Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52339
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโตen_US
dc.contributor.authorรุ่งแสง อุชชินen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:05:48Z-
dc.date.available2017-03-03T03:05:48Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52339-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0, 1.0, 1.0, 0.9, 0.8 และ 1.0 และมีค่าความสอดคล้องภายในจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .76, .73, .86, 79, 82 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =36.06, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.41) 2. การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =. 572 และ r =. 200) 3. การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และอายุสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้ร้อยละ 33.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this correlational predictive research were to study knee osteoarthritis preventive behaviors to examine correlation between age, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy and knee osteoarthritis preventive behaviors and to identify predictive factors of knee osteoarthritis preventive behaviors among professional nurses in tertiary hospitals in Bangkok metropolis. Simple random sampling was used to recruit 145 professional nurses. A set of questionaires were used to collect data, including personal characteristics, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, and knee osteoarthritis preventive behaviors questionaires. The questionaires were tested for their content validity by five experts. Their CVI were 1.0, 1.0, 1.0, 0.9, 0.8, and 1.0, respectively. Their Cronbach’ s alpha coefficients were .76, .73, .86, .79, .82 and, .70, respectively. Data were analyzed using Peason’s Product Moment Correlation and stepwise multiple regression. The results revealed that : 1. Knee osteoarthritis preventive behaviors of professional nurses in tertiary hospitals in Bangkok metropolis was at moderate level (Mean = 36.06, S.D. = 5.41). 2. Perceived self-efficacy and age were positively and significantly related to knee osteoarthritis preventive behaviors among professional nurses in tertiary hospitals in Bangkok metropolis (r = .200 and r = .572, p .05). 3. Perceived self-efficacy and age were significant predictors of knee osteoarthritis preventive behaviors among professional nurses in tertiary hospitals in Bangkok metropolis (p < .05). They explained 33.8 percent of variance in knee osteoarthritis preventive behaviors.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.590-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาล -- สุขภาพและอนามัย-
dc.subjectข้อเข่า -- โรค-
dc.subjectNurses -- Health and hygiene-
dc.subjectKnee -- Diseases-
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativePREDICTIVE FACTORS OF KNEE OSTEOARTHRITIS PREVENTIVE BEHAVIORS AMONG PROFESSIONAL NURSES IN TERTIARY HOSPITALS, BANGKOK METROPOLISen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRatsiri.T@chula.ac.th,ratsiri99@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.590-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777188136.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.