Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5268
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Titles: Selected factors related to depression in patients with post acute coronary syndromes
Authors: มลฤดี บุราณ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Oraphun.L@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้า
กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระยะเวลาการเจ็บป่วย ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ภาวะการทำหน้าที่ ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย หลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 150 คน ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกหัวใจ และหลอดเลือด ของโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลรามาธิบดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ แบบบันทึกภาวะการทำหน้าที่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบาก และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ .75, .89, .80, และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์อีตา และค่าสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยเฉลี่ยแล้วไม่เกิดภาวะซึมเศร้า คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าเท่ากับ 12.88 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.17) 2. รายได้และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =-.511 และ -.437 ตามลำดับ) 3. อาการหายใจลำบากและความเหนื่อยล้า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.434 และ .395 ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ กับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.187) 4. เพศมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Eta =.555) 5. ภาวะการทำหน้าที่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (C =.240) 6. อายุ และประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Abstract: To study the relationships between sex, age, income, length of illness, left ventricular ejection fraction, NYHA, fatigue, dyspnea, social support and depression in patients with post acute coronary syndroms. The subjects were 150 out-patients with acute coronary syndromes at coronary clinics at Police Hospital, Rajvithi Hospital, Bhamongkutklao Hospital and Ramathibodi Hospital, selected by a multi-stage samping. The instruments used for data collection were the Dermographic Data Form, Left Ventricular Ejection Fraction Form, NYHA Form, Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), Fatigue Numeric Rating Scale, Dyspnea Numeric Rating Scale, and ENCRICH Social Support Questionnaire. The instruments were tested for their content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .75, .89, .80, .83, respectively. Statistical techniques used in data analysis were Pearson's product-moment correlation, Eta coefficient, and Chi-square test at the significant level of .05. The major findings were as follows 1. Mean of depression scores in patients with post acute coronary syndromes indicated to no depression, mean scores was 12.88 (SD = 6.17). 2. There were negatively statistical correlation between income, social support, and depression in patients with post acute coronary syndromes at the level of .05 (r = -.511 and -.437, respectively). 3. There were positively statistical correlation between dyspnea, fatigue, length of illness and depression in patients wit post acute coronary syndromes at the level of .05 (r = .434, .395 and .187, respectively). 4. Sex was related to depression in patients with post acute coronary syndromes at the level of .05 (Eta = .555). 5. NYHA was related to depression in patients with post acute coronary syndromes at the levle of .05 (C = .240). 6. There were no statistical correlation between age, left ventricular ejection fraction and depression in patients with post acute coronary syndromes.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5268
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.867
ISBN: 9741421591
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.867
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monruedee_bu.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.