Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5244
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงลักษณ์ โควาวิสารัช | - |
dc.contributor.author | นครินทร์ ตังคะพิภพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-03T10:32:54Z | - |
dc.date.available | 2008-01-03T10:32:54Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741748035 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5244 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและปรับปรุงการทำโมเสกภาพด้วยวิธี HECM/CM โดยนำเสนอวิธีการปรับปรุงการทำโมเสกภาพแนวระนาบ 3 ส่วนคือ การปรับปรุงวิธีการหาขอบและการกำหนดค่าขีดแบ่งเพื่อกำหนดความเป็นขอบ การปรับปรุงวิธีการเปรียบคู่และการกำหนดเกณฑ์การคัดออกด้วยเทคนิคการเปรียบคู่เชิงลำดับชั้น และการปรับปรุงการรวมภาพ โดยเน้นการปรับปรุงให้มีความถูกต้องมากขึ้นเป็นสำคัญ การปรับปรุงวิธีการหาขอบนั้นยังคงใช้วิธีการหาขอบด้วยวิธี Sobel แต่เปลี่ยนการกำหนดค่าขีดแบ่งเพื่อกำหนดความเป็นขอบใหม่โดยใช้ค่าขีดแบ่งที่ทำให้มีจำนวนจุดภาพที่เป็นขอบขึ้นอยู่กับแต่ละภาพโดยกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของจุดภาพทั้งหมด การปรับปรุงวิธีการเปรียบคู่และกำหนดเกณฑ์การคัดออกด้วยเทคนิคการเปรียบคู่เชิงลำดับชั้นนั้นได้เปลี่ยนการเปรียบคู่ขอบจากค่าเฉลี่ย r.m.s. ของระยะทางแบบ 3-4 เป็นใช้ค่าดัชนีความคล้ายแทน โดยใช้การเปรียบคู่ขอบควบคู่ไปกับการเปรียบคู่สีด้วยอินเตอร์เซกชันของฮิสโทแกรมสีในทุกลำดับชั้นของการจัดเรียงภาพ และการปรับปรุงการรวมภาพใช้การประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้นคู่มาใช้กำหนดค่าน้ำหนักในการรวมสีของภาพสองภาพ และใช้ในโมเดลสี RGB แทนโมเดลสี HSV งานวิจัยนี้ได้ทดสอบกับชุดภาพนำเข้า 3 ประเภท คือภาพจากการตัดส่วนจากภาพขนาดใหญ่ ภาพจากการสแกนด้วยเครื่องสแกนเนอร์และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัลและทำการประเมินผลการทำโมเสกภาพเป็นสองแบบ คือประเมินความถูกต้องของตำแหน่งการจัดเรียงภาพ และประเมินความถูกต้องของการรวมภาพ ผลการทดลองกับชุดภาพ 80 ชุดภาพ สรุปได้ว่าทั้งในด้านตำแหน่งของการจัดเรียงภาพและการรวมภาพนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้มีความถูกต้องมากกว่าวิธี HECM/CM | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research are to study and to improve an image mosaicing with Hierarchical Edge-Color Matching and Chamfer Matching methods (HECM/CM). The improvements are composed of three parts which are the improvement of edge detection and edge thresholding, the improvement of matching method and rejection criteria of hierarchical matching technique, and the improvement of blending method. A prime objective is to improve a correctness of image mosaicing. For the improvement of edge detection, this research still uses Sobel edge detector. However, thresholding of edge value is re-defined to a value that sets edge pixels to 10% of total pixels in an image. For the improvement of matching method and rejection criteria of hierarchical matching technique, this research changes edge matching method from an average of root mean square of edge's 3-4 distance to a similarity index measure. While color matching measure is still color histogram intersection. Both of the edge matching and color matching are applied to all hierarchies. For the improvement of blending method, a bilinear interpolation is utilized to compute color blending weights between two images; moreover, RGB color model is also used in place of HSV color model. The proposed method have been tested with three types of image sets that are image sets from portions of one large image, image sets from a scanner and image sets from a digital camera. This research uses two evaluation aspects that are a correctness of image alignment and a correctness of image blending. Experimental results of eighty image sets show that both of the correctness of image alignment and the correctness of image blending are better than the results from HECM/CM method. | en |
dc.format.extent | 9610335 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การทำโมเสกภาพ | en |
dc.subject | การประมวลผลภาพ -- เทคนิคดิจิตอล | en |
dc.subject | ฮีสโตแกรม | en |
dc.title | การปรับปรุงวิธีจัดเรียงภาพโมเสกแนวระนาบอย่างอัตโนมัติโดยใช้ลักษณะเด่นทางด้านสีและขอบ | en |
dc.title.alternative | An improvement of automatic alignment of planar mosaic image by using color and edge features | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | nongluk.c@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nakharin.pdf | 9.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.