Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52379
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสีen_US
dc.contributor.authorมนัสสิริ อินทร์สวาทen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:06:43Z-
dc.date.available2017-03-03T03:06:43Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52379-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์เมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของการวินิจฉัยแบบสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์เมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 1 มีระดับความมั่นใจ 2 ระดับ ได้แก่ มั่นใจและไม่มั่นใจ และ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับแบบที่ 2 มีระดับความมั่นใจ 3 ระดับ ได้แก่ มั่นใจ ไม่แน่ใจและไม่มั่นใจ 2) แบบคิดออกเสียงสำหรับวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคราเมอร์วี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค และ ค่าสัมประสิทธิ์ซีของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์เมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน พบว่า 1.1) ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 1 มีระดับความมั่นใจ 2 ระดับ ประกอบด้วย มีผลการวินิจฉัย 8 ลักษณะ(มโนทัศน์ที่ถูกต้อง 1 ลักษณะ ความคลาดเคลื่อนของมโนทัศน์ 3 ลักษณะ การเดาคำตอบถูกต้อง 1 ลักษณะ และการขาดความรู้ 3 ลักษณะ) ผลการวินิจฉัยภาพรวม พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีมโนทัศน์ถูกต้อง นักเรียนที่มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน นักเรียนที่มีการเดาคำตอบถูกต้อง และนักเรียนที่ขาดความรู้ เท่ากับ 55.56%, 27.78%, 0.00% และ 33.33% ตามลำดับ 1.2) ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 2 มีระดับความมั่นใจ 3 ระดับ ประกอบด้วย มีผลการวินิจฉัย 12 ลักษณะ(มโนทัศน์ที่ถูกต้อง 1 ลักษณะ ความคลาดเคลื่อนของมโนทัศน์ 3 ลักษณะ การเดาคำตอบถูกต้อง 2 ลักษณะ และการขาดความรู้ 6 ลักษณะ) ผลการวินิจฉัยโดยภาพรวม พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีมโนทัศน์ถูกต้อง นักเรียนที่มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน นักเรียนที่มีการเดาคำตอบถูกต้อง และนักเรียนที่ขาดความรู้ เท่ากับ 63.89%, 13.89%, 2.78% และ 30.56% ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพในการวินิจฉัยของแบบสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์เมื่อใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้ 2.1) คุณภาพความเที่ยง มีค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 1 (α = .956) และ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 2 (α = .949) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของการวินิจฉัยโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับแต่ละฉบับเทียบกับเกณฑ์ภายนอก คือ การวินิจฉัยโดยใช้เทคนิคคิดออกเสียง มีช่วงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคราเมอร์วีของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 2 (ในช่วง .555 - .854) มีช่วงมากกว่า แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 1 (ในช่วง .516 - .777) 2.3) ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของความสัมพันธ์ระหว่างคำตอบของนักเรียนในระดับเนื้อหาและเหตุผล กับคำตอบในระดับความมั่นใจ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 1 (r = .717) และแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 2 (r = .745) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4) ร้อยละของผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนภาพรวมที่ตรงกันเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโดยใช้การคิดออกเสียง มีค่าร้อยละของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับของแบบที่ 1 (66.67%) และแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 2 (58.33%) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.5) สรุปคุณภาพโดยภาพรวม(พิจารณาความเที่ยงและความตรง) ของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 1 และแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบที่ 2 มีคุณภาพในการวินิจฉัยได้ไม่แตกต่างต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to develop three-tier diagnostic tests of mathematical misconception using different levels of confidence, and 2) to compare quality of the tests of mathematical misconception using different levels of confidence. The participants were 72 students of the 2015 academic year. The instruments used in the research were 1) three-tier diagnostic tests using two levels of confidence (sure and not sure) and three levels of confidence (sure, quite sure and not sure) and 2) the diagnostic test using Thinking Aloud method. The data were analyzed by using descriptive statistics, Cramer’s V coefficient, the Pearson product-moment correlation coefficient Cronbach's alpha coefficient for reliability and Fisher’s z coefficient. The research findings were as follows: 1) The results of the development of three-tier diagnostic test of mathematical misconception using different levels of confidence were as follows: 1.1) The development of three-tier diagnostic test using two levels of confidence has diagnosed 8 characteristics (correct response, misconception, lucky guess, and lack of knowledge were 1, 3, 1 and 3 characteristics respectively). The percentage of the students with correct response, misconception, lucky guess, and lack of knowledge were 55.56%, 27.78%, 0.00%, and 33.33% respectively; 1.2) The development of three-tier diagnostic test using three levels of confidence has diagnosed 12 characteristics (correct response, misconception, lucky guess, and lack of knowledge were 1, 3, 2 and 6 characteristics respectively). The percentage of the students with correct response, misconception, lucky guess, and lack of knowledge were 63.89% 13.89%, 2.78%, and 30.56% respectively. 2) The comparisons of quality of the tests were as follows: 2.1) The reliability of the former test (α = .956) and the latter test (α = .949) showed no significant differences at 0.5 level; 2.2) The criterion-related validity of the latter test compared with the diagnostic test using Thinking Aloud method (Cramer’s V value ranged from .555 to .854) was higher than the former test (Cramer’s V value ranged from .516 to .777); 2.3) The criterion-related validity of the correlation of relationship between content and reason answers and confidence answers of the former one (r = .717) and the latter test (r = .745) showed no significant differences at 0.5 level; 2.4) the average percentages of misconceptions of the former test compared with the diagnostic test using Thinking Aloud method test (66.67%) and the latter test (58.33%) showed no significant differences at 0.5 level; and 2.5) The reliability and validity of the former test and the latter test showed no differences.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.204-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน (คณิตศาสตร์)-
dc.subjectความคิดรวบยอด-
dc.subjectError analysis (Mathematics)-
dc.subjectConcepts-
dc.titleการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกันen_US
dc.title.alternativeA comparison of the quality of three-tier diagnostic test of mathematical misconception using different levels of confidenceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th,Sirichai.K@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.204-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783856627.pdf8.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.