Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5188
Title: ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Determinant of Bangkokkian's demand for domestic tourism
Authors: ณัฐกานต์ โรจนุตมะ
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
Subjects: อุปสงค์
การท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศ และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร ในการศึกษาปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศนี้ ได้แยกวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวในระยะเวลาต่างๆ โดยใช้ข้อมูลภาคตัดขวางจากแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานครจำนวน 372 คนในปี พ.ศ. 2541 แล้วใช้แบบจำลองโลจิตและแบบจำลองการถดถอยในการวิเคราะห์ จากผลการศึกษาโดยแบบจำลองโลจิต (Logit Model) พบว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศ ของชาวกรุงเทพมหานครคือ รายได้ของครอบครัวนักท่องเที่ยวและรูปแบบการเดินทาง โดยรายได้ของครอบครัวนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก กับอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวกรุงเทพมหานคร ส่วนรูปแบบการเดินทางที่มีบทบาทในการกำหนดอุปสงค์ดังกล่าวคือ รูปแบบการเดินทางด้วยตนเอง แต่เมื่อพิจารณาในกรอบเวลาที่ลดลง พบว่า ปัจจัยดังกล่าวมีความสำคัญลดลง และมีปัจจัยตัวอื่นๆ ที่มีผลกำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น คือ ฤดูกาลและขนาดของครอบครัว สำหรับตัวแปรอื่นๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ไม่มีอิทธิพลในการกำหนดอุปสงค์ดังกล่าว และจากแบบจำลองการถดถอย (Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานคร คือ ภูมิภาคที่นักท่องเที่ยวเดินทางไป และรายได้ของครอบครัวนักท่องเที่ยว โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก สำหรับอายุและอาชีพของนักท่องเที่ยว จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ สำหรับตัวแปรรายได้ของครอบครัวของนักท่องเที่ยว แม้จะไม่มีอิทธิพลในการกำหนดค่าใช้จ่าเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวมากนัก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับตัวแปรอื่นๆ พบว่า รายได้ของครอบครัวของนักท่องเที่ยวยังมีความสำคัญ ในการกำหนดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยนี้ในทิศทางบวก ส่วนตัวแปรอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะไม่มีความสำคัญ ในการกำหนดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในการวางนโยบายส่งเสริมอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวกรุงเทพมหานครได้ โดยอาศัยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มผู้มีรายได้ครอบครัวค่อนข้างสูง กลุ่มผู้มีอายุค่อนข้างมาก และกลุ่มข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
Other Abstract: To study determinants of demand for domestic tourism and average expenditure of tourists from Bangkok. The study separately analyzes demand for domestic tourism of Bangkokian in different timeframes by using logit model and regression model to analyze the cross section data from the survey. Three hundred seventy two Bangkokian tourists were sampled in 1998. The findings from a logit model show that the important factors influencing Bangkokian's demand for domestic tourism include household's income and pattern of travelling. Household's income wil directly affect the demand for domestic tourism in positive relationship whereas the own arrangement is the most popular and significant pattern of travelling. The study on determinants of demand for domestic tourism in shorter timeframe show that these two factors become less significant while the season and the family size are more significant. The others factors, such as gender, age, education, and occupation do not have any significant effects on this demand.The findings from a regression model show that the important factors determining average expenditure of Bagnkokian tourists include the destination and household's income that affect the average expenditure in positive relationship. And the factors that affect average expenditure in negative relationship are age and sex. Even the household's income does not have an highly significant effect on the average expenditure as expected, it is still more significant than age and gender. The other factors are considered insignificant. This study could be helpful in formulation of a plan to boost domestic demand and average expenditure of Bangkokian tourists. The results of the study suggest that the target should include the high average household income group, the senior group, and the bureaucrat or public enterprise group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5188
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.386
ISBN: 9743327711
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.386
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuttakarn.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.