Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52147
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุลยพงศ์ วงศ์แสวงen_US
dc.contributor.authorธนวรรธน์ บุญอาษาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:01:05Z-
dc.date.available2017-03-03T03:01:05Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52147-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการลดความหนืดของน้ำมันปาล์มและน้ำมันหมูโดยการฉายรังสีอิเล็กตรอนพลังงานสูงโดยทำการศึกษา 4 ปัจจัยคือ ปัจจัยที่ 1 ชนิดของน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันหมู ปัจจัยที่ 2 ชนิดตัวทำละลายได้แก่ เอทานอลและน้ำมันดีเซล ปัจจัยที่ 3 สัดส่วนน้ำมันตัวอย่างกับตัวทำละลายที่ 1:3 1:1 และ 3:1 ปัจจัยที่ 4 ปริมาณรังสีที่ 1 กิโลเกรย์ 5 กิโลเกรย์ และ 10 กิโลเกรย์ที่ระดับพลังาน 8 MeV จากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูง ทำการศึกษาเปรียบเทียบค่าความหนืดก่อนและหลังฉายรังสีจากปัจจัยที่ศึกษา 4 ปัจจัย วิธีดำเนินงานวิจัยนำน้ำมันตัวอย่างมาผสมกับตัวทำละลายในสัดส่วนที่กำหนด จากนั้นนำไปฉายรังสีอิเล็กตรอนที่ปริมาณรังสีที่กำหนด ตรวจสอบผลการเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดของน้ำมันตัวอย่างก่อนและหลังทำการฉายรังสีอิเล็กตรอนพลังงานสูงตามมาตรฐาน ASTMD 445 ด้วยเครื่องวัดความหนืดของน้ำมัน จากผลการตรวจวัดความหนืดพบว่า การฉายรังสีอิเล็กตรอนพลังงานสูงมีผลต่อการลดความหนืดของน้ำมันตัวอย่าง และผลของปัจจัยที่ศึกษาเป็นดังนี้ปัจจัยที่ 1 ชนิดของน้ำมัน พบว่า กรณีไม่ผสมตัวทำละลายน้ำมันปาล์มจะมีค่าเปอร์เซ็นต์การลดลงมากที่สุดทั้ง 3 ปริมาณรังสี คือ 1 kGy เท่ากับ 0.49% , 5 kGy เท่ากับ 0.277 % และ 10 kGy เท่ากับ 0.22 %และกรณีผสมตัวทำละลายในสัดส่วนและนำไปฉายรังสีในปริมาณที่กำหนดพบว่าปริมาณรังสีที่ 5 kGy ของน้ำมันปาล์มผสมกับตัวทำละลายเอทานอลที่สัดส่วน 1:3 มีเปอร์เซ็นต์การลดลงของความหนืดมากทีสุดเท่ากับ 21.79% เมื่อเทียบกับน้ำมันหมูที่ผสมตัวทำละลายเอทานอลที่สัดส่วน 1:3 เช่นกัน รองลงมาคือที่ปริมาณรังสี 5 kGy ของน้ำมันปาล์มผสมกับน้ำมันดีเซลที่สัดส่วน 1:3 มีค่าเปอร์เซนต์การลดลงของความหนืดเท่ากับ 15.95% และปริมาณรังสีที่ 5 kGy ของน้ำมันปาล์มผสมกับสารละลายเอทานอล ที่สัดส่วน 1:1 มีค่าเปอร์เซ็นต์การลดลงของความหนืดเท่ากับ 13.20% ซึ่งปัจจัยที่ 2 ตัวทำละลายเอทานอลมีค่าเปอร์เซ็นต์การลดความหนืดมากกว่าน้ำมันดีเซล ปัจจัยที่ 3 สัดส่วนสารละลายที่ 1:3 ของสารละลายเอทานอลมีค่าเปอร์เซ็นต์การลดความหนืดมากที่สุด และปัจจัยที่ 4 ปริมาณรังสี ที่ 5 กิโลเกรย์มีค่าเปอร์เซ็นต์การลดความหนืดมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the process to reduce viscosity of palm oil and lard using high-energy electron beam. The following 4 factors were studied. The first one was oil type, which were palm oil and lard. The second one was solvent type, which were ethanol and diesel fuel. The third one was ratio of oil to solvent, which were 1:3, 1:1 and 3:1. The fourth one was radiation dose, which were 1, 5 and 10 kGy at 8 MeV from a high-energy electron beam accelerator. The viscosity before and after irradiation were measured and compared for each of the 4 factors studied. The research methodology was to mix oil with solvent at the specified ratio. The solution was irradiated with electron beam at the specified dose. The viscosity before and after irradiation were measured using a viscometer per ASTMD 445 standard. Results revealed that high-energy electron beam irradiation can reduce viscosity of oil samples. Effects of the studied parameters were as follows. For the first factor, without mixing with solvent, palm oil exhibited the highest viscosity reduction, which was 0.49% for 1 kGy, 0.277% for 5 kGy and 0.22% for 10 kGy. By mixing palm oil with ethanol at 1:3 ratio and irradiated at 5 kGy, the viscosity reduction was 21.79%. By mixing palm oil with diesel fuel at 1:3 ratio and irradiated at 5 kGy, the viscosity reduction was 15.95%. By mixing palm oil with ethanol at 1:1 ratio and irradiated at 5 kGy, the viscosity reduction was 13.20%. For the second factor, it was found that ethanol offered a higher viscosity reduction percentage than diesel fuel. For the third factor, it was found that the 1:3 ratio of ethanol solvent offered the highest viscosity reduction percentage. For the fourth factor, it was found that at 5 kGy, the viscosity reduction percentage was highest.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.500-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำมันปาล์ม-
dc.subjectเอทานอล-
dc.subjectPalm oil-
dc.subjectEthanol-
dc.titleการลดความหนืดของน้ำมันปาล์มและน้ำมันหมูโดยใช้ลำอิเล็กตรอนพลังงานสูงen_US
dc.title.alternativeA novel approach to reduce viscosity of palm oil and lard using high-energy electron beamen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDoonyapong.W@Chula.ac.th,Doonyapong.W@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.500-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570218921.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.