Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51214
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศen_US
dc.contributor.authorศิรินันท์ ลี้ทองคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:27Z-
dc.date.available2016-12-02T06:02:27Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51214-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบก่อนและหลัง ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนิน 7 กิจกรรม เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะในเรื่อง การจัดการตนเอง อาการทางลบ การดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน การจัดการอาการทางลบโดยการจัดการทางความคิด การใช้ยา การจัดการกับอารมณ์ การติดต่อสื่อสาร และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรในชุมชน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเอง 2) แบบวัดทักษะชีวิต และ 3) แบบประเมินอาการทางจิตโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย เฉพาะอาการทางลบ ซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยแบบวัดทักษะชีวิตและแบบประเมินอาการทางจิตเภทฉบับภาษาไทย เฉพาะอาการทางลบ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.94 และ 0.90 ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบ หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were: 1) to compare the functioning of schizophrenic patient with negative symptoms before and after received the negative symptoms self-management program, and 2) to compare the functioning of schizophrenic patient with negative symptoms who received negative symptoms self-management program and those who received regular nursing care activities. Forty of schizophrenic patient received services in in-patient department, Srithanya Hospital, who met the inclusion criteria, were matched pairs and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the negative symptoms self-management program composed of 7 group activities to improve knowledge and relevant skills including self-management, negative symptoms, use of cognitive negative symptom management techniques, self-care on daily life, medication management, emotional management, communication, and utilization of community resourses. The control group received regular nursing care activities. Research instruments were: 1) The negative symptoms self-management program, 2) The Life Skill Profile, and 3) The negative symptoms subscale of Positive and Negative Syndrome Scale. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The Chronbach' s Alpha coefficient reliability of the Life Skill Profile and the negative symptoms subscale of Positive and Negative Syndrome Scale was 0.94 and 0.90, respectively. The t-test was use in data analysis. Major findings were as follows: 1. The functioning of schizophrenic patients with negative symptoms who received the negative symptoms self-management program was significantly higher than that before, at p .05 level; 2. The functioning of schizophrenic patients with negative symptoms who received the negative symptoms self-management program was significantly higher than those who received regular nursing care activity, at p .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท-
dc.subjectอาการ (โรค)-
dc.subjectSchizophrenics-
dc.subjectSymptoms-
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบด้วยตนเองต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางลบen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF NEGATIVE SYMPTOMS SELF- MANAGEMENT PROGRAM ON FUNCTIONING OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS WITH NEGATIVE SYMPTOMSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577315336.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.