Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51295
Title: การประสานประโยชน์ในโครงการพัฒนาประโยชน์เชิงพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์: กรณีศึกษาพื้นที่สะพานขาวฝั่งเหนือ
Other Titles: COORDINATION OF DEVELOPMENT PROJECTS IN THE COMMERCIAL INTERESTS OF THE CROWN PROPERTY BUREAU: A CASE STUDY OF THE NORTH SAPHAN KHAO MARKET AREA
Authors: กฤษฎี วงศ์เหลืองอ่อน
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com
Subjects: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ -- การบริหาร
การจัดการอสังหาริมทรัพย์
บริษัท -- การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
The Crown Property Bureau -- Administration
Real estate management
Corporations -- Real estate investments
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์(CPB)มีการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญคือ การพัฒนาและปรับปรุงตลาด โดยในกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 7 โครงการและมีเพียงโครงการตลาดสะพานขาวเพียงโครงการเดียวที่ CPB ได้ให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการพัฒนาและประสบผลสำเร็จ งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดวิธีการประสานประโยชน์ของ CPB และผู้เช่าพัฒนาและผู้เช่ารายย่อย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ประสานประโยชน์สำเร็จ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสำรวจภาพทางกายภาพ การสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ของ CPB ผู้บริหารของบริษัทผู้เช่าพัฒนา ประธานชมรมสะพานขาวและผู้เช่ารายย่อย และสรุปเป็นข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการประสานประโยชน์มีระยะเวลาถึง 6 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ผู้ เช่าพัฒนาได้รับนโยบายจากสำนักงานทรัพย์สินฯให้เข้ามาดูแลบริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลางเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งผู้เช่าพัฒนาได้ทำการจัดระเบียบพื้นที่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงสาธารณูปโภค ปี พ.ศ.2551 ผู้เช่าพัฒนาได้เสนอแผนปรับปรุงและพัฒนาโครงการในระยะยาวและได้รับอนุมัติจาก CPB ต่อมาปี พ.ศ.2552 ผู้เช่าพัฒนาได้มีการจัดประชุมกับผู้เช่ารายย่อยอย่างเป็นทางการ 3 ครั้งและอย่างไม่เป็นทางการอีก 3 ครั้ง โดยมี CPB เป็นผู้สังเกตการในที่ประชุม ผลจากการประชุมสามารถสรุปรูปแบบทางกายภาพได้ แต่ยังหาข้อสรุปเรื่องราคาไม่ได้ ผู้เช่ารายย่อยจึงได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยัง CPB สำนักงานทรัพย์สินฯจึง เรียกผู้เช่าพัฒนามาประชุมเพื่อหาข้อยุติในด้านราคา ผลจากการประชุมผู้เช่าพัฒนาได้ปรับลดราคาลง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ CPB ปัจจัยที่ทำให้การประสานประโยชน์สำเร็จ ประกอบไปด้วย 1.ความสัมพันธ์ เนื่องจากในระยะต้นที่ผู้เช่าพัฒนาได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงการในทิศทางที่ดี CPB และผู้เช่ารายย่อยจึงมีความไว้ใจให้ดำเนินการต่อในโครงการระยะยาว 2.ผู้เช่าพัฒนายอมลดผลประโยชน์ลง เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ 3.การมีผู้นำชุมชนที่ดีจึงทำให้การเจรจาไม่มีความรุนแรงหรือการประท้วงเกิดขึ้น จึงทำให้การประสานประโยชน์สำเร็จลงตัวทั้ง 3 ฝ่าย ข้อเสนอแนะต่อ CPB และผู้เช่าพัฒนา การทำโครงการในลักษณะนี้ควรคำนึงความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เช่ารายย่อย ประกอบกับการศึกษาความเป็นอยู่พื้นฐานและปัญหาของผู้เช่ารายย่อยในแต่ละพื้นที่ๆจะทำโครงการ เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการของผู้เช่ารายย่อยเป็นหลัก โดย ผู้เช่าพัฒนาควรมีการดำเนินการขั้นต้น เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี เป็นการสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ให้กับผู้เช่ารายย่อย จะนำไปสู่การประสานประโยชน์ที่สำเร็จ
Other Abstract: The Crown Property Bureau (CPB) has had various management strategies. One of these are 7 market projects in Bangkok, the North Saphan Khao Market is the only project managed by an outsourced company (OC) while the rest are managed by the CPB itself. This research aimed to study concepts of coordination among the CPB, the OC and tenants in order to analyze factors that have led to success and to present recommendations for such developments. The research tools include document studies, physical condition explorations, and interviews with CPB staff, the executives of the outsourced company, the President of Saphan Khao Market Club, and tenants. According to the findings, the coordination process lasted 6 years starting from 2004. The OC was assigned by the CPB to manage and provide maintenance of the public area of the Saphan Khao Market for 3 years. At the start, the OC demolished some areas and repaired facilities effectively. Later, in 2008, the OC proposed a renovation plan to develop for the long-term and it was approved by CPB. In 2009, the OC had arranged 3 formal and 3 informal meetings with tenants in which the CPB played the role of observer. A consensus was reached on how to manage the market with respect to physical infrastructure and buildings but could not reach agreement on rental fees. Following that, the tenants requested the CPB’s assistance to resolve the disagreement so the CPB set up a meeting for both parties to discuss rental fees. The result was that the OC agreed to lower rents to be in line with CPB policies. 3 factors accounted for the success of this coordination. First, there was a positive effect on the relationship among the three parties involved, most importantly, on the level of confidence that CPB and the tenants felt in the OC. Second, the OC compromised with the tenants which supported further movement. Third, the positive role played by the President of Saphan Khao Market Club facilitated the process of non-violent negotiation. The recommendations are: when management is outsourced, the relationship between the CPB and tenants should be given priority. Moreover, basic information and tenant issues in particular projects should be studied in-depth in order to manage each project suitably in terms of living conditions, lifestyles and needs. Next, the OC should have procedures in place that can result in positive effects to create trust and build good relationships with tenants which eventually can lead to successful coordination between parties.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51295
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.523
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.523
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673573225.pdf9.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.