Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวงศ์ ศรีบุรี-
dc.contributor.authorเสาวนีย์ วิจิตรโกสุม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-02-11T12:49:59Z-
dc.date.available2017-02-11T12:49:59Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51761-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโดยศึกษาใน 2 ระดับ ได้แก่ ระดับลุ่มน้ำ (river basin level) และระดับเมือง (urban level) ซึ่งมีแหล่งน้ำต้นทุนแหล่งเดียวกัน คือ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง โดยศึกษาสภาพทรัพยากรน้ำ การจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำ วิเคราะห์แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้น้ำ จำนวนประชากร การพัฒนาเมือง และความขัดแย้งในการใช้น้ำในแต่ละภาคส่วน เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำในอนาคตของลุ่มน้ำลำตะคองให้สอดคล้องกับการพัฒนาทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคเมือง บนพื้นฐานของความต้องการน้ำขั้นต่ำสำหรับประชากร สำหรับการผลิต และสำหรับธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการศึกษา พบว่า ลุ่มน้ำลำตะคองเป็นลุ่มน้ำที่มีแนวโน้มการขาดแคลนน้ำและอาจเกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำขึ้น เนื่องจากความต้องการน้ำในภาพรวมมีมากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำคิดเป็น 109.34 ล้าน ลบ.ม. ในอนาคต (พ.ศ. 2567) ลุ่มน้ำลำตะคองจะมีจำนวนประชากร 974,900 คน และมีความต้องการน้ำ 324.63 ล้าน ลบ.ม. โดยเป็นความต้องการน้ำเพื่อการผลิต (เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม) 184.26 ล้าน ลบ.ม. น้ำเพื่อประชากร 83.77 ล้าน ลบ.ม. และน้ำเพื่อธรรมชาติ 56.64 ล้าน ลบ.ม. ในการศึกษาระดับเมือง พบว่า เมืองนครราชสีมา มีความเป็นเมืองสูง การใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่เพื่อการพักอาศัย โดยมีการลดลงของพื้นที่เกษตรกรรมเฉลี่ย 2.76 ตร.กม./ปี แนวโน้มการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตจะมีเพียงการใช้พื้นที่เพื่อพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยเท่านั้น และอาจต้องมีการขยายพื้นที่เทศบาลออกไปประมาณ 10 ตร.กม. เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในด้านของความต้องการใช้น้ำมีปริมาณ 59.18 ล้าน ลบ.ม. โดยปัจจุบันประชากรมีอัตราการใช้น้ำคิดเป็น 358 ลิตร/คน/วัน ซึ่งถึงแม้ว่าในอนาคตแนวโน้มจำนวนประชากรจะลดลงก็ตาม แต่อัตราการใช้น้ำกลับเพิ่มสูงขึ้น (513 ลิตร/คน/วัน) ในด้านการศึกษาการพัฒนาพื้นที่แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำออกเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่พัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว พื้นที่พัฒนาเพื่ออุตสาหกรรม และพื้นที่พัฒนาเพื่อการพัฒนาเมืองและเกษตรกรรม ซึ่งพื้นที่ที่มีการใช้น้ำมากที่สุด คือ พื้นที่กลุ่มการพัฒนาเมืองและเกษตรกรรม โดยการใช้น้ำในปัจจุบันและความต้องการน้ำในอนาคต คิดเป็น 78.73 และ 114.10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำเก็บกักเฉลี่ยในอ่างเก็บน้ำ ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาพื้นที่และทรัพยากรน้ำเพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำจำเป็นต้องควบคุมและวางแผนการพัฒนาพื้นที่และจัดการทรัพยากรน้ำทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ทั้งในพื้นที่เหนือเขื่อน ซึ่งการใช้น้ำในพื้นที่จะมีผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนของพื้นที่ท้ายน้ำ รูปแบบการพัฒนาของพื้นที่ท้ายเขื่อนที่จะไม่ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำ คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถทำได้ตามแผนพัฒนาที่กำหนดไว้โดยมีเงื่อนไข การพัฒนาเกษตรกรรมเป็นการใช้น้ำเฉพาะฤดูแล้งและไม่มีการขยายพื้นที่ชลประทาน การใช้น้ำเพื่อประชากรเป็นไปในอัตราที่กำหนด และน้ำเพื่อธรรมชาติเป็นการใช้น้ำเพียงร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำใช้จริง โดยปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำลำตะคองจะต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า 171.02 ล้านลบ.ม.en_US
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed to manage the water resource in river basin by divided into 2 levels, river basin level and urban level. Both of them have same source of water assets which is Lam Ta Kong Reservoir. The research focused on the state of water resource and the water allocation in the watershed, analyze the trend of land usage, water consumption, number of population, urban development and the conflict of the water usage in each sectors. These scopes were approached in order to develop the water management pattern for Lam Ta Kong Watershed in the future that agree with the development of agricultural and urban sector on the basis of minimum water required for population, for production and for nature to reach the sustainable development. According to this study, the result shown that the water assets in Lam Ta Kong Watershed could be insufficient and the water conflicts were become. Due to the water demand from all sectors is more than the water assets in the watershed which is about 109.34 MCM. By the year 2024, Lam Ta Kong Watershed will have 974,900 populations and water demand for then are about 324.63 MCM. This water demand could divide into water for production of agriculture and industry about 184.26 MCM, for population 83.77 MCM and for nature 56.64 MCM. In the urban level study, it was discovered that Nakhonrachasima City is high urbanization. Land use of this city was transferred from agricultural to residential area which the decreasing number of agricultural area is 2.76 sq km /year. The trend of land use in the future will be only for commercial and residential use and the political boundary may be expanded about 10 sq km in order to support the future purpose. About the water demand of this city, the water demand in 2024 year is 59.18 MCM. The water consumption rate of population in the city is 358 liter/person/day at the present. Even if the trend of population number is decreasing, the water consumption rate will be rising (513 liter/person/day). The study on the spatial development, Lam Ta Kong Watershed was divided into 3 areas include the tourism and recreation-developed area, industrial-developed area and urban and agricultural-developed area. The urban and agricultural- developed area is considered as the area that has the highest water usage which the water consumption rate at the present and in the future are 78.73% and 114.10 %, respectively, of average amount of water storage in the reservoir. Therefore, the spatial and water resource development for against the water shortage must be controlled both demand and supply for both upstream and downstream area since the water consumption of upstream area will effect the water assets of downstream area. From the study, it can concluded that in order to avoid the water shortage, the industrial development must be done by conditioned development plan, the water usage for agricultural development must be performed only in the drought season with no expansion of irrigation area, the water consumption rate of population must be fixed and water for nature must be about 10% of the real water usage. And the amount of water in Lam Ta Kong Reservoir must have more than 171.02 MCM.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.102-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทยen_US
dc.subjectลุ่มน้ำลำตะคอง -- การจัดการen_US
dc.subjectการจัดการน้ำen_US
dc.subjectNatural resources -- Management -- Thailanden_US
dc.subjectLam Ta Kong Watershed -- Managementen_US
dc.titleการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำลำตะคองแบบบูรณาการen_US
dc.title.alternativeIntegrated water resource management in Lam Ta Kong Watersheden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsthavivo@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.102-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saowanee_wi_front.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch1.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch2.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch3.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch4.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch5.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch6.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_ch7.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
saowanee_wi_back.pdf7.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.