Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51317
Title: แนวทางการจัดการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติในโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A proposed guideline for instructional supervision of English foreign teachers in the English program in secondary schools under the office of the basic education commissions
Authors: บดินทร์ เซนย์วิบูลย์
Advisors: จุไรรัตน์ สุดรุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jurairat.Su@Chula.ac.th,jurairat.su@chula.ac.th
Subjects: การฝึกสอน
ภาษาอังกฤษ -- การฝึกหัดครู
ครูภาษาอังกฤษ
Student teaching
English language -- Study and teaching
English teachers
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูต่างชาติ จำนวน 300 คน ใช้การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเขตพื้นที่การศึกษาและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน โดยการสุ่มจาก 5 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการจัดโครงการฯเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ผลการวิจัยพบว่าครูต่างชาติต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการการนิเทศการสอนมากที่สุด คือ ด้านหลักสูตร รองลงมา คือ การวัดและประเมินผลและการจัดการเรียนการสอนตามลำดับ แนวทางการจัดการนิเทศการสอนครูต่างชาติ 1) ด้านหลักสูตร ควรมอบหมายให้หัวหน้าโครงการเป็นผู้ดูแลและทำการนิเทศครูต่างชาติ โดยใช้วิธีการนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Mentoring) 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรให้ครูต่างชาติได้เข้ารับการอบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ควบคู่กับการนิเทศแบบพี่เลี้ยง 3) ด้านสื่อการสอน ควรส่งเสริมให้ครูต่างชาติได้ใช้วัสดุอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆตามความพร้อมของโรงเรียนอย่างอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบจากโครงการ4)ด้านการวัดและประเมินผล ควรส่งเสริมให้ครูใช้วิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลาย โดยครูพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลให้เป็นไปตามเกณฑ์ของโรงเรียน
Other Abstract: The objectives of this study were to: 1) explore the needs of foreign teachers teaching English for instructional supervision in the English program in secondary schools under the Office of the Basic Education Commissions, and 2) propose guidelines on such instructional supervision. The participants were 300 foreign teachers and 10 school administrators. The former group was selected according to purposive sampling of educational service areas and the latter was selected according to their minimum of 10-year success in managing the program. It was found that in general their needs for instructional supervision over four aspects were ranked average. Curriculum was ranked highest, followed by assessment and teaching and learning management, respectively. As for the guidelines: 1) As for curriculum, the head of the program should adopt mentoring to deal with this aspect. 2) In terms of teaching and learning management, training sessions along with mentoring should be provided, and 3) As for instructional media, the teachers should be encouraged to use the media as seen suitable by the head. 4) Regarding assessment, various means of assessment should be adopted with the supervision of mentors to ensure that the assessments follow those of the school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51317
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1129
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1129
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683914227.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.