Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51817
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคุณากร ภู่จินดา
dc.contributor.authorธันฐกรณ์ นิตยะ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2017-02-14T08:39:26Z
dc.date.available2017-02-14T08:39:26Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51817
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลของการเตรียมเอ็มอีเอ 4 รูปแบบได้แก่ 1. เอ็มอีเอมาตรฐานที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนคาร์บอนทางการค้า (ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก) ทั้งด้านแอโนดและแคโทด 2. เอ็มอีเอที่ด้านแอโนดเพิ่มชั้นของเฮเทอโรพอลิแอซิดบนคาร์บอนเป็นชั้นกรองคาร์บอนมอนอกไซด์ 3. เอ็มอีเอที่ด้านแอโนดใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนคาร์บอนทางการค้าที่ผ่านการดัดแปรด้วยเฮเทอโรพอลิแอซิด และ 4. เอ็มอีเอที่ด้านแอโนดใช้ทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผ่านการดัดแปรด้วยเฮเทอโรพอลิแอซิดและเพิ่มชั้นกรองที่ส่งผลต่อสมรรถนะและความทนคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ปนเปื้อนในแก๊สไฮโดรเจน การวิเคราะห์เชิงเคมีไฟฟ้าพบว่าเมื่อใช้ไฮโดรเจนบริสุทธิ์ เอ็มอีเอที่ด้านแอโนดใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนคาร์บอนทางการค้าที่ผ่านการดัดแปรด้วยฟอสโฟทังสติกแอซิดร้อยละ 40 โดยน้ำหนักมีสมรรถนะสูงที่สุด (ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 369.87 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตรที่ 0.6 โวลต์และปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากับ 0.15 มิลลิกรัมแพลทินัมต่อตารางเซนติเมตร) แต่ในภาวะที่ใช้ไฮโดรเจนที่ปนเปื้อนคาร์บอนมอนอกไซด์ 100 พีพีเอ็มพบว่าเอ็มอีเอที่ด้านแอโนดใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนคาร์บอนทางการค้าที่ผ่านการดัดแปรด้วยฟอสโฟโมลิบดิกแอซิดร้อยละ 40 โดยน้ำหนักมีความทนคาร์บอนมอนอกไซด์สูงที่สุด (อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นกระแสเมื่อมีต่อไม่มีการปนเปื้อนด้วยคาร์บอนมอนอกไซด์ 100 ส่วนในล้านส่วน เท่ากับ 0.583 ที่ 0.6 โวลต์) ซึ่งสอดคล้องกับผลจากไซคลิกโวแทมเมทรีคือให้ผลทั้งพื้นที่ในการคายซับคาร์บอนมอนอกไซด์และความต่างศักย์เริ่มต้นในการออกซิไดซ์น้อยที่สุด ดังนั้นการดัดแปรตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมบนคาร์บอนทางการค้าสามารถช่วยออกซิไดซ์คาร์บอนมอนอกไซด์ได้ ส่วนการศึกษาผลของความเข้มข้นฟอสโฟโมลิบดิกแอซิดที่ใช้ดัดแปรตัวเร่งปฏิกิริยาแพลทินัมทางการค้าพบว่าเมื่อความเข้มข้นของฟอสโฟโมลิบดิกแอซิดเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 20-40 โดยน้ำหนัก เซลล์เชื้อเพลิงมีความทนคาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มขึ้นเช่นกันen_US
dc.description.abstractalternativeThis research studied 4 different patterns of membrane electrode assembly (MEA) for performance and carbon monoxide (CO) tolerance: 1. Standard MEA that used commercial platinum/carbon catalyst (Pt/C, 20%wt) for both anode and cathode, 2. MEA with a layer of heteropoly acid/carbon as a CO-filtering layer on the anode, 3. MEA that used commercial Pt/C modified with a heteropoly acid on the anode and 4. MEA that used both the heteropoly acid-modified commercial Pt/C and the CO-filtering layer. According to electrochemical analysis, the MEA that used commercial Pt/C modified with 40%wt phosphotungstic acid gave the highest performance (current density of 369.87 mA/cm2 at 0.6 V and 0.15 mgPt/cm2 as catalyst loading) under pure hydrogen condition. However, the MEA that used commercial Pt/C modified with 40%wt phosphomolybdic acid gave the highest CO-tolerance (current density ratio under 100 ppm CO contamination to pure hydrogen stream of 0.583 at 0.6 V). That was consistent with the results obtained from CO stripping voltametry as the MEA that used commercial Pt/C modified with phosphotungstic acid gave the lowest CO-desorptive electrochemical surface area (ESA) and the smallest onset potential for CO oxidation. Therefore, it was concluded that the modification of Pt catalyst with polymolybdic acid can help oxidize CO. Moreover, the larger the concentration of polymolybdic acid in the range of 20-40 %wt, the higher the CO tolerance was obtained.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1691-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเซลล์เชื้อเพลิงen_US
dc.subjectเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอนen_US
dc.subjectFuel cellsen_US
dc.subjectProton exchange membrane fuel cellsen_US
dc.titleการเตรียมเอ็มอีเอที่ทนคาร์บอนมอนอกไซด์โดยใช้เฮเทอโรพอลิแอซิดเป็นตัวออกซิไดซ์ในเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็มen_US
dc.title.alternativePreparation of carbon monoxide-tolerant mea using heteropoly acid as oxidizing agent in PEM fuel cellen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKunakorn.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1691-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thantakorn_ni.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.