Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51294
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนัย ทายตะคุen_US
dc.contributor.authorณภัทร ชัดเชื้อen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:04:10Z
dc.date.available2016-12-02T06:04:10Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51294
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดพะเยาถูกยุบเลิก ทำให้เกิดพื้นที่ว่างในโรงเรียนซึ่งไม่มีการวางแนวทางการใช้งานมากกว่า 30 แห่งกระจายตัวทั่วจังหวัดพะเยา ส่วนมากอยู่ในบริเวณชุมชนชนบท การวิจัยนี้ศึกษาวิธีการใช้งานและเงื่อนไขการใช้งานพื้นที่ว่างในโรงเรียนที่ถูกยุบเลิก จากการศึกษาทฤษฎีและการศึกษาพื้นที่ เพื่อให้เกิดกระบวนการหาแนวทางการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เสนอให้แก่คนในชุมชนอย่างเป็นระบบ การศึกษาทฤษฎีวัฒนธรรมการใช้งานพื้นที่ว่างในชุมชนระหว่างภาคเหนือของประเทศไทยกับต่างประเทศ เพื่อหารูปแบบ ความเป็นไปได้ และวิธีการใช้งานพื้นที่ว่างที่สามารถนำไปใช้กับพื้นที่ว่างในโรงเรียนได้ การศึกษาทฤษฎีการบริการเชิงนิเวศ (Ecosystem service) และโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green infrastructure) เพื่อทำความเข้าใจวิธีการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวซึ่งส่งเสริมให้เกิดการบริการเชิงนิเวศ เป็นประโยชน์ต่อคนทั้งทางตรงและทางอ้อม การศึกษาทฤษฎีการวิเคราะห์พื้นที่เชิงภูมิทัศน์ (Site analysis) เพื่อใช้สร้างเกณฑ์สำหรับพิจารณาความเหมาะสมระหว่างวิธีการใช้งานกับพื้นที่ เมื่อนำวิธีการใช้งานตามวัฒนธรรมการใช้งานพื้นที่ว่างในชุมชนมารวมกับวิธีการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวจะได้เป็นวิธีการใช้งานตามทฤษฎี แล้วนำมารวมกับวิธีการใช้งานพื้นที่โรงเรียนของคนในทุกชุมชนที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน จากการศึกษาพื้นที่ เก็บข้อมูลโดยการสำรวจพื้นที่โรงเรียนและชุมชน สัมภาษณ์บุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในชุมชน เพื่อให้การใช้งานตามทฤษฎีกลายเป็นการใช้งานที่เป็นไปได้ จากนั้นจึงพิจารณาความเหมาะสมของวิธีการใช้งานกับพื้นที่ โดยการให้คะแนนความเหมาะสมของวิธีการใช้งานต่อปัจจัยทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของแต่ละพื้นที่โรงเรียนด้วยเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้เห็นศักยภาพและข้อจำกัดในการใช้งานของพื้นที่โรงเรียน ว่าการใช้งานใดที่ชาวชุมชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างภายในโรงเรียนที่ถูกยุบเลิกด้วยตนเองได้ จากระดับง่ายจนถึงยาก จะได้ผลลัพธ์เป็นแนวทางการใช้งานซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่โรงเรียนและชุมชนนั้น แสดงตัวอย่างการสร้างแบบจำลองการใช้งานพื้นที่ว่างในโรงเรียนเป็นลำดับสุดท้าย แนวทางการใช้งานที่ได้จากการวิจัยให้ประโยชน์ทั้งการบริการเชิงนิเวศและสอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันของคนในชุมชน ครอบคลุมวิธีการใช้งานจากวัฒนธรรมการใช้งานพื้นที่ว่างในชุมชนภาคเหนือ เสริมด้วยวิธีการใช้งานพื้นที่ว่างในชุมชนต่างประเทศ และแบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ที่อาจยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในพื้นที่ศึกษา ในขณะที่เกณฑ์การวิเคราะห์ความเหมาะสมระหว่างการใช้งานกับพื้นที่ถูกกำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ มีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัวสามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ต่างกัน เหมาะสมต่อการนำไปใช้เสนอเป็นข้อมูลให้แก่คนในชุมชนได้พิจารณาด้วยตนเองและสามารถต่อยอด พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงแนวทางนี้ได้ตามความต้องการของตน เพื่อการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมในลำดับต่อไป ซึ่งกระบวนการวิจัยนี้สามารถเป็นแบบอย่างให้กับการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ว่างใด ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ไม่เฉพาะคนในชนบทซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้กับพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และเมืองได้ด้วย คำสำคัญ : โรงเรียนประถมที่ถูกยุบ, การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to find the use of abandoned open space in more than 30 dissolved elementary schools, situated mainly in the rural part of Phayao province, and to provide guidelines for appropriate open space usage to the community in the local area. From studying and analyzing the use of community open space in Northern part of Thailand and in other countries, I have found that some of the usages are similar, as it is open for public activities, such as; cultural activities, socializing, public gathering, economic exchanging. Some are different, such as; supplying food and other resources, creates good circulation of air and comfort for the community area. However, all these usages could be applicable to the use of the schools’ open space. Studying Ecosystem services and Green infrastructure helps us understand how directly and indirectly ecosystem is beneficial to the Quality of life and how using Green infrastructure encourages Ecosystem services. In addition, the use of community open space is related to Ecosystem services in many ways, such as; the use for social, cultural and economic activities are related to Cultural services, the use of “Kuang” (Northern Thai community open space) that helps air circulation, is related to Regulating services and indirectly benefit human populations with its Supporting services, and in countries that use community open space for providing food and other resources, it is related to Provisioning services. Combining many uses of community open space as mentioned with the idea of Green infrastructure leads to theoretical uses of open space. Then blending it with local people’s usages which might have found in some abandoned schools by surveys and interviews with local people in the school area of Phayao province. Consequently, these theoretical uses can be realized and applied to use with these abandoned schools’ open spaces. By considering these applied uses with each open space’s physical and cultural characteristics and its present usage, I am able to provide guidelines for suitable open space usage to the community in the local area that can be further used for participation. This research hopes to be an example for any community wishing to have better uses for their open space.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.450-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพื้นที่โล่ง
dc.subjectการใช้ที่ดิน
dc.subjectการใช้ที่ดินในชนบท
dc.subjectชุมชนกับโรงเรียน
dc.subjectOpen spaces
dc.subjectLand use
dc.subjectLand use, Rural
dc.subjectCommunity and school
dc.titleแนวทางการใช้งานพื้นที่ว่างในสถานศึกษาที่ถูกยุบเลิกในจังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeGuidelines to use dissolved school open spaces in Changwat Phayaoen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDanai.Th@Chula.ac.th,danathai@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.450-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673363825.pdf15.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.