Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5246
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยใช้เกมเป็นสื่อต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน
Other Titles: The effect of nutritional promoting program using game on food consumption behavior of school age children
Authors: พัชรี ประไพพิณ
Advisors: ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เด็ก -- โภชนาการ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนปัจจุบันนี้ก่อให้เกิดปัญหาโภชนาการที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพอย่างมาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยใช้เกมเป็นสื่อต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยเรียน อายุ 7-9 ปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 60 คน 2 โรงเรียน จัดกลุ่มด้วยการจับสลากนักเรียน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จัดเข้าคู่กันตามเพศ อายุ และระดับชั้นเรียน จำนวน กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยใช้เกมเป็นสื่อ กลุ่มควบคุมมีการดำเนินชีวิตตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยใช้เกมเป็นสื่อ พัฒนาโปรแกรมจากแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของ Orem การนำระบบสนับสนุนทางการพยาบาลมาใช้ในการส่งเสริมโภชนาการเด็กเล็กของ Arndt and Omar-Horodynski (2004) การมีส่วนร่วมของครอบครัว การให้ความรู้ทางสุขภาพ โภชนศึกษาและทฤษฎีการเล่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาจากแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ของ กัลยา ศรีมหันต์ (2541) ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน และหาค่าความเที่ยงด้วยการหาความสอดคล้องภายในตามวิธี Chronbach's alpha coefficient ได้ค่า .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารถูกหลักโภชนาการของเด็กวัยเรียนหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยใช้เกมเป็นสื่อดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารถูกหลักโภชนาการของเด็กวัยเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการโดยใช้เกมเป็นสื่อดีกว่าเด็กวัยเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลด้านโภชนาการจาก ครอบครัวตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of nutritional promoting program using game on food consumption behavior of school-age children. The sample consisted of 60 school-age children in Phitsanuloke province. Participants were random assigned into an experimental group and a control group. The groups were similar in grade, age and sex. The experimental group receiving the nutritional promoting program using game, while the control group had a normal life. The research instrument was the nutritional promoting program using game developed based on Orem's theory, nutritional promoting program using supportive nursing system (Arndt and Omar-Horodynski, 2004), family participation, health and nutrition education, and play theory. The collecting data instrument was food consumption behavior of school-age children interview format, modified from Srimahan (1998) and Prager (1999), reviewed content validity by 7 experts. The reliability using Cronbach's Alpha was .80. Data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, Paired t-test, and Independent t-test. Results were as follows: 1. Food consumption behavior of school age children receiving the nutritional promoting program using game at posttest was significantly better than that of pretest at the .01 level. 2. Food consumption behavior of school-age children in the experimental group receiving the nutritional promoting program using game at posttest was significantly better than that of the control group at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5246
ISBN: 9741424566
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.