Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/520
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง | - |
dc.contributor.author | ธนพล อเนกสิทธิสิน, 2523- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-26T05:37:05Z | - |
dc.date.available | 2006-06-26T05:37:05Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745314919 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/520 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเจ็บป่วย ของนักเรียน ของครูผู้สอนและเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเจ็บป่วย และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเจ็บป่วย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน 15 คน ครูผู้สอน 5 คน และเจ้าหน้าที่ 5 คน จากโรงพยาบาลที่จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กเจ็บป่วย 5 แห่ง ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามเทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพ ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการจัดศูนย์การเรียนในโรงพยาบาล พบว่ามี การจัดกิจกรรมตามหลักสูตร จัดกิจกรรมศิลปะ การเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและโปรแกรมเสริมทักษะ การเล่มเกมคอมพิวเตอร์ การดูวีดิทัศน์ สื่อการสอนที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ เอกสารตำราและแบบฝึกหัด คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โทรทัศน์และวีดิทัศน์ การจัดพื้นที่ภายในศูนย์การเรียน มีการจัดพื้นที่ตามขนาดของห้อง แต่ละแห่งขาดแนวทางในการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมขึ้นอยู่กับความสามารถและความถนัดของครูผู้สอน สื่อการสอนที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเกมคอมพิวเตอร์ 2. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับรูปแบบศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเจ็บป่วย จากข้อคำถาม 185 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน จำนวน 140 ข้อ 3. รูปแบบศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเจ็บป่วย ประกอบด้วย 1) การจัดกิจกรรมต้องคำนึงถึงความพร้อมและจำนวนเด็ก จัดกิจกรรมตามเนื้อหาช่วงชั้นและระดับความรู้ของเด็ก มีกิจกรรมเสริมทักษะด้านร่างกายและจิตใจ 2) กิจกรรมกลุ่ม ควรจัดแบบศูนย์การเรียนและสอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กิจกรรมเสริมประกอบด้วย กิจกรรมศิลปะ เล่มเกม เล่านิทาน ดูวิดีโอ งานฝีมือและกิจกรรมดนตรี ถ้านักเรียนแตกต่างกันให้จัดแบบร่วมมือ 3) กิจกรรมรายบุคคล เน้นการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กิจกรรมเสริมประกอบด้วย กิจกรรมกิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเล่นเกมตามความสนใจ กิจกรรมเสริมร่างกาย 4) ประเภทของสื่อ : สื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย แบบเรียนและแบบฝึกหัด หนังสือพิมพ์ การ์ตูน นิทาน วารสารสำหรับเด็ก วิธีการใช้ให้ครูจัดทำเป็นเอกสารขนาดย่อ สื่อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เกมคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิธีเล่นเกมคอมพิวเตอร์ 45 นาที โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ควรมี เช่น MS-WORD โปรแกรมฝึกเชาวน์ปัญญา วัสดุและอุปกรณ์ควรมีวีดิทัศน์ประเภทสารคดี การ์ตูน ตลก เด็ก และผจญภัย เทปเสียง ซีดีเพลง และ 5) การจัดพื้นที่ในศูนย์การเรียนรู้ ต้องจัดวางผังตามขนาดของห้อง จัดพื้นที่สำหรับกิจกรรม โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเคลื่อนย้ายได้ง่าย จัดพื้นที่สำหรับรายบุคคลแยกเป็นชุด ๆ แยกพื้นที่สำหรับสื่อคอมพิวเตอร์และพื้นที่จัดมุมความรู้ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the state, problems and needs of students, teachers and staffs concerning learning center in hospitals for the ailing children. 2) to study experts' opinions concerning a learning center model in hospitals for ailing children, and 3) to propose a learning center model in hospitals for ailing children. The samples comprised of 15 ailing students, five teachers and five official staffs from five hospitals and 20 experts. The data were collected by structured interview and three-round Delphi technique questionnaires. The percentage, median and interquartile range were used to analyze the data. The results were as follows : 1. Most students, teachers and official staffs informed that a learning center provided activities based on curriculum ; provided art activities, computer-assisted instruction, computer games and VCD. Most media available were text books and exercises, microcomputers, and television monitors. The arrangement of all media was based on size of the room but there was no systematic management in each room. Activities were set up depend on the competence and expertise of each teacher. The most needed medium was computer. 2. The 140 statements from 185 statements of specialists final consensus were considered for the model of learning center in hospitals. 3. The model consisted of 1) the activities for ailing children : based on numbers and readiness of children, their knowledge and skills, educational level and should include physical and emotional activities. 2) The group activities : follow the learning center format, teaching computer and additional activities in art, games, tales, VCD, handicraft and music ; cooperative activities for different students are suggested, 3) The individual activities : learning with computer and additional activities in art, leisure games and exercise, 4) The media : include printed media: text books and exercises, newspapers, cartoons and youth magazines; computer media ; computer games with 45 minute use, computer software : MS-word, intelligent practice program; VCD : documentary, cartoon, humorous, adventure and song ; and cassette tapes, 5) The arrangement of the learning center : design according to the room size, activity area available using movable tables and chairs, provide individual study area and separate area for computer media and learning corners. | en |
dc.format.extent | 5024071 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.326 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศูนย์การเรียน | en |
dc.subject | ผู้ป่วย--การศึกษา | en |
dc.title | การนำเสนอรูปแบบศูนย์การเรียนในโรงพยาบาลสำหรับเด็กเจ็บป่วย | en |
dc.title.alternative | A proposed model of learning center in hospital for ailing children | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Onjaree.N@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.326 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanaphon.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.