Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5136
Title: รูปแบบของช่องเปิดด้านข้างเพื่อการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสำนักงาน
Other Titles: Side lighting types for daylighting utilization in office buildings
Authors: พิรุฬห์รัตน์ บุริประเสริฐ
Advisors: ธนิต จินดาวณิค
พิรัส พัชรเศวต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cthanit@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แสงธรรมชาติ
อาคารสำนักงาน -- แสงสว่าง
การส่องสว่างภายใน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษารูปแบบช่องเปิดเพื่อนำแสงสว่างธรรมชาติเข้ามาในอาคารสำนักงานด้านทิศเหนือและทิศใต้โดยเน้นการใช้สอยในสภาพท้องฟ้าและภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร จากการนำข้อมูลค่าเฉลี่ยของความสว่างภายนอกและค่าเฉลี่ยของพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ ปี พ.ศ. 2542 จัดกลุ่มเป็นค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของปีตามสภาวะท้องฟ้าแจ่มใน (Clear), ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน (Partly Cloudy) และท้องฟ้าเมฆเต็มท้องฟ้า (Cloudy) โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากอัตราส่วนท้องฟ้า (Sky ratio) เป็นหลัก นำมาจำลองสภาพการให้แสงธรรมชาติในท้องฟ้าต่างๆ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Lightscape 3.2 ซึ่งมีการนำมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโปรแกรมจากการเปรียบเทียบผลค่าความสว่างที่ประมาณค่าได้จากการคำนวณของโปรแกรมกับค่าความสว่างที่วัดได้จริงจากเครื่องมือวัดค่าความสว่างภายในอาคารตัวอย่าง กรณีศึกษานี้ได้กำหนดห้องมาตรฐานที่มีผนังเป็นช่องเปิดหน้าต่างกระจกในหนา 6 มิลลิเมตร เพียง 1 ด้าน โดยมีรูปแบบช่องเปิด 2 ชนิด คือ หน้าต่างต่อเนื่อง และหน้าต่างไม่ต่อเนื่อง ซึ่งมีสัดส่วนพื้นที่กระจกต่างกัน 70%, 60%, 50% และ 40% ผลค่าความสว่างภายในบนพื้นผิวอ้างอิงถูกนำมาประเมินผลในเชิงปริมาณแสงธรรมชาติที่เข้ามาในอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ การประเมินผลเชิงอนุรักษ์พลังงานของรูปแบบช่องเปิดในการศึกษานี้ ใช้วิธีการเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้ารายปีเพื่อให้แสงสว่างที่ลดลงเนื่องจากแสงธรรมชาติกับการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นเนื่องจากความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางหน้าต่างและความร้อนจากโคมไฟฟ้าแสงประดิษฐ์ การศึกษานี้พบว่ารูปแบบช่องเปิดหน้าต่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อสัดส่วนพื้นที่กระจก 40%-50% ของพนัง โดยสัดส่วนพื้นที่กระจกเพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ภาระทำความเย็นเพิ่มขึ้น 16%-25% ในทิศเหนือและทิศใต้ จากผลค่าความสว่างที่คำนวณโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์พบว่า ชนิดหน้าต่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ปริมาณแสงธรรมชาติบนพื้นผิวอ้างอิงเข้ามาได้ลึกมากที่สุด 4.7 เมตร และอัตราส่วนพื้นที่แสงธรรมชาติต่อพื้นที่ห้องมีค่ามากกว่าชนิดหน้าต่างไม่ต่อเนื่อง ถ้าส่วนของหน้าต่างที่สูงเหนือระดับอ้างอิงเท่ากัน คือ 1.95 เมตร ส่วนของหน้าต่างที่ต่ำกว่าระดับอ้างอิงเพิ่มขึ้นเป็น 0.15, 0.45 และ 0.75 เมตร จะทำให้ความสูงหน้าต่างรวมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์บังแดดแนวนอนมีระยะยื่นเพิ่มมากขึ้นจึงมีผลทำให้ค่าความสว่างภายในและระยะทางที่แสงธรรมชาติเข้ามาบนพื้นผิวอ้างอิงภายในห้องลดต่ำลง สำหรับการเว้นช่องหน้าต่างให้มีผนังทึบแสงระหว่างพื้นที่กระจกพบว่า ระยะเว้นช่องระหว่างหน้าต่างที่เพิ่มขึ้นของรูปแบบช่องเปิดทิศเหนือมีผลทำให้ค่าความสว่างภายในบนพื้นผิวอ้างอิงลดต่ำลงน้อยกว่ารูปแบบช่องเปิดทิศใต้ ดังนั้นรูปแบบช่องเปิดชนิดหน้าต่างต่อเนื่องที่มีส่วนของหน้าต่างสูงเหนือระดับอ้างอิงด้านทิศเหนือมีประเสิทธิภาพสูงกว่ารูปแบบช่องเปิดอื่นๆ จากผลสรุปที่ได้นี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับสถาปนิกนำไปพิจารณาออกแบบรูปแบบช่องเปิดสำนักงานในกรุงเทพมหานครเพื่อการนำแสงธรรมชาติเข้ามาในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานด้วย
Other Abstract: The purpose of this research is to study the types of fenestration for daylighting utilization in office buildings on the north and south direction. The study emphasizes on an application in sky condition and climate in Bangkok. Data namely sky luminance, radiation are collected for one year record, 1999. Then all data will be grouped into three conditions by sky ratio. Those are clear sky, partly cloudy sky and cloudy sky in order to simulate the side lighting in difference sky condition with computer program, Lightscape 3.2. The validation of computer program is audited by comparing between the estimate result of illuminance and measurement by light meter with in building. A standard room was set as a case study. The standard room was 9*9 square meters with one side of fenestration, single 6 mm. glass. The fenestration was divided into 2 types those are strip window and punch window with window wall area ratio 70%, 60%, 50% and 40%. The result of illuminance on work plane was evaluated daylight in buildings from north and south direction. The evaluate of annual electrical energy consumption on types of fenestration in this research is to compare with the reduction of energy for illumination from artificial lighting and the increasing of energy for cooling load by heat gain through window, heat gain from artificial lighting. This research shows that strip window efficiency when the window wall area has ratio at 40% to 50%. If the window wall area ratio increase 10%, the cooling load will increase about 16%-25% in the north direction and the south direction. The results of illuminance by computer calculation are conclusion that strip window gives quantity of daylight on work plane at 4.7 m. maximum with ratio daylight area of standard room area should higher punch window. If the higher part of window above work plane equally 1.95 m., the lower part of window will be increasing to 0.15, 0.45 and 0.75 m. This has an impact on the total level of window and distance of shading device are increase. This also has an impact on the reduction of interior illuminance on work plane. The increasing of opaque distance between glass of window results in the reduction of interior illuminance on work plane in north direction more than in the south direction. The conclusion of this research is that the strip window which have the higher part of window above work plane in the north direction will have higher efficiency than others. This research will work as a primary data for architects to consider the design types of fenestration in office building in Bangkok for daylighting utilization which high efficiency for energy conservation
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5136
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.126
ISBN: 9741309015
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.126
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirunrat.pdf16.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.