Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51152
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรวดี ถังคบุตรen_US
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่งen_US
dc.contributor.authorกัลยาณี จิตร์วิริยะen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:01:01Z-
dc.date.available2016-12-02T06:01:01Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51152-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จาก การปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความคิดเห็น ได้แก่ ครูมัธยมศึกษา จำนวน 339 คน ศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 18 คนและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษาตามรูปแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เป็นศึกษานิเทศก์ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน ดำเนินการโครงการสอนแนะแบบผสมผสาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษา เพื่อใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาโรงเรียนสงวนหญิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 28 คน โดยใช้ระยะเวลา 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และรับรองรูปแบบการออกแบบสำหรับ การสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) บุคลากร ได้แก่ ผู้รับการสอนแนะ ผู้สอนแนะ ผู้อำนวยความสะดวก และวิทยากรเชี่ยวชาญ 2) ทรัพยากรด้านสภาพแวดล้อมและระยะเวลา 3) งบประมาณสนับสนุน 4) หลักสูตร กำหนดจากความต้องการและการวางแผนร่วมกันของผู้รับการสอนแนะ ผู้สอนแนะและผู้ที่เกี่ยวข้อง 5) สื่อเพื่อการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนหลักสูตร 6) เทคโนโลยีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้รับการสอนแนะกับผู้สอนแนะ และระหว่างผู้รับการสอนแนะกับผู้รับการสอนแนะ 7) กระบวนการสอนแนะ มีขั้นตอนดำเนินการ คือ การเตรียมการและการปฐมนิเทศ การดำเนินการตามแผนกิจกรรม และการประเมินผลกระบวนการ 8) รูปแบบการประเมินผล ได้แก่ วิธีการและเครื่องมือการประเมินผลประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก 23 ขั้นตอนย่อย คือ 1) การวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย 2) การออกแบบ (Design) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย 3) การผลิตและพัฒนา (Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย 4) การดำเนินการ (Implementation) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย 5) การประเมินผล (Evaluation) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย 2. ศึกษานิเทศก์ที่ออกแบบการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติตามรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีคะแนนความสามารถในการออกแบบอยู่ในระดับดีมาก 3. ครูมัธยมศึกษาที่เป็นผู้รับการสอนแนะมีคะแนนการประเมินพฤติกรรมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา รวมทั้ง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษาอยู่ในระดับดีมาก 4. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.44)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to introduce an instructional design model for blended coaching and action learning for supervisors to enhance secondary school teachers' ICT utilization. The study groups are 339 secondary school teachers, 18 supervisors, and 15 experts. The group designed their own the encourage of ICT introduction into the process of teaching under the model developed and provided by this research. Samples from the research are supervisors and secondary school teachers in Secondary Educational Service Area Office (SESAO), to experiment with 1 supervisors in Secondary Educational Service Area Office to operated project bleanded coaching and action learning to encourage the use of information and communications technology of secondary school teachers and 28 secondary school teachers in Sa-nguan Ying School for the period of 2 months. The data is analyzed using means and standard deviation. Finally, the introduce an instructional design model for blended coaching and action learning model is approved by 5 experts. The research findings were as follows: 1. The instructional design model for blended coaching and action learning for supervisors to enhance secondary school teachers' ICT utilization consists of 8 components which are: (1) the role of the coachs, coachees, coaching facilitators and expert trainers. (2) the environment resources and period for coaches (3) the budget support from various sources (4) the course which determined by the common needs and planing of the coachees, coachs, and related person, (5) the media that supports the blended coaching course, (6) communications teachnology and knowledge sharing which is used as communication tools and support learning​ together between the coachees to coachees and the coachees to coachs, (7) the coaching process conducted phases of the preparation and orientation, implementation of the activity plan and assessment process, and (8) evaluation methods and tools, including evaluation of the effectiveness of the blended coaching. The model consists of 5 main steps and 23 sub-steps: (1) Analysis – 6 sub-steps, (2) Design – 6 sub-steps, (3) Development – 4 sub-steps, (4) Implementation -3 sub-steps, and (5) Evaluation – 4 sub-steps 2. The supervisors that design their own coaching project according to enhance secondary school teachers' ICT utilization. using the model developed by this research results in receiving a very high score for the ability to design. 3. The secondary school teachers' post-program behavior evaluation score is higher than pre-program and all related person have opinion scores on the performance of the model at a very good level. 4. The expert share opinions that instructional design model for blended coaching and action learning for supervisors to enhance secondary school teachers' ICT utilization scores at a very good level (means=4.44)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1027-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต-
dc.subjectศึกษานิเทศก์ -- การฝึกอบรม-
dc.subjectระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ-
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน-
dc.subjectคอมพิวเตอร์จัดการสอน-
dc.subjectการเรียนรู้แบบผสมผสาน-
dc.subjectการเรียนแบบมีส่วนร่วม-
dc.subjectInstructional systems -- Design-
dc.subjectComputer-assisted instruction-
dc.subjectComputer managed instruction-
dc.subjectBlended learning-
dc.subjectActive learning-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL DESIGN MODEL FOR BLENDED COACHINGAND ACTION LEARNING FOR SUPERVISORS TO ENHANCE SECONDARY SCHOOL TEACHERS’ICT UTILIZATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTheeravadee.T@Chula.ac.th,Theeravadee.T@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1027-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384204227.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.