Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorณัฏยา เพชรติ่ง, 2520--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-26T05:28:55Z-
dc.date.available2006-06-26T05:28:55Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745313009-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/519-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เกี่ยวกับสมรรถภาพที่จำเป็นต้องมีของอาจารย์ในสาขาสังคมศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความเหมาะสมในการกำหนดสมรรถภาพอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3) เพื่อนำเสนอสมรรถภาพอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ ที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต หรือ ใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในการเรียนการสอน ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 88 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์สาขาสังคมศาสตร์มีความเห็นว่าความรู้ทางภาษาอังกฤษ โปรแกรม MS Word ความรู้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการหาความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการเห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสมรรถภาพที่จำเป็นมากที่สุด 2. ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่าสมรรถภาพระดับพื้นฐานประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ 23 รายการ 2) ด้านทักษะปฏิบัติ 27 ข้อ 3) ด้านเจตคติ 12 ข้อ และสมรรถภาพระดับเชี่ยวชาญมีดังนี้ 1) ด้านความรู้ 43 ข้อ 2) ด้านทักษะปฏิบัติ 48 ข้อ 3) ด้านเจตคติ 12 ข้อ 3. สมรรถภาพระดับพื้นฐาน ได้แก่ ความรู้และทักษะทางภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ ความรู้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกวิธี ทักษะในการใช้สือ Multimedia ทักษะในการใช้คอมพิวเอตณืมาใช้ในการนำเสนอผลงาน/บรรยาย เห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความมั่นใจในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน พึงพอใจเมื่อได้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำมาใช้รวมทั้งลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มีความตระหนักถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ขัดต่อหลักศีลโรรมและกฎหมาย สมรรถภาพระดับเชี่ยวชาญที่แตกต่างจากระดับพื้นฐาน ได้แก่ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ Windows ความรู้และทักษะเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ Floppy Disk/CD-ROM ความรู้และทักษะการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการดูแลรักษา การปรับแก้คอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม MS Word, MS Wxcel, MS PowerPoint ความรู้และทักษะในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ความรู้และทักษะในการใช้ E-Mail ทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ความรู้และทักษะในการใช้โปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่าย ความรู้ในการติดต่อสื่อสารทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ความรู้เกี่ยวกับข่าวสารทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ความรู้ในการประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ความรู้ในการผลิตหลักสูตรโดยนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอน ทักษะในการเลือกใช้ซอฟต์แวรืได้เหมาะกับการเรียนการสอน ทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน ทักษะในการหาความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับเนื้อหาวิชาที่สอนได้ เห็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนใจติดจามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง อย่างสม่ำเสมอ สนในพัฒนาความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนคอมพิวเตอร์ มุ่งมั่นในการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน เคารพกฎเกณฑ์และรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ พยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องการสร้างสื่อการสอนใหม่ ๆen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the opinions of the higher education instructors in state institutions concerning desired competencies of social science instructors in using information and communications technology 2) to study the specialists opinions concerning the competencies of social science instructors in using information and communications technology 3) to propose the competencies of social science higher education instructors in using information and communications technology in state institutions. The samples consisted of 88 social science instructors, 21 specialists and 5 experts. The researcher collected the data by questionnaire, analyzed, and presented in term of the Percentage, Means and the Standard Deviation. The results of this research indicated that : 1. The social science instructors agreed that the knowledge in English language, MS Word, information search via network; be aware in technology usefulness to support the lifelong learning were most needed competencies. 2. The specialists indicated that the standard competency comprised of 23 knowledge competencies, 27 skill competencies, and 12 attitude competencies. The advance competencies comprised of 43 knowledge competencies, 48 skill competencies, and 12 attitude competencies. 3. The desired competencies are : 3.1 The standard competency : knowledge and skill in Thai language, internet search, computer utilization, multimedia programmed skill, make a presentation by computer, be aware of the technology usefulness to support lifelong learning, confidence in teaching with computer and technology, satisfy when working with computers, be responsible for data used and copyright, and follow computer and technology ethics. 3.2 The advance competency includes the standard competency and the following : knowledge and skills in computer terms, computer utilization and operating system; hardwares ; floppy disk/ CD-Rom; computer peripherals ; computer maintenance and repair ; MS Word, MS Excel, MS PowerPoint ; internet connection ; e-mail, information and knowledge search via internet ; communication software program ; knowledge in technology information; technology application in instruction and activities ; curriculum design using ICT, skills in selecting software for instruction ; technology application in curriculum and content ; catch up with progress of technologies ; concern in developing knowledge and skills in computer ; be eager to use computer in instruction ; and follow computer rules and copyrights.en
dc.format.extent1371007 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.157-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศen
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาen
dc.titleสมรรถภาพที่พึงประสงค์ของอาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐen
dc.title.alternativeDesired competencies of social science instructors in using information and communications technology in state institutions of higher educationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.157-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattaya.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.