Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52521
Title: การประเมินการพูดที่ฟังได้รู้เรื่องอัตโนมัติในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่
Other Titles: Evaluation of automatic speech intelligibility in cleft lip and palate patients
Authors: ณัฐิณี พิทักษ์ศิริอนันต์
Advisors: อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ
ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: atiphan.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปากแหว่ง
เพดานโหว่
การพูด
การรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ
Cleft lip
Cleft palate
Speech
Automatic speech recognition
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้มี 2 ข้อ คือ หนึ่งเพื่อเปรียบเทียบการประเมินพูดที่ฟังได้รู้เรื่องโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์กับวิธีดั้งเดิมในผู้ที่มีการออกเสียงปกติและผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และสองเพื่อเปรียบเทียบผลการออกเสียงในผู้ที่มีการออกเสียงปกติและผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ก่อนและหลังการผ่าตัดปิดรูทะลุช่องปาก-จมูกโดยใช้คะแนนรู้จำเสียงพูดและคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่อง วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการผ่าตัดปิดรูทะลุช่องปาก-จมูก อายุเฉลี่ย 12.70 ± 4.39 ปี และผู้ที่มีการออกเสียงปกติจำนวน 10 คน อายุใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จะได้รับการบันทึกเสียงก่อนผ่าตัด 1 วันและหลังผ่าตัด 3 เดือน ในขณะที่ผู้ที่มีการออกเสียงปกติจะได้รับการบันทึกเสียงวันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน เสียงที่บันทึกจะถูกวิเคราะห์เป็นคะแนนรู้จำเสียงพูด (speech recognition score) โดยใช้ระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ สำหรับการประเมินการออกเสียงโดยวิธีดั้งเดิม เสียงที่บันทึกจะแต่ละเสียงจะถูกประเมินโดยผู้ฟัง 3 คน แล้วหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่อง (Speech intelligibility score) ของผู้ป่วยแต่ละราย จากนั้นคำนวณความเที่ยงของคะแนนรู้จำเสียงพูดและประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรู้จำเสียงพูดและคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่องในกลุ่มผู้ที่มีการออกเสียงปกติและผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ นอกจากนั้น ประเมินผลการออกเสียงหลังผ่าตัดทั้งคะแนนรู้จำเสียงพูดและคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่อง ผลการศึกษา ในกลุ่มผู้ที่มีการออกเสียงปกติ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าคะแนนรู้จำเสียงพูดที่บันทึก 3 วัน นอกจากนั้นมีคะแนนรู้จำเสียงพูดเฉลี่ยสัมพันธ์กับคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.708, 0.022) ในกลุ่มผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ มีคะแนนรู้จำเสียงพูดสัมพันธ์กับคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่องทั้งก่อนและภายหลังผ่าตัด (r=0.821, p=0.000 และ r=0.741, p=0.000 ตามลำดับ) และมีคะแนนรู้จำเสียงพูดและคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่องเพิ่มขึ้นภายหลังการผ่าตัด (p=0.002 และ 0.023 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ยังมีคะแนนรู้จำเสียงพูดและคะแนนคำพูดที่ฟังได้รู้เรื่องน้อยกว่าผู้ที่มีการออกเสียงปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.000 และ 0.028 ตามลำดับ) สรุป การประเมินการออกเสียงในผู้ที่มีการออกเสียงปกติและผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถเทียบเคียงกับการประเมินโดยวิธีการฟังได้ และผลการออกเสียงโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และวิธีการฟังหลังผ่าตัดดีขึ้นกว่าก่อนผ่าตัดแต่ยังคงดีไม่เท่ากับผู้ที่มีการออกเสียงปกติ
Other Abstract: Objective The objective of this study are twofold, first, to compare a computerized automatic speech recognition (ASR) technique with conventional perceptual speech intelligibility (SI) in evaluation of normal and cleft lip and palate (CLP) groups. Second, to compare the speech outcome among normal, pre and post operative CLP groups who were performed surgical closure of oronasal fistula (ONF) using speech recognition score (SRS) and SI score. Materials and Methods Twenty patients, who had undergone surgical closure of ONF, with a mean age of 12.70±4.39 years, and 10 age-match normal subjects were participated in this study. The patients’ utterances were recorded 1 day-preoperatively and 3 months-postoperatively, while the normal’s utterances were recorded three times on different days. In order to obtain a speech recognition score (SRS) all subject’s utterances were analyzed using the ASR system. To analyze the conventional SI, each recorded utterance was judged by three listeners. The mean percentage of correct words from 3 listeners was represented as SI score. The reliability of the SRS, the correlation between SRS and SI score were evaluated among the normal and patient groups. Additionally, the speech outcome after surgery was evaluated using both SRS and SI score. Result In the control group, there were no significant SRS differences among the three different data. Moreover, the average SRS and SI score were correlated (r=0.708, p=0.022). In the CLP group, the SRS was significantly correlated with SI score both before and after surgery (r=0.821, p=0.000 and r=0.741, p=0.000, respectively). The SRS and SI score were significantly increased after surgery (p=0.002 and 0.023, respectively), however the post-op SRS and SI score CLP group were still lower than the normal group (0.000 and 0.028, respectively). Conclusion Speech assessment in normal and CLP group using computerized speech recognition technique were comparable to the conventional SI technique. The post-op speech outcome using ASR and conventional SI were improved, but still less than normal.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52521
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2165
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2165
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattinee_pi.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.