณ์กระทำซ้ำจำนวนทั้งสิ้น 1000 รอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) เมื่อศึกษาค่าประมาณความเที่ยงพบว่า ในกรณีที่ระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่ำ (r=0.10 และ r=0.30) วิธีประมาณค่าความเที่ยงแบบพหุมิติ มีค่าประมาณความเที่ยงสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และ เมื่อระดับสัมพันธ์ระหว่างมิติเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง มีค่าประมาณความเที่ยงสูงขึ้น (2) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการประมาณค่าความเที่ยงพบว่า ในกรณีที่ระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่ำ (r=0.10 และ r=0.30) วิธีประมาณค่าความเที่ยงแบบพหุมิติ มีประสิทธิภาพในด้านความแม่นยำ และ ความถูกต้องสูงกว่าวิธีประมาณค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และ เมื่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างมิติเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีประสิทธิภาพในด้านความแม่นยำ และ ความถูกต้องสูงขึ้น แต่จะส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง มีประสิทธิภาพในด้านความแม่นยำลดลง (3) วิธีการประมาณค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค สามารถใช้แทนวิธีการประมาณค่าความเที่ยงแบบพหุมิติ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างมิติมีค่า r=0.90 เมื่อ r คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมิติ เพราะว่าค่าประมาณความเที่ยงที่ได้จากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าใกล้เคียงกับค่าประมาณความเที่ยงที่ได้จากวิธีการประมาณค่าความเที่ยงแบบพหุมิติ ยกเว้นค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study reliability coefficients obtained from 5 different reliability estimation methods consist of construct reliability coefficient, multidimensional omega coefficient, maximal reliability coefficient, stratified alpha coefficien and Cronbach’s alpha coefficient under multidimensional measurement and 5 different multidimensionality levels. 2) to compare the efficiency of reliability estimation between multidimensional reliability estimation methods and Cronbach’s alpha method under multidimensional measurement and 5 different multidimensionality levels, and 3) to study at which multidimensionality level Cronbach’s alpha method and multidimensional reliability estimation methods can be used interchange. The data was generated using Monte Carlo method under 25 simulation conditions under 5 different reliability estimation methods and5 different multidimensionality levels which each situation condition was repeated 1000 times. Summarized results of the research were: (1) When comparing reliability coefficients obtained from 5 different reliability estimation methods, multidimensional methods had value higher than Cronbach’s alpha coefficient when multidimensionality was small (0.1 and 0.3). In considering the trend of multidimensionality levels were increased, reliability value of Cronbach’s alpha coefficient and construct reliability coefficient were likely to have higher value. (2) When comparing the efficiency of reliability estimation obtained from multidimensional reliability estimation methods and Cronbach’s alpha method, multidimensional reliability estimation methods had more accuracy value and precision value than Cronbach’s alpha method. When multidimensionality levels increased, accuracy value and precision value of Cronbach’s alpha method were likely to provide higher value but precision value of construct reliability coefficient were greater. (3) Cronbach’s alpha method and multidimensional reliability estimation methods when multidimensionality was greater (0.9) because reliability coefficient from Cronbach’ s alpha method had value closed to those from multidimensional reliability estimation methods except construct reliability coefficient.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51082
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783871027.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.