Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51094
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธาตรี ใต้ฟ้าพูลen_US
dc.contributor.authorรติมาส นรจิตร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:10:34Z
dc.date.available2016-12-02T02:10:34Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51094
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1) นโยบายด้านรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุขององค์กรสื่อโทรทัศน์ 2) ความต้องการเนื้อหารายการโทรทัศน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เพื่อทราบถึงนโยบายด้านรายการโทรทัศน์ขององค์กรสื่อโทรทัศน์ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของสถานีโทรทัศน์กลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายด้านรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุและบุคคลากรจากบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และการเลือกแบบบอกต่อ (Snowball technique) และส่วนที่ 2 เพื่อทราบถึงความต้องการเนื้อหารายการโทรทัศน์ของผู้สูงอายุ ใช้การการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน และใช้สถิติเชิงพรรณนาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สถานีโทรทัศน์กลุ่มเป้าหมายที่ปรากฏรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุออกอากาศในงานวิจัยชิ้นนี้ ในส่วนของสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ที่เอกชนดำเนินงาน มีแนวโน้มพิจารณาและกำหนดนโยบายด้านรายการสำหรับผู้สูงอายุโดยเน้นคำนึงถึงอิทธิพลจากความนิยมของผู้ชมต่อรายการ หรือที่เรียกว่า เรตติ้ง (Rating) ของรายการเป็นหลัก เพื่อเป็นการตอบโจทย์ทางธุรกิจ เนื่องจากเรตติ้งถูกใช้เป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาลงโฆษณาในรายการใดรายการหนึ่งของผู้สนับสนุนรายการ (Sponsors) ในปัจจุบัน สอดคล้องกับสถานีโทรทัศน์กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ปรากฏรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุออกอากาศ ที่นโยบายด้านรายการจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นคนส่วนมาก (Mass) มากกว่าที่จะรายการโทรทัศน์ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม (Niche) ถึงแม้จะมีรายการบางประเภท เช่น รายการสุขภาพ รายการธรรมะที่ผู้สูงอายุน่าจะนิยมรับชม แต่เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจทำให้รายการประเภทนี้มีไม่เยอะมาก และไม่ออกอากาศในช่วงไพร์มไทม์ (Prime time) เพราะทำธุรกิจได้ยาก ไม่มีโฆษณามาลงรายการประเภทดังกล่าว เนื่องจากเรตติ้งของรายการไม่ตอบโจทย์ผู้สนับสนุนรายการ ขณะเดียวกันสถานีโทรทัศน์กลุ่มเป้าหมายที่ปรากฏรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุออกอากาศในงานวิจัยชิ้นนี้ ในส่วนของสถานีโทรทัศน์สาธารณะนั้น นโยบายด้านรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุมีแนวโน้มพิจารณาและกำหนดให้สอดคล้องไปกับทิศทางของพันธกิจองค์กรที่จะมีรายการตอบสนองกับทุกกลุ่มคน และหนึ่งในนั้นคือกลุ่มผู้สูงอายุ ขณะที่ สถานีโทรทัศน์ของรัฐนั้น นโยบายด้านรายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุมีแนวโน้มพิจารณาและกำหนดให้สอดคล้องประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 ในฐานะเป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทกิจการบริการสาธารณะ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมรายการโทรทัศน์ทางเครื่องรับโทรทัศน์มากที่สุด โดยเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ผู้สูงอายุต้องการในระดับมากที่สุด ได้แก่ เนื้อหารายการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้มีร่างการที่แข็งแรง และการพัฒนาจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส ขณะที่เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ผู้สูงอายุต้องการน้อยที่สุด ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to investigate: 1) the policy issued by television organizations about television programs for the elderly, and 2) the desire of elderly living in the Bangkok metropolitan area for the television programs content. The study was conducted based on both qualitative and quantitative methods. The former was used to examine the first objective by using in-depth interviews. The participants were the staff working for television stations involved in laying out a policy about the elderly’s television programs and the staff working for a company producing such programs. Purposive sampling and the snowball technique were applied at this stage. The latter was used to obtain information about the elderly’s desire for the television program content. Survey research and a questionnaire were used at this stage. Four hundred participants aged over 60 and living in the Bangkok metropolitan area were included in this study. Descriptive statistics, frequency distribution, percentage, mean and standard deviation were used to analyze the data. According to the qualitative data, the target television stations that were commercially operated tended to offer programs that gained popularity or high ratings among the elderly audience since a high rating can attract more sponsors. The television stations that did not offer these programs do so because they targeted the mass and not a niche. Even though they offered such programs as health programs and Buddhism programs that could attract the elderly there were only a few of them. This was because health and Buddhism programs could not attract enough sponsors. If they offered more of these programs, they could not stay competitive in this arena. The target television stations that were public television stations offered programs for the elderly because they were in line with one of their missions stating that they had to provide every age group with a suitable program. As for the state television stations, programs were offered according to the 2013 Criterion for Broadcasting Radio and Television Programs for Digital Televisions for Public Services issued by the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC). According to the quantitative data, the participants watched the programs through the television set most and the programs that they preferred most were about health care and improvement on mental well-being, while those they preferred least were about technology.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.979-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโทรทัศน์กับผู้สูงอายุ
dc.subjectรายการโทรทัศน์
dc.subjectTelevision and older people
dc.subjectTelevision programs
dc.titleนโยบายด้านรายการโทรทัศน์ในการขับเคลื่อนสังคมผู้สูงอายุขององค์กรสื่อโทรทัศน์และความต้องการเนื้อหารายการโทรทัศน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeTelevision program policy of television media organization in mobilizing aging society and television program content desire of elderly in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.979-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784674928.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.