Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสีen_US
dc.contributor.authorเอมิกา สุวรรณหิตาทรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:04:39Z-
dc.date.available2016-12-02T06:04:39Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51319-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบสำคัญสำหรับการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา (2) เพื่อพัฒนาแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา (3) เพื่อประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา และ (4) เพื่อศึกษาผลการใช้แบบประเมินแผนการจัดการเรียนของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสังกัดเขตพื้นการศึกษาการมัธยมศึกษา เขต1 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบความเที่ยงจากความสอดคล้องภายในตัวผู้ประเมิน การตรวจสอบความเที่ยงระว่างผู้ประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบสำคัญเพื่อการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษาพบว่า องค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบ คือ สาระสำคัญ จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (2) ผลการพัฒนาแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา พบว่า แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย 2 คือ ด้านที่ 1 การวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านที่ 2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 54 ข้อรายการหลัก มีค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในทั้งฉบับเท่ากับ 0.898 ค่าความเที่ยงจากความสอดคล้องภายในตัวผู้ประเมิน (Intra-rater Reliability) มีค่าสูง และ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา (ประเมินโดยครูประเมินตนเอง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้วิจัย) มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater Reliability) ทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าอยู่ในช่วง 0.683 – 0.940 (3) ผลการวิเคราะห์ระดับคะแนนคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ และระดับชั้นการศึกษา พบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้และระดับชั้นการศึกษา แต่ผลของปัจจัยหลักของขนาดโรงเรียนมีผลต่อคะแนนคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 4.82*, p < .05) รวมทั้งผลของปัจจัยหลักกลุ่มสาระการเรียนรู้ (B) มีผลต่อคะแนนคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแตกต่างกันที่ระดับ .05 (F = 2.58*, p < .05) (4) ผลการใช้แบบประเมินแผนการจัดการเรียนของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้และระดับชั้นการศึกษา พบว่า เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของครูสูงกว่าทุกขนาดโรงเรียน เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสูงกว่าทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเมื่อจำแนกตามระดับชั้นการศึกษา คะแนนเฉลี่ยคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของครูมัธยมศึกษาตอนต้นสูงกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to synthesize the main steps and the main element of lesson plan for secondary school teachers. 2) to develop a lesson plan evaluation form for secondary school teachers. 3) to evaluate a lesson plan for secondary school teachers. 4) To study the result of a lesson plan evaluation form for secondary school teachers. Data were collected by using a study of related literatures and 7 experts as well as. The sample involved 320 teachers of the secondary educational service area. Research instruments were research and document analysis forms, evaluation form of lesson plan. Verify the quality of a evaluation form using content validity, internal consistency reliability, intra-rater reliability and inter-rater reliability. The data were analyzed by using descriptive statistics, three – way analysis of variance. The research findings were as follows: (1) The main steps and the main element of lesson plan for secondary school teachers consisted of 6 components; main point, objective, content, activity design, Learning Materials/Resources, Evaluation Methods. (2) The reliability of the lesson plan evaluation form for secondary school teachers was 0.898 and Intra-rater Reliability high. The range of inter – rater reliability of 3 raters group was 0.876 – 0.931. (3) There was no interaction among size of school , department and students’ educational levels on the qualities of lesson plan, but there were main effect significantly different at the .05 level of significance for size of school (F = 4.82*, p < .05) and department (F = 2.58*, p < .05). (4) The result evaluation forms of secondary teacher’s lesson plan, classified according to the size of school , department and students’ educational levels. The medium size school had the higher quality of lesson plan. Career and Technology department had the highest quality of lesson plan and students’ educational levels had the highest quality of lesson plan.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF THE LESSON PLAN EVALUATION FORMFOR SECONDARY SCHOOL TEACHERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th,Sirichai.K@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683920027.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.