Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52159
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รุ้งระวี นาวีเจริญ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐวดี สุขไพเราะ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:01:18Z | - |
dc.date.available | 2017-03-03T03:01:18Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52159 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูกระหว่างก่อนและภายหลังการได้รับโปรแกรมการสอนแนะและเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูกระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูก ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิกกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการจับคู่ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะซึ่งได้นำแนวทางการสอนแนะของอีตันและจอห์นสันมาใช้ ในขณะที่กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการสอนแนะ แผนการสอนและคู่มือการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแลและแบบวัดความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูก ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยจนถึงเก็บรวบรวมข้อมูลสิ้นสุด 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูกในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2. ความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูกกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study employed a quasi-experimental design. It aimed to compare the ability of caregivers in taking care of patients with head and neck cancer with nasogastric tube feeding before and after receiving a coaching program and compare the ability between caregivers who received the coaching program and those who received conventional nursing care. The research sample comprised 60 caregivers of patients with head and neck cancer with nasogastric tube feeding at Bhumibol Adulyadej Hospital. Purposive sampling was used to separate the patients into the control and experiment groups – 30 participants in each. The groups were matched in terms of sex, age, relationship and education level. The experiment group received the coaching program. This program was based on the coaching model of Eaton and Johnson while the control group received the usual nursing care. Experimental tools included the coaching program, teaching plan and guidebook for caregivers. Data collection included a questionnaire on demographic information and the ability of the caregiver to take care of patients with head and neck cancer with nasogastric tube feeding. The duration of the study totaled 4 weeks. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The research findings were as follows: 1. The ability of caregivers to take care of patients after receiving the coaching program was significantly higher than that of the pre-intervention (p<0.05) 2. The ability of caregivers to take care of patients in the experimental group who had received the coaching program was significantly higher than the control group who had learnt through conventional nursing care (p<0.05) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.613 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มะเร็ง -- ผู้ป่วย | - |
dc.subject | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
dc.subject | Cancer -- Patients | - |
dc.subject | Care of the sick | - |
dc.title | ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทางจมูก | en_US |
dc.title.alternative | The effect of coaching program on caring ability of caregivers in head and neck cancer patients with nasogastric tube feeding | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Rungrawee.N@Chula.ac.th,Rungrawee.N@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.613 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577216936.pdf | 5.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.