Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52618
Title: | การพัฒนาความรู้และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 |
Other Titles: | Development of mathematical knowledge and connection ability of grade five students by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligence theory |
Authors: | อิสริยา ปรมัตถากร |
Advisors: | ศันสนีย์ เณรเทียน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sansanee.n@chula.ac.th |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) พหุปัญญา ความสามารถทางคณิตศาสตร์ Mathematics -- Study and teaching (Elementary) Multiple intelligences Mathematical ability |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 2.เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ระหว่างก่อนการทดลองกับหลังการทดลอง 3.เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 4.ศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม 41 คน นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญามีความรู้ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญามีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญามีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญามีพัฒนาการด้านความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น |
Other Abstract: | The purposes of this research were : 1.to compare mathematical knowledge of students between groups being taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory and by conventional approach. 2.to compare connection ability of students between before and after being taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory. 3.to compare connection ability of students between groups being taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory and by conventional approach. 4.to study connection ability development of students who were taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory. The subjects were fifth grade students of Anuban Nakhonratchasima School in the second semester of the academic year 2012 . There 40 students in the experimental group and the other 41 in the control group. The experimental group was taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory and the control group was taught by the conventional approach. The instruments of data collection were mathematical knowledge tests and connection ability tests. The experimental instruments constructed by the researcher were lesson plans focusing on the multiple intelligences theory and conventional lesson plans. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation and t-test. The results of the study revealed that: 1.The mathematical knowledge of students being taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligence theory were higher than those of students being taught by the conventional approach at a .05 level of significance. 2.The connection ability of students after being taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory were higher than before the experiment at a.05 level of significance. 3.The connection ability of students being taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligence theory were higher than those of students being taught by the conventional approach at a .05 level of significance. 4.The students who were taught by organizing mathematics learning activities based on multiple intelligences theory had been gradually improved connection ability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52618 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1751 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1751 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
isariya_pa.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.