Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5254
Title: | การพัฒนาและวิเคราะห์คุณภาพของวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการ ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ |
Other Titles: | Development and analysis of the quality of growth measurement methods based on classical test theory and item response theory |
Authors: | อวยพร เรืองตระกูล |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | skanjanawasee@hotmail.com wnonglak@chulal.ac.th |
Subjects: | การวัดผลทางการศึกษา ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการ 9 วิธี ประกอบด้วย วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม 5 วิธีได้แก่ 1) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความแตกต่างระหว่างคะแนนดิบ 2) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากคะแนนมาตรฐาน 3) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากลอการิทึมของคะแนนดิบ 4) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการสัมพันธ์ และ 5) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการส่วนที่เหลือเทียบกับศักยภาพ วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 2 วิธี ได้แก่ 1) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความแตกต่างของความสามารถที่แท้จริง และ 2) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการโดยใช้โมเดลราส์ชพหุมิติ สำหรับการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง และวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ที่ผู้วิจัยพัฒนา 2 วิธี ได้แก่ 1) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความสามารถที่แท้จริงสัมพัทธ์ เมื่อเทียบกับศักยภาพการพัฒนา และ 2) วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความสามารถที่แท้จริงสัมพัทธ์ เมื่อเทียบกับความสามารถที่แท้จริงก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 698 คน และ 637 คน จากโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร 12 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ฉบับที่คู่ขนานกัน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด สองชุดแรกเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบคณิตศาสตร์ที่วัดซ้ำ 3 ครั้ง ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม และแบบจตุรัสละตินด้วยแบบทดสอบคู่ขนาน ส่วนข้อมูลชุดที่สาม เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ที่ได้จากคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีการวัดซ้ำ 5 ครั้ง มีการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค (dichotomous) และตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน (partial credit) การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการประมาณค่าคะแนนพัฒนาการ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการ ในด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์และค่าความคลาดเคลื่อน ด้วยการวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น และสถิติทดสอบ Hotelling ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เมื่อเปรียบเทียบผลการประมาณค่าคะแนนพัฒนาการระหว่าง 3 กลุ่มวิธี พบว่า กลุ่มวิธีของทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม กลุ่มวิธีของทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และกลุ่มวิธีของทฤษฎีตอบสนองข้อสอบ ที่ผู้วิจัยพัฒนามีคุณภาพไม่แตกต่างกัน 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีภายใน กลุ่มทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม พบว่า วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความแตกต่างระหว่างคะแนนดิบ และวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทีคุณภาพสูงกว่าวิธีอื่นสำหรับข้อมูล 2 ชุดแรก และวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการส่วนที่เหลือเทียบกับศักยภาพของผู้สอบ มีคุณภาพสูงกว่าวิธีอื่นสำหรับข้อมูลชุดที่ 3 3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีภายในกลุ่มทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ พบว่า วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการโดยใช้โมเดลราส์ชพหุมิติสำหรับการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงมีคุณภาพสูงกว่าวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความแตกต่างของความสามารถที่แท้จริง 4) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีภายในกลุ่มทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบที่ผู้วิจัยพัฒนา พบว่า วิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความสามารถที่แท้จริงสัมพัทธ์เมื่อเทียบกับความสามารถที่แท้จริงก่อนเรียนมีคุณภาพสูงกว่าวิธีการวัดคะแนนพัฒนาการจากความสามารถที่แท้จริงสัมพัทธ์เมื่อเทียบกับศักยภาพการพัฒนา สำหรับข้อมูลที่มีการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค |
Other Abstract: | To develop, analyze, and compare the quality of the nine methods measuring growth. The first five growth measurement methods based on the classical test theory were 1) observed difference score method, 2) standard growth method. 3) natural logarithm of growth method. 4) relative growth method, and 5) residual growth and potential ratio method. The other two growth measurement methods based on the item response theory were 1) method of difference between true ability scores, and 2) multidimensional Rasch model for learning and change method. The last two growth measurement methods developed by the researcher were 1) relative true ability of growth and potential ratio method. and 2) relative true ability of growth and initial ability ratio method. The two samples consisted of 698 and 637 Mathayom Suksa 3 students, in 12 schools under the Department of General Education, Bangkok Metropolis. The research instruments were 3 sets of parallel mathematics tests for Mathayom Suksa 3 students. There were 3 data setsfor this research. The first two sets were primary data obtaining from three-time-point repeated measures of mathematics achievement, using the same tests and using parallel tests with latin-square design. The third data set was secondary data obtaining from five-time-point measurement of mathematics achievement at Mathayom Suksa 2 level. All three data sets had been scored employing dichotomous and partial credit scoring approaches. Data were analyzed in order to estimate growth scores, and the quality using criterion-related validity and measurement error were compared by means of hierarchical linear model and hotelling test. The research results indicated that. 1) Comparing the growth score estimations across 3 theoretical approaches, there were no significance differences among the classical test theory approach, the item response theory approach and the researcher's development approach. 2) The comparison among methods within the classical test theory approach revealed that the methods of observed difference score and the relative growth method had better quality than other methods for the first 2 data sets; and that the residual growth and potential ratio method had better quality than other methods for the third data set. 3) The comparison between methods within the item response theory approach revealed that the method of multidimensional Rasch model for learning and change had better quality than the method of difference between true ability scores. 4) The comparison between methods within the researcher's development approach revealed that the relative true ability of growth and initial ability ratio method had better quality than the relative true ability of growth and potential ratio method for the dichotomous data sets. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5254 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.547 |
ISBN: | 9741704925 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.547 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Auyporn.pdf | 5.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.