Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51691
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรณพ วิยกาญจน์
dc.contributor.advisorสุชนา ชวนิชย์
dc.contributor.authorชโลทร รักษาทรัพย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2017-02-07T07:14:25Z
dc.date.available2017-02-07T07:14:25Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51691
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractจากปัญหาการเสื่อมโทรมของปะการังและระบบนิเวศปะการังในปัจจุบัน จึงทำการศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ปะการังโดยอาศัยคุณสมบัติการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางใหม่ในการฟื้นฟูแนวปะการังของประเทศที่นิยมใช้วิธีการย้ายปลูกปะการัง ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้คุณสมบัติการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเป็นหลัก การศึกษาครั้งนี้ ได้ทำกาศึกษาปะการังเขากวาง Acropora spp. รวม 4 ชนิด โดยทำการเก็บเซลล์สืบพันธุ์ปะการังที่มีการปล่อยตามธรรมชาติจากบริเวณอ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี นำเซลล์สืบพันธุ์ดังกล่าวมาปฏิสนธิและอนุบาลต่อในระบบเลี้ยงบนบกเป็นเวลา 9 เดือน เพื่อนำตัวอ่อนปะการังที่ได้ไปใช้ฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติต่อไป ผลการติดตามการสร้างและปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ของปะการัง Acropora spp. บริเวณพื้นที่ดังกล่าว ในรอบปี 2549 – 2551 พบว่า ปะการังมีช่วงเวลาการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี โดยปล่อยขณะที่น้ำค่อนข้างนิ่งในช่วงคืน 5 – 12 ค่ำ ของทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เมื่อนำเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังมาปฏิสนธิในโรงเพาะขยายพันธุ์ปะการัง พบว่า อัตราการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังทุกชนิดมีค่าสูงกว่าร้อยละ 90 ตัวอ่อนปะการังภายหลังการปฏิสนธิมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนระยะว่ายน้ำในชั่วโมงที่ 36 – 40 หลังการปฏิสนธิ อัตราการเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนระยะว่ายน้ำสูงกว่าร้อยละ 87 ตัวอ่อนลงเกาะบนพื้นผิวเมื่ออายุ 4 วันหลังการปฏิสนธิ อัตราการลงเกาะบนพื้นผิวร้อยละ 49 – 75 ทั้งนี้ ความสามารถในการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังมีค่าลดลงเมื่อตัวอ่อนมีอายุมากขึ้น นอกจากนั้น พบการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังมากที่สุดบริเวณด้านล่างและด้านข้างของแผ่นกระเบื้อง โดยแผ่นกระเบื้องที่มีการลงเกาะมากที่สุดได้แก่แผ่นกระเบื้องที่ผ่านการแช่ในทะเลระยะเวลา 3 เดือน อนึ่ง การติดตามอัตรารอดและการเติบโตของตัวอ่อนปะการังระยะหลังการลงเกาะ พบว่า ตัวอ่อนมีอัตราการตายสูงในช่วงอายุ 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นระยะที่ตัวอ่อนปะการังมีการชักนำสาหร่ายซูแซนเทลลีเข้ามาอยู่ร่วมอาศัย หลังจากนั้นอัตรารอดค่อนข้างคงที่โดยมีอัตรารอดเฉลี่ยที่ร้อยละ 33.0 ± 3.55 เมื่ออายุ 9 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของตัวอ่อนที่ค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลาเดียวกัน จากนั้นขนาดของตัวอ่อนจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีขนาดความกว้างของส่วนกว้างสูงสุดที่ 11.9 ± 9.85 มิลลิเมตร เมื่ออายุได้ 9 เดือนen_US
dc.description.abstractalternativeAt present, anthropogenic degradation of corals in Thailand is the main issue. Thus, a new method of coral restoration using coral cultivation is introduced as an additional way to increase the coral diversity. In this study, the gametes of 4 species of Acropora were collected from Ao Sattahip, Chonburi Province, and were brought back to the land-based hatchery for fertilization and rearing for 9 months before transplanted to natural reefs. The results from the field surveys between 2006 – 2008 showed that the spawning period of corals in this area occurred during January to March each year. The spawning date and time of all species related to the neap tide of water and the lunar cycle, 5 to 12 nights after the full moon or the new moon. In the rearing system, the rates of fertilization of each species were more than 90%. After the fertilization, the planula larvae were metamorphosed and developed into the swimming stage at the 36th – 40th hour. The survival rates of planulae were more than 87%, and the settlement rate of planulae were between 49 – 75%. The settlement was strongly affected by age of larvae. The results from the experiments showed that high numbers of larvae settled on the bottom and sides of the settlement plates compared to the top of the plates. Moreover, planula larvae preferred to settle on plates that were in the ocean for 3 months. After settling, the highest mortality rate of juvenile corals occurred during the first three months, the period that corals needed zooxanthellae. After 9 month, the survival rate of juvenile corals was approximately 33.0 + 3.55%, and the size was 11.9 + 9.85 mm in length.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.220-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปะการังเขากวาง -- ตัวอ่อนen_US
dc.subjectปะการังเขากวาง -- การเจริญเติบโตen_US
dc.titleอัตรารอดและการเติบโตของตัวอ่อนปะการังเขากวาง Acropora spp. ในระบบเพาะเลี้ยงen_US
dc.title.alternativeSurvival and growth of juvenile staghorn corals Acropora spp. in culture systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvvoranop@chula.ac.th
dc.email.advisorsuchana.c@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.220-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chalothon_ra_front.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
chalothon_ra_ch1.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
chalothon_ra_ch2.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
chalothon_ra_ch3.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open
chalothon_ra_ch4.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
chalothon_ra_ch5.pdf370 kBAdobe PDFView/Open
chalothon_ra_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.