Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52126
Title: Association between arsenic exposure and diabetes in Ronpiboon District Nakhon Si Thammarat Thailand : case control research
Other Titles: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสัมผัสสารหนูกับการเกิดโรคเบาหวานในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย: การศึกษาแบบเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม
Authors: Kwanyuen Sripaoraya
Advisors: Chapman, Robert S.
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: robert.s@chula.ac.th,rschap0421@gmail.com
Subjects: Arsenic -- Thailand -- Nakhon Si Thammarat
Diabetes -- Thailand -- Nakhon Si Thammarat
สารหนู -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
เบาหวาน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: Diabetes mellitus (DM) is a chronic metabolic disease resulting from diminished insulin production by pancreas (type 1) or the ineffective use of insulin by the body (type 2). Known risk factors for DM, especially DM type2, include older age, obesity; unbalanced diet, physical inactivity, stress, family history, and genetic polymorphisms. Chronic arsenic exposure at high level was considered as additional DM risk factors, but inconclusive epidemiological results still exist. Contamination of arsenic in environment had been found since 1987 in Ronphiboon district, Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. The increased rates of DM patients in that area also led us to the investigation of DM risk factors, to add more information for DM risk mitigation. Thus, this study focused on investigation of determinants of DM type2 risk among residents of 3 Moo Ban (villages) of Ronphiboon sub-district, Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Methods: This unmatched and matched case-control studies aimed to compare the socioeconomic as well as low dose arsenic exposure patterns between villagers with DM Type 2 (Cases, N=185) and those who had not been diagnosed with DM (controls, N=200 for unmatched; N=185 for matched). The data used were based on previous community-based studies in 2000 and 2008. The technique of Multiple Imputation (MI), with the Predictive Mean Matching (PMM, an imputation method used to prevent negative value after MI) was used to impute missing values for independent variables. The stepwise modelling was constructed to investigate the influence of socio-economic background and arsenic-related independent variables on DM risk. For fully imputed two data set of cases-unmatched controls and cases-matched controls, multiple logistic regression and conditional logistic (cox model) were respectively used to assess associations. Results: BMI (p=<0.001, 0.007), age (p=0.003, unmatched), and history of sibling illness (p=0.021, 0.031), drinking (p=0.002, matched) were statistically significantly associated with increased risk of DM type 2, whereas having motorcar (representing better economic status, p= 0.020, 0.010), exercise (p=0.051, 0.027) were associated with lower DM type2 risk in the unmatched and matched case-control, respectively. We did not observe convincing association of water arsenic concentration with diabetes risk in both unmatched and matched controls studies. Conclusions: Our findings on sociodemographic information of both unmatched and matched case control studies, confirm that older age, BMI, having history of illness in siblings were the determinants for increased DM type2, whereas having better economic status, exercise were associated with lower DM type2 risk in this area. Our analysis suggested no association between water arsenic concentration and DM type2 risk, though a limit inconsistent association was identified for the use evidence of rain water year 2008. Further research is needed on this topic.
Other Abstract: ความเป็นมา: เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลง (เบาหวานชนิดที่๑) หรือเกิดจากร่างกายใช้อินซูลินได้ไม่เต็มที่ (เบาหวานชนิดที่ ๒) ปัจจัยเสี่ยงการเกิดเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ ๒ ที่รู้จักกันดีได้แก่ การมีอายุมาก เป็นโรคอ้วน ลงพุง รับประทานอาหารไม่สมดุลย์ ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียด บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ และลักษณะทางพันธุกรรม การได้รับสัมผัสสารหนูในปริมาณสูงถูกจัดเพิ่มให้เป็นปัจจัยเสี่ยงเบาหวานชนิดที่สอง แต่ผลการศึกษาทางระบาดวิทยากรณีความสัมพันธ์การได้รับสารหนูระดับปานกลางหรือต่ำกับการเกิดเบาหวานยังไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากยังมีผลขัดแย้งกันอยู่ พบปัญหาการปนเปื้อนสารหนูที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศร๊ธรรมราช ประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อัตราการเกิดเบาหวานของประชากรที่อาศัยในพื้นที่นี้ที่สูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาหาปัจจัยเสื่ยงการเกิดโรคนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ลดความเสี่ยงต่อไป โดยการศึกษานี้เน้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการได้รับสัมผัสสารหนูกับการเกิดเบาหวานในกลุ่มประชากรที่อาศัยในพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่ ๒ หมู่ ๑๒ และหมู่ ๑๓ ของตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย วิธีการวิจัย: เป็นการออกแบบการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนการได้รับสัมผัสสารหนูในระดับต่ำระหว่างกลุ่มศึกษาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานจำนวน ๑๘๕ ราย และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เป็นเบาหวานชนิดนี้ จำนวน ๒๐๐ ราย (กรณีจับคู่แบบไม่ควบคุม) และจำนวน ๑๘๕ ราย (กรณีจับคู่แบบควบคุม ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาที่ได้ดำเนินการก่อนหน้านั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๑ และเนื่องจากตัวแปรอิสระที่จำเป็นต้องใช้วิเคราะห์มีข้อมูลไม่สมบูรณ์ มีบางส่วนขาดหายไป รวมทั้งลักษณะการกระจายตัวของข้อมูลจากการตรวจวัด ไม่ได้มีการกระจายแบบปกติ จึงใช้เทคนิคทางสถิติในโปรแกรม เอส พี เอส เอส คือ มัลติเพิล อิมพิวเตชั่น และเลือกใช้วิธีการที่เรียกว่า พรีดิกทีพ มีน แม็ทชิ่งเพื่อจัดการกับค่าที่เป็บลบหลังการคำนวณ ได้มีการสร้างโมเดลการคำนวณเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรอิสระได้แก่ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งปัจจัยการที่เกี่ยวกับสารหนู กับความเสี่ยงการเกิดเบาหวาน อย่างเป็นลำดับขั้นตอน สำหรับข้อมูลชุดการจับคู่แบบไม่ควบคุมระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติคแบบไม่มีเงื่อนไข ส่วนกรณีที่มีการจับคู่ เพศ อายุ ระหว่างกลุ่มศึกษาและควบคุมใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติคแบบมีเงื่อนไข (รุ่นค็อกซ์) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สนใจ ผลการวิจัย ในทั้งสองกลุ่มศึกษา คือ แบบไม่จับคู่และแบบจับคู่ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมนั้น พบว่า ดัชนีมวลกาย (p=<0.001, 0.007) อายุ ((p=0.003 เฉพาะกลุ่มไม่จับคู่) ประวัติการเป็นเบาหวานของพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน (p=0.021, 0.031) การดื่มแอลกอฮอล์ (p=0.002,เฉพาะกลุ่มจับคู่) สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดเบาหวานชนิดที่ ๒ และยังพบอีกว่า การมีรถขับขี่ที่รวมถึงมอเตอร์ไซค์ อันเป็นตัวบ่งชี้ฐานะทางเศรษฐกิจประการหนึ่ง (p= 0.020, 0.010) การออกกำลังกาย (p=0.051, 0.027) สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการเกิดเบาหวาน และสังเกตไม่พบความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างระดับสารหนูในน้ำกับการเกิดเบาหวานในพื้นที่นี้จากผลการศึกษาในทั้งสองกลุ่มข้างต้น สรุปผลการวิจัย ผลจากการศึกษาในทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มการศึกษาจับคู่แบบไม่ควบคุม และกลุ่มจับคู่แบบควบคุมในครั้งนี้ ยืนยันว่า การมีอายุมาก มีดัชนีมวลกายสูง มีประวัติการเป็นเบาหวานของพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดเบาหวานชนิดที่สอง ในขณะที่การมีรถขับขี่ที่รวมถึงมอเตอร์ไซค์ อันเป็นตัวบ่งชี้ฐานะทางเศรษฐกิจ การออกกำลังกาย สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการเกิดเบาหวานในพื้นที่การศึกษานี้ แม้พบว่าการใช้น้ำฝนในปี ๒๕๕๑ มีความสัมพันธ์อย่างจำกัดกับการลดความเสี่ยงเบาหวาน แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้มข้นสารหนูในน้ำกับการเกิดเบาหวานชนิดที่สองในพื้นที่การศึกษาที่อำเภอร่อนพิบูลย์ในครั้งนี้ การศึกษาในบริบทที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ยังคงมีความสำคัญ คำสำคัญ การได้รับสัมผัสสารหนู เบาหวาน ประเทศไทย กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52126
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1823
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1823
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5379201653.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.