Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51621
Title: พฤติกรรมไตรโบโลยีของเหล็กกล้าไร้สนิมและวาเนเดียมคาร์ไบด์ที่เคลือบด้วยกระบวนการทีอาร์ดี
Other Titles: Tribology behavior of stainless steel and vanadium carbide coated by trd process
Authors: ชาญเชาว์ เลิศล้ำมีชัย
Advisors: ประสงค์ ศรีเจริญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasonk.S@chula.ac.th
Subjects: เหล็กกล้าไร้สนิม
กระบวนการเคลือบผิว
tainless steel
Coating processes
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เคลือบวาเนเดียมคาร์ไบด์ด้วยกระบวนการทีอาร์ดีบนดิสก์เหล็กกล้าเครื่องมือและอบคืนตัวในอากาศอย่างตั้งใจเพื่อให้เกิดวาเนเดียมออกไซด์หนาขึ้นบนชั้นเคลือบวาเนเดียมคาร์ไบด์ ไถลกับวงแหวนเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทนนิติคโดยทดสอบการสึกหรอแบบ ริง-ออน-ดิสก์ เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมไตรโบโลยี ทดสอบการสึกหรอที่ระยะทางไถล 2000 เมตร ความเร็ว การไถล 1.432 เมตรต่อวินาที แปรผันแรงกดตั้งแต่ 120 ถึง 320 นิวตัน ชั่งน้ำหนักวงแหวนก่อนและหลังทดสอบการสึกหรอ วิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีของภาคตัดขวางของวงแหวนด้วยเครื่อง EPMA วิเคราะห์ผิวดิสก์ด้วยเครื่อง XPS ผลทดสอบการสึกหรอแสดงว่าน้ำหนักที่สูญไปของเหล็กกล้าไร้สนิมเพิ่มขึ้นตามแรงกด ที่เพิ่มขึ้นจาก 120 ถึง 320 นิวตัน ผลวิเคราะห์ EPMA ของภาคตัดขวางของวงแหวน แสดงว่าผิววงแหวนมีปริมาณโครเมียมมากกว่าปริมาณเหล็กในออกไซด์ที่ผิวชิ้นงานที่แรงกด 120 นิวตัน ในขณะที่ปริมาณเหล็กมากกว่าปริมาณโครเมียมในออกไซด์ที่ผิวชิ้นงานที่แรงกด 320 นิวตัน ออกไซด์ที่มีปริมาณโครเมียมมากกว่าปริมาณเหล็กส่งผลให้น้ำหนักที่สูญไปของวงแหวนลดลง ผล XPS ของผิวดิสก์ก่อนและหลังทดสอบการสึกหรอ แสดงวาเนเดียมเพนทอกไซด์บนชั้นเคลือบวาเนเดียมคาร์ไบด์ซึ่งส่งผลให้การเกาะติดของเหล็กกล้าไร้สนิมบนดิสก์ที่เคลือบวาเนเดียม คาร์ไบด์ลดลง
Other Abstract: In this research, vanadium carbide coating by TRD process was conducted on tool steel disc and intentionally tempered in air to produce thicker vanadium oxide on vanadium carbide surface. Ring-on-disc wear test was conducted by sliding with austenitic stainless steel ring to investigate tribological behavior. Wear test was conducted with sliding distance of 2000 m. Sliding velocity was 1.432 m/s. Normal load was varied from 120 N till 320 N. Weight of ring was measured before and after wear tests. Chemical composition of ring surface was cross-section analyzed by the EPMA. Surface of the disc was analyzed by the XPS. Wear test results showed that weight loss of stainless steel increased with increasing normal load from 120 N till 320 N. The EPMA analysis result of cross-section of ring showed that ring surface contained more Cr content than Fe content in surface oxide in specimen with 120 N load while more Fe content than Cr content was shown in that with 320 N load. Cr rich oxide on stainless steel surface contributed to lower weight loss of stainless steel ring. The XPS result of disc surface before and after wear tests showed V2O5 on VC coating surface which contributed to less adhesion of stainless steel on VC coated disc.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51621
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2079
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2079
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanchou_le.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.