Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิดา รักษ์พลเมือง-
dc.contributor.authorณิชา ฉิมทองดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-01T07:15:55Z-
dc.date.available2017-03-01T07:15:55Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52097-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสำนึกสากลของเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2)เสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมสำนึกสากลของเยาวชน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบ ถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนจำนวน 2,124 คน จัดการสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวม เยาวชนมีคะแนนสำนึกสากลอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนด้านการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ การใส่ใจต่อประเด็นปัญหาโลก การพึ่งพาอาศัยและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการเป็นสมาชิกพลโลก ตามลำดับ 2) เยาวชนที่มีคะแนนสำนึกสากลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีภูมิหลังต่างกันในด้าน เพศ ระดับชั้น สถานที่ตั้งของโรงเรียนที่ศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสม การมีเพื่อนชาวต่างชาติหรือต่างวัฒนธรรม การติดตามข่าวสารต่างประเทศ การพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง การเรียนภาษาต่างประเทศ ความสามารถในการพูดภาษาถิ่น และการเข้าร่วมกิจกรรมกับชาวต่างชาติ 3) การจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับสำนึกสากลไว้ในหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดด้วยการคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ในด้านครูผู้สอน ควรส่งเสริมให้มีสำนึกสากลโดยบรรจุเนื้อหาสำนึกสากลไว้ในหลักสูตรวิชาชีพครูและจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมจัดการศึกษาและสนับสนุนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เอื้อต่อการมีสำนึกสากลให้มากขึ้นสื่อมวลชนควรรับผิดชอบต่อข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่ากระทรวงศึกษาธิการควรดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงวัฒนธรรม และสถาบันสังคมอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมสำนึกสากลของเยาวชนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to study global-mindedness of youth in Bangkok and 2) to propose educational guidelines for the promotion of youth global-mindedness. The researcher employed survey research methodology using questionnaire to collect data from 2,124 high school students. Focus group and expert interview were also conducted. Findings were as follows: 1) In general, global-mindedness scores of the youth were high. Aspects which received highest scores were acceptance of different cultures, concern of the world’s problems, living peacefully with others, and being world citizenship, respectively. 2) There were significant statistical differences at 0.05 level among youth with different sex, school level, school location, grade average as well as having foreign friends, interesting in foreign news, participating in political issue discussion, studying foreign language, speaking local dialect, and taking part in international activities. 3) It was recommended that global-mindedness should be included in the content of the core and the school-based curriculum at basic education level. The learning process of this issue should be integrated in every core subject groups, especially Social Studies, Religion and Culture. The learning activity should enhance thinking process, especially analytical thinking, critical thinking, and problem-solving thinking. There should be requirement for teachers to study about global-mindedness in pre-service curriculum and attend professional training continuously. Parents should participate more in school activities relating to global-mindedness. Mass media should be more responsible for reported information. Ministry of Education should work closely with Ministry of Social Development and Human Security and Ministry of culture as well as other social institutions in providing education to promote youth global-mindedness.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.143-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสร้างจิตสำนึกen_US
dc.subjectเยาวชนen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐาน -- หลักสูตรen_US
dc.subjectConscientizationen_US
dc.subjectYouthen_US
dc.subjectBasic education -- Curriculaen_US
dc.titleแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมสำนึกสากลของเยาวชนen_US
dc.title.alternativeEducational provision guidelines for the promotion of youth global-mindednessen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.143-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nicha_ch_front.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
nicha_ch_ch1.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
nicha_ch_ch2.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open
nicha_ch_ch3.pdf714.61 kBAdobe PDFView/Open
nicha_ch_ch4.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open
nicha_ch_ch5.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
nicha_ch_back.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.