Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52635
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์-
dc.contributor.authorพันธสิริ คำทูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-03-14T06:50:24Z-
dc.date.available2017-03-14T06:50:24Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52635-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแนะแนวสุขภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำชั้นและครูอนามัยโรงเรียน จากโรงเรียนทั้งสิ้น 96 โรงเรียน เป็นครูจำนวน 192 คน ซึ่งการเลือกครูใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจากครูประจำชั้น โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร โรงเรียนละ 1 คน รวม 96 คน และครูอนามัยโรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร โรงเรียนละ 1 คน รวม 96 คน ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์กลับคืนมา 192 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดมาประมวลและสรุปผลเป็นการแนะแนวสุขภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยพบว่า 1.ครูประจำชั้นและครูอนามัยโรงเรียน เห็นด้วยกับหัวข้อความรู้สำหรับการแนะแนวสุขภาพและ กิจกรรมการแนะแนวสุขภาพ ซึ่งหัวข้อความรู้สำหรับการแนะแนวสุขภาพ ได้แก่ ความปลอดภัย ความรู้เรื่องเพศ สุขภาพจิต การบริโภคอาหาร ความก้าวร้าวและความรุนแรง และการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ด้านกิจกรรมการแนะแนวสุขภาพ ได้แก่ กิจกรรมการสำรวจข้อมูลสุขภาพของนักเรียน กิจกรรมการบริการสนเทศ กิจกรรมการบริการให้คำปรึกษา กิจกรรมเกี่ยวกับการแนะแนวสุขภาพและกิจกรรมการติดตามและประเมินผล 2. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันในด้านหัวข้อความรู้สำหรับการแนะแนวสุขภาพและกิจกรรมการแนะแนวสุขภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเสนอแนวทางการแนะแนวสุขภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ ควรแต่งตั้งคณะทำงานแนะแนวสุขภาพ สำรวจข้อมูลสุขภาพของนักเรียน กำหนดหัวข้อความรู้สำหรับการแนะแนวสุขภาพ จัดประเภทการแนะแนวเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม มีกิจกรรมการบริการสนเทศ กิจกรรมการบริการให้คำปรึกษา กิจกรรมเกี่ยวกับการแนะแนวสุขภาพและกิจกรรมการติดตามและประเมินผลen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study health guidance for lower secondary school students. The subjects were 192 teachers comprising of 96 classroom teachers in lower secondary schools and 96 school nurse teachers from 96 schools under the Jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission in Bangkok Metropolis. The constructed questionnaires were sent to 192 teachers in lower secondary schools. One hundred and ninety-two accounting for 100 percent completed questionnaires were returned and the data were then analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. All data including questionnaires and results from interviewing were then summarized for health guidance for lower secondary school students. The results were as follows : 1. Classroom teachers and school nurse teachers agreed with the health guidance topics and activities. The topics for the health guidance were safety, sex information, mental health, food consumption, aggression and violence, the usage of narcotics and alcohol drinking. For health guidance activities, there were health inventory, health information services, health counseling, activities concerning health guidance and follow-up and evaluation activities. 2. Health education and health guidance experts agreed with the health guidance topics and activities proposed by the researcher. The health guidance for lower secondary school students should be as follows : setting health guidance working committee, surveying students’ health inventory, determining health guidance topics, arranging individual and group health guidance, servicing health information, organizing activities concerning health guidance and follow-up and evaluation .en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1377-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแนะแนวสุขภาพen_US
dc.subjectHealth counselingen_US
dc.titleการแนะแนวสุขภาพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeHealth guidance for lower secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAimutcha.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1377-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
puntasiri_kh_front.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
puntasiri_kh_ch1.pdf964.41 kBAdobe PDFView/Open
puntasiri_kh_ch2.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
puntasiri_kh_ch3.pdf745.54 kBAdobe PDFView/Open
puntasiri_kh_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
puntasiri_kh_ch5.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
puntasiri_kh_back.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.