Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารเมศ ชุติมา
dc.contributor.authorศรุต จุฑานนท์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-01-30T07:59:13Z
dc.date.available2017-01-30T07:59:13Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51592
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เสนอแนวทางการใช้เศษกระเบื้องบดซึ่งเป็นของเสียการผลิตมาแทนทราย เพื่อลดการฝังกลบของเสีย โดยใช้แนวทางของซิกซ์ซิกม่า โดยให้ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ของ มอก. 535- 2527 และ การยอมรับของทางบริษัท ระบบการดำเนินการคุณภาพตามแนวทางของซิกซ์ซิกม่าจะใช้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติเป็นสำคัญ ขั้นตอนตามวิธีการทางซิกซ์ ซิกม่า 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นตอนการนิยามปัญหา (Define) ขั้นตอนการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา (Measure) ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze) ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ (Improve) และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิต (Control) ตามลำดับ ในแต่ละขั้นของการสำรวจผลวิจัยสามารถระบุปัญหา,สาเหตุของปัญหาและทำการแก้ไขโดยใช้หลักการทางสถิติวิศวกรรม ซึ่งขั้นตอนเริ่มต้นของการศึกษาได้ทำการนิยามปัญหา ศึกษาความแม่นยำและความถูกต้องของระบบการวัด การศึกษาผลการเติมเศษกระเบื้องบดในผลิตภัณฑ์จริง ซึ่งพบว่ามีผลทำให้ความแข็งแรงกระเบื้อง ณ จำหน่าย และ อัตราปูดนูนผิวกระเบื้องไม่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ จึงทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทำโดยแผนผังความสัมพันธ์ และ เชื่อมโยงเพื่อหาความรุนแรงของปัญหาด้วยวิธีการ FMEA หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าต่างๆ เหล่านั้นว่า สามารถทำให้คุณภาพผ่านการยอมรับหรือไม่ จากการวิเคาระห์สามารถสรุปการใช้เศษกระเบื้องบดสามารถใช้แทนทรายได้ที่ 20% และ เมื่อสามารถระบุถึงปัจจัยนำเข้าที่สำคัญแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับปรุง โดยทำการผลิตแบบเต็มกำลังการผลิตจำนวน 6 กะ เพื่อเป็นการยืนยันผลการทดลอง และ สุดท้ายคือการจัดทำมาตราการวิธีการทำงานและการควบคุม จากข้อมูลหลังการปรับปรุงกระบวนการพบว่า คุณภาพความแข็งแรงกระเบื้อง ณ จำหน่าย,อัตราดูดซึมน้ำ และ ปูดนูผิวกระเบื้องผ่านการยอมรับทั้งหมด โดยมีค่า Cpk เท่ากับ 1.40,1.61 และ Reject เท่ากับ 3.4% ตามลำดับ จากการนำเศษกระเบื้องมาใช้แทนทราย สามารถลดการฝังกลบลงเป็นจำนวนถึง 3,550 ตัน อีกทั้ง สามารถที่จะคาดการณ์การประหยัดค่าใช้จ่าย ในปี 2555 เท่ากับ 290,267 บาทen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to present the way for using grinded mortar waste instead sand to reduce waste to land fill by six sigma approach in order to maintain quality as criteria of TIS 535 – 2527 and acceptance by company. The main principle of quality operation system in six sigma approach is statistic. Six sigma consists 5 phases which are define, measure, analyze, improve, and control respectively. In each phase of six sigma method, statistical engineering techniques were applied in define phase by defining problem, measurement system analysis, and studying the effect of adding grinded mortar waste in product. The effects are strength of roof tile at sale and bister rate were reject at acceptance level. Therefore analyze the cause by cause and effect diagram and finding the relation of problem by FMEA. After that analyze input factors to find the way for passing acceptance level, the result is using grinded mortar instead sand at 20% is available. Next step is improvement by produce full at capacity as 6 shifts to confirm. The last step is standardization in work instruction and control. The result is strength of tile at sale, absorption rate, and bister rate were accepted at acceptance level. The Cpk are 1.40, 1.61, and reject is 3.4% respectively. As evaluated, using grinded mortar waste instead sand can be reduced 3,550 tons of waste to landfill , and reduced expense 290,267.09 Baht in 2012.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2072-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกรรมวิธีการผลิตen_US
dc.subjectซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)en_US
dc.subjectManufacturing processes
dc.subjectSix sigma (Quality control standard)
dc.titleการใช้เศษกระเบื้องบดเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาคอนกรีตชนิดเรียบ โดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมาen_US
dc.title.alternativeUse of grinded mortar waste as ingredient of flat concrete roof tile by six sigma approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorcparames@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2072-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarut_ju.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.