Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52128
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ | en_US |
dc.contributor.advisor | โชติกา ภาษีผล | en_US |
dc.contributor.author | จีรนันท์ แก้วมา | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:00:32Z | - |
dc.date.available | 2017-03-03T03:00:32Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52128 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โดยการสังเคราะห์องค์ประกอบความฉลาดทางสุขภาพ สร้างแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ตรวจสอบคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,056 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องจากการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนระหว่างแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับการประเมินสุขภาพกาย จิตและสังคม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และสร้างเกณฑ์ปกติโดยใช้ร้อยละ เปอร์เซ็นไทล์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบความฉลาดทางสุขภาพจากการทบทวนเอกสารสรุปได้ 4 องค์ประกอบ คือ การเข้าถึงข้อมูล ความรู้ การตัดสินใจ และการใช้ข้อมูล มีตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด 12 ตัวแปร และแบบวัดที่พัฒนาตามองค์ประกอบความฉลาดทางสุขภาพมีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบสถานการณ์จำนวน 15 สถานการณ์ รวมทั้งหมด 50 ข้อ คำตอบของแต่ละข้อมี 3 ตัวเลือก น้ำหนักคะแนน 1-3 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด พบว่า แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าความสอบคล้อง (IOC) ตั้งแต่ .50 ขึ้นไป แบบวัดมีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์กับสุขภาพกายและสังคม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .058 และ .164 ตามลำดับ ด้านความตรงเชิงโครงสร้างพบว่า โมเดลความฉลาดทางสุขภาพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไคสแควร์ = 50.068; องศาความเป็นอิสระ = 41; p = .156; CFI= .996; TLI= .993; RMSEA= .010; SRMR= .014) และแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .701 3) เกณฑ์ปกติของแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษาแบ่งเป็น 5 ระดับคือ ต่ำ ค่อนข้างต่ำ ปานกลาง ค่อนข้างสูง และสูง ผลการประเมินพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 มีความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.91 และ 22.17 ตามลำดับ ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.90 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to develop a Health Literacy test for primary school students. The procedures were to synthesize Health Literacy factors, to construct Health Literacy test for primary school students, to check the quality of the Health Literacy test and to construct norms for the test. The sample of the study consisted of 2,056 upper primary school students (grades 4-6) was drawn by multistage random sampling from the schools under the Office of the Basic Education Commission. The content validity was analyzed by using Item Objective Congruence (IOC). The Pearson product moment correlation was selected for analyzing the criterion related validities between the Health Literacy scores and the Health assessment scores: physical, mental and social health. The researcher used confirmatory factor analysis for detecting the construct validity and the Cronbach’s alpha coefficient was employed for analyzing the reliability of the test. For the norm of the Health Literacy test; percentage, mean, standard deviation, and percentile were used. The research findings were as follows: 1) The Health Literacy test consisted of 4 dimensions including Accessing, Learning, Decision Making and Utilizing. There were 12 observed variables. All 50 questions were composed of 15 situations and each question had 3 choices which scores weight ranged from 1-3. 2) The content validity of the test (IOC) was above .50. The Pearson product moment correlation coefficient between Health Literacy scores and physical and social health assessment were found .058 and .164 respectively. The measure of construct validity showed that the model was fit to the manifest data (chi-square= 50.068; df=41; p = .156; CFI= .996; TLI= .993; RMSEA= .010; SRMR= .014) and the reliability of the test was equal to .701. 3) The norm of a Health Literacy Test for primary school students was divided into 5 levels: poor, fairly poor, moderate, fairly high and high. The assessment indicated that the Health Literacy of most students in grades 4 and 6 were at the poor level (22.91% and 22.17% respectively) while the Health Literacy of grade 5 students was at the fairly poor level. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1225 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความรอบรู้ทางสุขภาพ | - |
dc.subject | เด็ก -- ไทย | - |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.subject | Health literacy | - |
dc.subject | Children -- Thailand | - |
dc.title | การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF A HEALTH LITERACY TEST FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | สุขศึกษาและพลศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Aimutcha.W@Chula.ac.th,aimutchaw@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Aimorn.J@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1225 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384210027.pdf | 9.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.