Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52734
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รังสิมันต์ สุนทรไชยา | - |
dc.contributor.author | วัชรี แสงสาย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-04-08T13:37:20Z | - |
dc.date.available | 2017-04-08T13:37:20Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52734 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองวัดก่อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อตรวจสอบภาวะซึมเศร้าและการทำหน้าที่ของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอายุ 60 ปี ขึ้นไป แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน ผู้วิจัยพัฒนาเนื้อหาการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยบูรณาการประสบการณ์เดิม แก่นความเชื่อ ความเชื่อเฉพาะกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น คุณค่าของบทบาทของผู้สูงอายุ สภาพสังคมวัฒนธรรม เชื่อมโยงกับความคิดอัตโนมัติด้านลบและภาวะซึมเศร้า เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินการทำหน้าที่โดยรวม 5) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติทางลบ 6) แบบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาประจำวัน เครื่องมือทุกชุดมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2,6 มีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .93 และ .85 เครื่องมือชุดที่ 3,5 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89 และ .97 เครื่องมือชุด 4มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมตํ่ากว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=6.82) ในขณะที่การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุหลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=10.78) 2. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯตํ่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=- 2.05) ในขณะที่การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุที่ได้รับโปรแกรมฯสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=2.51) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the quasi-experimental research with pretest-posttest control group design was to examine depressive and functional scores of elderly patients with depression who received Cognitive Behavioral Therapy. Forty samples were elderly patients whose diagnosed depressive disorder at the outpatient department. The samples were matched pair and the randomly assigned into the experimental and the control group, 20 in each group. The CBT in late-life depression was integrated with early experiences, core belief, cohort belief, intergeneration linkages, role value, sociocultural context, negative automatic thought, and depression. The research instruments were: 1) Demographic questionnaire, 2) MMSE-Thai 2002, 3) Beck Depressive Inventory scale (Thai version), 4) The Global Assessment of Functioning Scale (GAF),5) Automatic Thought scale, and 6). The Daily Problem-Solving Ability Assessment. Content validity of instruments were agreed by five experts. The reliability of the 2nd,6th instrument was reported byKR-20 as of .93 and .85. The Chronbach’ s Alpha coefficient reliability of the 3rd, 5th instrument was .89 and .97. The inter-rater of 4th instrument was 0.95.The t-test was used in data analysis. Major findings were as follows: 1. The depressive scores of elderly patients with depression after receiving CBT were lower than those before (t=6.82, p< .05), whereas the functioning scores were higher than those before (t=10.78, p< .05). 2. The depressive scores of elderly patients with depression who received CBT were lower than those who received the regular nursing activities (t= -2.05, p<.05), whereas the functioning score were higher than those who received the regular nursing activities (t = 2.51, p<.05) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1779 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | โรคซึมเศร้า -- การรักษา | en_US |
dc.subject | Depression in old age | en_US |
dc.subject | Psychotic depression -- Treatment | en_US |
dc.title | ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและการทำหน้าที่ในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า | en_US |
dc.title.alternative | Effects of cognitive behavior therapy on depression and functioning of elders with depression | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | rangsiman.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1779 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
watcharee_sa.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.