Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51742
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิลาสินี พิพิธกุล-
dc.contributor.authorธาม เชื้อสถาปนศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-02-10T04:53:03Z-
dc.date.available2017-02-10T04:53:03Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51742-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractงานศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงโครงสร้าง ระบบ และไวยากรณ์ของหนังสือพิมพ์โดยใช้แนวคิดโครงสร้างนิยมและสัญวิทยาในแง่มุมของวิธีการศึกษาและชุดคำอธิบาย ศึกษาจากหนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน 3 ชื่อฉบับคือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชนและบางกอดโพสต์รวม 9 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็นวันทำงาน วันหยุด และวันไม่ปกติ ด้วยสายตาของนักโครงสร้างนิยมและนักสัญวิทยาต้องมองหนังสือพิมพ์ด้วยสายตาที่ไม่ปกติและการวิเคราะห์หนังสือพิมพ์ในฐานที่เป็นวัตถุสัญญะ ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของหนังสือพิมพ์ประกอบไปด้วย 2 โครงสร้างคือโครงสร้างสถิตและโครงสร้างพลวัตร โดยโครงสร้างสถิตนั้นประกอบไปด้วยโครงสร้าง 2 ระดับคือโครงสร้างทางความคิด ที่มีองค์ประกอบของเนื้อหาสาระรูปแบบและการตีพิมพ์ และโครงสร้างทางกายภาพคือ ระดับตัวเล่ม ระดับหน้าและระดับหน่วยย่อย โครงสร้างงานของหนังสือพิมพ์นี้อยู่ได้ด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบและเนื้อหาสาระเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ ได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสาระและรูปแบบ ระบบความสัมพันธ์แบบเรียงลำดับ แบบคู่ตรงกันข้าม แบบความแตกต่างและอัตลักษณ์ และระบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทในองค์ประกอบย่อย ทั้งนี้หนังสือพิมพ์จะใช้ความสัมพันธ์แบบกระบวนทัศน์เพื่อจัดการกับรูปแบบของตัวบทในหนังสือพิมพ์ และใช้ความสัมพันธ์แบบวากยสัมพันธ์เพื่อจัดการกับเนื้อหาสาระเป็นหลัก ทั้งโครงสร้างและระบบความสัมพันธ์ของหนังสือพิมพ์จะถูกควบคุมให้สามารถสื่อสารออกมาเป็นรูปแบบสื่อหนังสือพิมพ์ได้ด้วย “ไวยากรณ์” ของหนังสือพิมพ์ ที่เป็นกฎเกณฑ์ในการสร่าง/ควบคุมความเป็นหนังสือพิมพ์ผ่านการบรรณาธิกรณ์โดยแบ่งออกได้ 2 ไวยากรณ์ย่อยคือ “ไวยากรณ์การเขียนข่าว” และ “ไวยากรณ์การจัดหน้า” นักหนังสือพิมพ์เป็นตัวเชื่อมระหว่างโครงสร้างทางความคิดกับโครงสร้างทางกายภาพหนังสือพิมพ์ผ่าน 2. กระบวนการคือ กระบวนการแรกจากแนวความคิดมาสู่นักหนังสือพิมพ์ ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา, กระบวนการขัดเกลาทางสังคม การสืบทอดความรู้/ถ่ายทอดอุดมการณ์ผ่านระบบสังคม วัฒนธรรม ค่านิยมฯ กระบวนการที่สองคือกระบวนการผลิตซ้ำอุดมการณ์ความคิดจากนักหนังสือพิมพ์ ไปสู่ตัวเล่มหนังสือพิมพ์ผ่านการผลิตในระบบสื่อมวลชน “ข่าว” คือรูปแบบข้อเขียนที่สำคัญที่สุดในหนังสือพิมพ์ คือตัวสร้าง/ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ ข่าวคือ “รูปสัญญะที่ล่องลอย” เป็นรูปแบบแบบนามธรรม ข่าวจึงต้องการหนังสือพิมพ์มาทำหน้าที่เป็นรูปสัญญะที่เป็นรูปธรรมเพื่อทำให้สามารถจับต้องสัมผัสและรับรู้ได้ และข่าวก็คือหัวใจหลักของการสร้างมายาคติในหนังสือพิมพ์ มายาคติที่สำคัญของหนังสือพิมพ์คือการเป็นตัวแทนของความจริงในสังคม ซึ่งได้จากการโอนย้ายถ่ายความหมายสัญญะมาจากข่าวในฐานะรูปสัญญะมาสู่ตัวหนังสือพิมพ์ในฐานะรูปสัญญะ ด้วยวิธีการอุปมาอุปไมยความจริง และสะท้อนให้เห็นว่าแท้จริงแล้วหนังสือพิมพ์ก็คือนิทานปรัมปราเรื่องหนึ่ง ที่มีแก่นกลางเรื่องอยู่ที่ความจริงของโลกen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to study the structure, system and grammatical structure of newspaper by using structuralism and semiology as a methodology. Unit of analysis are “Thairath”, “Matichon” and “Bangkok Post” totally 9 copies, categories in 3 groups, weekdays, weekends and special days. As structuralism, it leads to suggest to see normal things as un-usual things, see newspaper as a sign object, the results of this thesis as following: The structure of newspaper composite with 2 structure – static structure and dynamic structure. The static structure divides into 2 levels which are concept structure and physical structure. The basic elements of newspaper’s concept are substances, forms and publishing, while newspaper’s physical structure divides into 4 levels are unit structure, section structure, department structure, and unit structure. All newspaper structure is controlled by system of relations between elements, and arbitrary relation that are binary opposition, identity/difference, order and text-context relation. Newspaper use paradigm relation for substance and syntagmatic relation for form. Both structure and relation of newspaper were controlled by grammatical to significance their message by using editing as a news writing grammar and page editing grammar. Journalist is mediator between newspaper’s concept-structure and newspaper’s physical-structure. There are two process; first, from concept to journalist that are studying in academic, social practice transmission of knowledge and ideology. Secondly, from journalist to newspaper’s physical by mass production of newspaper. News is the most important form of writing in newspaper. It is generating newspaper. News is a floating signifier, an abstract form, that need newspaper to function as a concrete form. News is a key element that produces myth in newspaper, which is a representation of reality in social, by using the transferring from news’s signified to newspaper’s signified, call metaphor of reality. It actually shows that newspaper is a myth that has a theme of world’s realityen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.682-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหนังสือพิมพ์en_US
dc.subjectโครงสร้างนิยม (การวิเคราะห์วรรณกรรม)en_US
dc.subjectสัญศาสตร์en_US
dc.subjectวากยสัมพันธ์en_US
dc.subjectNewspapersen_US
dc.subjectStructuralism (Literary analysis)en_US
dc.subjectSemioticsen_US
dc.subjectGrammar, Comparative and general -- Syntaxen_US
dc.titleโครงสร้าง ระบบ และไวยากรณ์ของหนังสือพิมพ์en_US
dc.title.alternativeStructure, system and grammatical of newspaperen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWilasinee.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.682-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
time_ch_front.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch1.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch2.pdf10.76 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch3.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch4.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch5.pdf8.07 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch6.pdf9.51 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch7.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch8.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_ch9.pdf7.5 MBAdobe PDFView/Open
time_ch_back.pdf884.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.