Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52499
Title: | คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟัน |
Other Titles: | Oral health-related quality of life in cleft lip and palate patients before and after alveolar bone grafting |
Authors: | ภานิณี ลีกำเนิดไทย |
Advisors: | อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ปากแหว่ง -- ผู้ป่วย เพดานโหว่ -- ผู้ป่วย การย้ายปลูกกระดูก คุณภาพชีวิต Cleft Lip -- Patients Cleft Palate -- Patients Bone-grafting Quality of Life |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟันโดยใช้ดัชนี Child-OIDP และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากที่เกิดจากการมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่กับปัญหาอื่นในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่มีอายุในช่วง 9 – 12 ปี ที่มาเข้ารับการผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 21 คน มีอายุเฉลี่ย 10.38 ± 0.92 ปี การเก็บข้อมูลทำโดยใช้ดัชนี Child-OIDP ทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ในช่วงก่อนผ่าตัดและ 3 เดือนหลังผ่าตัด ผลการศึกษา ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มีคะแนนรวม Child-OIDP และคะแนนปัญหาแบบเจาะจงสภาวะช่องปากที่เป็นสาเหตุ (Condition-Specific Child-OIDP score: CS-COIDP score) ที่เกิดจากปากแหว่งเพดานโหว่ลดลงจากก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .003 และพบว่าช่วงก่อนผ่าตัดมีคะแนน CS-COIDP ที่เกิดจากปากแหว่งเพดานโหว่สูงกว่าคะแนน CS-COIDP ที่เกิดจากปัญหาอื่นในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .009 สรุป การผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟันสามารถช่วยทำให้คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ดีขึ้น โดยเฉพาะในหัวข้อการรับประทานอาหาร และการพูด |
Other Abstract: | Objective To investigate the Oral Health-Related Quality of Life (OHRQoL) in cleft lip and palate (CLP) patients before and after secondary alveolar cleft bone grafting (SABG) and to compare the effects of CLP-related and non-CLP-related problems on the OHRQoL. Material and Method This study consisted of 21 patients (9 -12 years of age, mean age = 10.38 ± 0.92 years). The CLP patients were individually interviewed prior to surgery and 3 months post SABG. The OHRQoL was assessed using the Child Oral Impacts on Daily Performances (Child-OIDP) questionnaire. Result After SABG, there were significant decreases in the overall Child-OIDP scores (p = .003) and in the Condition-Specific Child-OIDP (CS-COIDP) scores in the CLP-related group (p = .003). Preoperatively, the CLP-related scores were significantly higher than the non-CLP-related scores (p = .009). Conclusion SABG can improve the patient’s OHRQoL, especially in eating and speaking performances postoperatively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52499 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2164 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2164 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
paninee_le.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.