Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52735
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานี-
dc.contributor.authorขนิญร์นัสท์ อินทุลักษณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-04-08T13:45:52Z-
dc.date.available2017-04-08T13:45:52Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52735-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความหมายของสมดุลชีวิตกับงาน และบรรยายประสบการณ์การสร้างสมดุลชีวิตกับงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 9 คน ที่มีความยินดีและเต็มใจในการเข้าร่วมวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทปร่วมกับการสังเกต และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ตามวิธีการของ Diekelman ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.ความหมายของสมดุลชีวิตกับงาน สมดุลชีวิตกับงาน หมายถึง การบริหารจัดการเวลาในการดำเนินชีวิตส่วนบุคคล และการทำงานให้เหมาะสม โดยการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขบนความพอดี และอยู่อย่างพอเพียง 2.การสร้างสมดุลชีวิตกับงาน การสร้างสมดุลชีวิตกับงาน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีความสุขในชีวิตส่วนตัว และการมีความสุขในงาน สำหรับการมีความสุขในชีวิตส่วนตัว ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่การใช้ชีวิตให้มีความสุขด้วยตนเอง และการเอาใจใส่ซึ่งกันและกันของสมาชิกในครอบครัว ส่วนการมีความสุขในงานประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ ความสุขในงานที่เกิดจากตนเอง การจัดการความเครียดที่เกิดจากงาน การมีผู้ร่วมงานสนับสนุน และการได้รับสวัสดิการที่เพียงพอจากองค์การ จากผลการวิจัยนี้ ทำให้เข้าใจถึงประสบการณ์การสร้างสมดุลชีวิตกับงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้บริหารทางการพยาบาล หรือพยาบาลวิชาชีพสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างสมดุลชีวิตกับงานได้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study the meaning and describe experiences of building work-life balance of professional nurses. Nine professional nurses in a private hospital were willing to participated in this research. Data were collected using in-depth interviews with taped-record, observations and field notes. Study data were analyzed using Diekelman’s content analysis. The findings were as follows: 1.Meaning of the work-life balance Work-life balance was defined as the appropriately time management between working and life activities in order to make happy life with sufficient conditions. 2.Building work-life balance It consisted of two parts: to be a happy in life and a happy on the job. A happiness in life consisted of 2 sub themes: making a happy by self and having family members’ support. A happy in work contained 4 sub-themes: making a happy work by self, managing work stress, receiving a colleague supports and receiving appropriately organizational welfare. The study findings provided for more understanding of building work-life balance of professional nurses in a private hospital. Nursing managers in hospital or nurses can use these findings as a guideline to build work-life balance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1780-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานen_US
dc.subjectNursesen_US
dc.subjectQuality of work lifeen_US
dc.titleประสบการณ์การสร้างสมดุลชีวิตกับงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนen_US
dc.title.alternativeExperiences of building work-life balance of professional nurses in a private hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAreewan.O@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1780-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khaninnutch_in.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.