Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorทวี ไทยส่งสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-02-02T06:28:21Z-
dc.date.available2017-02-02T06:28:21Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51631-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิซสนับสนุนการประกอบกันของเว็บเซอร์วิซในลักษณะของกระแสงานซึ่งจะแสดงกระบวนการทางธุรกิจ ดับเบิลยูเอส-บีเพลเป็นภาษามาตรฐานเพื่อใช้ในการกำหนดกระแสงานของการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซตามกระบวนการทางธุรกิจ และอาศัยเครื่องประมวลบีเพลในการควบคุมการทำงาน อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซ อาจพบความผิดพร่องที่ซ่อนอยู่ในระบบและส่งผลให้เกิดความผิดพลาดได้ เช่น เว็บเซอร์วิซคู่ค้าไม่สามารถตอบกลับได้ หรือตอบกลับมาไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายให้กับองค์กรธุรกิจหากกระบวนการนั้นมีความวิกฤติและจำเป็นต้องดำเนินต่อไปให้เสร็จสิ้น เพื่อให้ระบบยังสามารถดำเนินงานต่อไปได้จำเป็นต้องออกแบบให้กระบวนการบีเพลรองรับการทนต่อความผิดพร่องที่เกิดขึ้น โดยสามารถใช้แบบรูปสำหรับซอฟต์แวร์ที่ทนต่อความผิดพร่องมาเป็นแนวทางในการออกแบบได้ งานวิจัยนี้เสนอกระบวนการในการนำแบบรูปสำหรับซอฟต์แวร์ที่ทนต่อความผิดพร่องมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบกระแสงานบีเพล ตัวอย่างเช่น แบบรูปเชิงสถาปัตยกรรม แบบรูปการตรวจหา และแบบรูปการกู้ระบบจากความผิดพลาด สามารถนำมาใช้จัดการกับความผิดพร่องจากเซอร์วิซคู่ค้าได้ จากแบบรูปในกลุ่มดังกล่าวนำมาวิเคราะห์และคัดเลือกเพื่อหาแบบรูปที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในระดับกระแสงานบีเพล กล่าวคือสามารถใช้เพียงโครงสร้างของบีเพลในการออกแบบตามแบบรูปได้ และแสดงเป็นแม่แบบของโครงสร้างบีเพล เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบสามารถนำไปใช้กับชุดเครื่องมือพัฒนาและสภาพแวดล้อมของบีเพลทั่วไปได้ นอกจากนี้ยังได้เสนอตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบรูป และทำการทดสอบความเชื่อถือได้และผลกระทบต่อสมรรถนะของกระแสงานบีเพลหลังจากที่มีการประยุกต์ใช้แบบรูปแล้วen_US
dc.description.abstractalternativeWeb services technology supports composition of services into workflow of business processes. WS-BPEL is a standard language for orchestrating workflow of Web services invocation for business processes. Those processes would be executed by a WS-BPEL execution engine. During service invocation, errors may occur from latent faults, e.g. partner services may not be available or not respond within time. These failures interrupt the workflow and may cause damages to an organization if the business process is critical and needs to proceed to completion. WS-BPEL processes should be designed to support fault tolerance by using patterns for fault tolerant software as a design guideline. This research proposes an approach to applying patterns for fault tolerant software to WS-BPEL. Fault tolerance patterns, such as those for architectural design, error detection, and error recovery, can be used to handle partner service faults. Selected patterns from those groups can be applied to WS-BPEL in workflow level. Templates of WS-BPEL constructs for implementing fault handling logic according to the patterns will be presented. With this approach, business processes can be made to execute in a fault tolerant manner within standard WS-BPEL execution environment and development tools. Examples of how the selected fault tolerance patterns are applied to WS-BPEL workflow are given. In addition, tests are conducted to compare reliability and performance of normal workflows and that of their fault tolerant versions.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2086-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเว็บเซอร์วิสen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์en_US
dc.subjectซอฟต์แวร์ -- การพัฒนาen_US
dc.subjectWeb servicesen_US
dc.subjectSoftware architectureen_US
dc.subjectComputer software -- Developmenten_US
dc.titleการประยุกต์แบบรูปสำหรับซอฟต์แวร์ที่ทนต่อความผิดพร่องกับกระบวนการดับเบิลยูเอส-บีเพลen_US
dc.title.alternativeApplying patterns for fault tolerant software to WS-BPEL processesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมคอมพิวเตอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortwittie.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2086-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thawee_th.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.