Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51489
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์-
dc.contributor.advisorธิติมา พิทักษ์ไพรวัน-
dc.contributor.authorสุทธาดา เลขไวฑูรย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-01-16T08:54:19Z-
dc.date.available2017-01-16T08:54:19Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51489-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. 2435-2453) ผลการวิจัยพบว่า การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในช่วงนี้เป็นการใช้จ่ายตามงบประมาณประจำปี ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณตามความจำเป็นเฉพาะหน้าของแต่ละปีมากกว่าที่จะมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินในระยะยาว นอกจากนี้ในตอนต้นรัชกาล รัฐบาลยึดถือนโยบายการคลังแบบเก่า คือ ใช้จ่ายเงินภายใต้ขอบเขตรายได้ของรัฐ ทำให้ต้องชะลอโครงการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ไว้โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ในตอนปลายรัชกาล รัฐบาลได้ตัดสินใจกู้เงินจากต่างประเทศ 3 ครั้ง คือ ใน พ.ศ. 2447, 2449 และ 2451 เพื่อขยายกิจการรถไฟ ดังนั้นภาระการใช้จ่ายเงินจากเงินรายได้ของรัฐในด้านการคมนาคมจึงลดน้อยลง แต่ถึงกระนั้น รายจ่ายในด้านการคมนาคมก็ยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับ 3 รองจากรายจ่ายในด้านการป้องกันประเทศและการรักษาความสงบภายใน ทั้งในเพราะถือว่าการรถไฟมีส่วนช่วยสนับสนุนการปกครองและการป้องกันประเทศ การที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายป้องกันประเทศ การบริหารและการรักษาความสงบภายใน รวมทั้งการคมนาคมคู่เคียงกันไปด้วยเหตุผลเพื่อรักษาเอกราชของประเทศ ทำให้รัฐบาลขาดแคลนเงินในการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงปล่อยให้เอกชนเข้ารับภาระการพัฒนาเศรษฐกิจแทนทั้งในขั้นตอนของการผลิตและขั้นตอนของตลาดคือเอกชนได้ทำหน้าที่ในการขุดคลอง ชลประทาน พัฒนาเทคนิคการผลิต รวมทั้งขยายตลาดข้าวในประเทศต่าง ๆ ผลของการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวของทหารอาชีพและการบริหารงานการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ขณะเดียวกันได้มีการปรับปรุงกฎหมายและขยายการศึกษาไปสู่ประชาชนในระดับกว้างมากขึ้น ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเอกชนนั้น ถึงแม้จะส่งผลให้ประชาชนส่วนหนึ่งสูญเสียโอกาสในการเป็นเจ้าของที่ดินจนต้องอยู่ในฐานะผู้เช่า รวมทั้งระบบการค้าเสรี ทำให้พ่อค้าคนกลางกดราคาข้าวเปลือกและโก่งราคาข้าวสาร แต่ก็นับได้ว่าการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ส่งผลให้ขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกมากขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้รายได้ของรัฐจากอากรค่านาและภาษีสินค้าขาออกเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis analyses the pattern of government expenditure during the reign of King Chulalongkorn (B.E. 2435-2453) The research finding is that during this period, Government spending was in accordance with the annual budget appropriated on the basic of short term problem instead of longterm expenditure plan. In the early years of period, the government used the old conservative financial policy. This policy slowed down the implementation of development projects especially in the economic area. However, the government got loans from foreign countries three times (in the years B.E. 2447, 2449 and 2451) to develop the railway system. Though the budget from government income used for communication had decreased, it was the third importance to the defense and the interior budget. This is because the railway system was considered important in supporting the government administration and the defense of the country. The fact that the government gave priority to the national defense, administrative system including transportation in order to maintain the independence of the country made the budget for economic development insufficient. Therefore the private enterprises were allowed to take part in developing the country such as building canals, developing technology to increase products and finding markets for exports in foreign countries. Consequently, the government expenditure increasingly created professional military and centralized administration. At the same time, there had been some modification on law enactment and introduction of mass education system. Economic development by private enterprises, while causing the lost of land ownership among certain groups of people and transforming their status to tenants, the free-enterprise system contributed to the paddy-price decreasing and rice-price increasing through the manipulation of middle men. But at the same time, participation of private sectors in economic development helped to promote more land available for rice production and the increase of land taxes and export taxes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectงบประมาณ -- ไทย -- ประวัติen_US
dc.subjectการพัฒนาประเทศen_US
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5, 2411-2453en_US
dc.subjectBudget -- Thailand -- Historyen_US
dc.subjectFiscal policy -- Thailanden_US
dc.titleการใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2435-2453)en_US
dc.title.alternativeGovernment spending during the reign of King Chulalongkorn (1892-1910)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutthada_Le_front.pdf417.63 kBAdobe PDFView/Open
Sutthada_Le_ch1.pdf790.27 kBAdobe PDFView/Open
Sutthada_Le_ch2.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Sutthada_Le_ch3.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Sutthada_Le_ch4.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Sutthada_Le_back.pdf602.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.