Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52835
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ | - |
dc.contributor.author | ลิขิตศรี พุฒิธนกร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2017-05-03T04:41:45Z | - |
dc.date.available | 2017-05-03T04:41:45Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52835 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 กล่าวถึงมาตรการส่งเสริมผู้สูงอายุโดยกำหนดให้ภาครัฐ/เอกชน ประชาชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” อย่างมีคุณภาพและเป็นการแบ่งเบาภาระพึ่งพิงอันจะเกิดแก่ครอบครัว ชุมชนและรัฐอีกทางหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และการรวมกลุ่มกิจกรรม (2) เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัยและความต้องการที่อยู่อาศัย (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ โดยศึกษาผู้สูงอายุในกรุงเทพฯและใช้สวนสาธารณะลุมพินีเป็นพื้นที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกชมรมผู้สูงอายุต่างๆในสวนลุมพินีที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ใช้วิธีการสังเกต, การสำรวจ, แบบสอบถามจำนวน 290 ชุด,การสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนชมรม 10 คน,การสนทนากลุ่มเพื่อหาข้อเสนอแนะในการจัดเตรียมที่อยู่อาศัย 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 50-89 ปี ส่วนใหญ่ช่วงอายุ 60-69ปี เชื้อชาติจีน สัญชาติไทย การศึกษาระดับประถมศึกษา สมรส มีบุตร 3-4 คน ปลดเกษียณแล้ว เกณฑ์รายได้อยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลาง (15,001-30,000บาท/เดือน) และรายได้สูง (30,001บาท/เดือนขึ้นไป) สุขภาพแข็งแรงช่วยเหลือตัวเองได้ ชอบสังคม การรวมกลุ่มกิจกรรม และการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่พักอาศัยเขตกรุงเทพฯชั้นใน อยู่ตึกแถว/อาคารพาณิชย์ ขนาดที่ดินต่ำกว่า 50 ตารางวา พักชั้น 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ อาศัยนานกว่า 20 ปี อยู่ในหลังเดียวกับลูกหลาน ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเพราะยังดูแลตนเองได้ เคยชินและไม่คิดว่าเป็นปัญหา แต่กลุ่มที่มี ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยจะพบปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นอันดับแรก(มลพิษทางอากาศและเสียง) ด้านความต้องการที่อยู่อาศัยพบว่า มี 3 กลุ่ม (1) กลุ่มไม่คิดย้ายจากที่อยู่เดิม (ร้อยละ82.07) เพราะรักและผูกพันกับที่เดิม (2)กลุ่มคิดย้าย (ร้อยละ14.83) เพราะต้องการความสงบและอิสระ (3) กลุ่มที่ตอบทั้ง 2 กรณี คือปัจจุบันยังไม่คิดย้าย แต่ในอนาคต 3-5 ปีคิดย้าย (ร้อยละ 3.10)ให้เหตุผลคล้ายกลุ่มที่คิดย้าย โดยกลุ่มที่ไม่คิดย้ายจะเน้นการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของผู้สูงอายุ งบประมาณปรับปรุงประมาณ 100,000-500,000 บาท ส่วนกลุ่มคิดย้ายส่วนใหญ่ต้องการบ้านเดี่ยว ขนาดที่ดินต่ำกว่า 50 ตารางวา ทำเลเขตกรุงเทพฯชั้นกลางหรือชั้นนอกที่เดินทางสะดวก ระดับราคาประมาณ 3-4 ล้าน ปัจจัยที่คำนึงถึงอันดับแรกคือเรื่องความสะดวกในการเดินทาง เพราะกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ สำหรับสถานที่พักผ่อนหย่อนใจพบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจท่องเที่ยวเนื่องจากส่วนใหญ่ปลดเกษียณจึงให้รางวัลชีวิตโดยการท่องเที่ยวและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่ต้องการพักรีสอร์ท (ร้อยละ 32.20) โรงแรม (ร้อยละ 29.05) ระดับราคา ต่ำกว่า 2,000บาท/คืน ทำเลต่างจังหวัด (ทะเล,ภูเขา,วัฒนธรรม,น้ำตก) และให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะในเมือง เพราะเป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์และออกกำลังกาย ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (1)การปรับปรุงบ้าน สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่คิดย้าย ภาครัฐต้องเป็นตัวกลางหลักร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพฯ เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำประชาชนและผู้สูงอายุที่ไม่คิดย้าย อีกทั้งภาครัฐต้องเปิดทางให้ภาคเอกชนทำธุรกิจการปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคา-คุณภาพ-ความรวดเร็ว (2) โครงการที่อยู่อาศัยลักษณะต่างๆที่ยึดหลักแนวคิดในออกแบบที่เป็นสากล สำหรับกลุ่มที่ต้องการย้าย ภาครัฐต้องออกมาตรการ และติดตามผล ภาครัฐวิสาหกิจ (การเคหะแห่งชาติ) และภาคเอกชน เพื่อให้ยึดแนวคิดการออกแบบที่เป็นสากลและสร้างที่อยู่อาศัยลักษณะต่างๆให้เหมาะสมกับทุกวัยให้เกิดผลเชิงรูปธรรม (3) มาตรการลดหย่อนภาษีแก่ลูกหลานกตัญญูในเรื่องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The 2nd National Plan on the Elderly includes measures to support the elderly by assigning government/private sectors and communities to participate in providing appropriate housing environments for seniors. The increasing percentage of the population made up by the elderly in Thailand makes imperative the necessity to provide appropriate housing in order to support the “Aging Society” with a good quality of life and to relieve the burden on communities and the government. The objective of the current study was (1) to examine the social situation of the elderly, including their economic, and health status, and social activities (2) to examine living conditions and housing demands (3) to propose ways to approach housing preparation for the elderly to agencies in the government sector, the private sector, and state enterprises. The study participants were from the Bangkok metropolitan area. Lumpini Park was the study field, while the sampling group was an elderly club aged ≥ 50 years old. The methodology included observation, survey, questionnaire of 290 cases, in-depth interview with 10 representatives from the club and two-focus groups with 5 seniors for each group in order to hear their suggestions for housing preparation. The results of the study show that most of the elderly in the survey lived in inner Bangkok in their own commercial building with an area off less than 50 square wah.The majority had lied on the 2nd floor of their residence with their children for more than 20 years. Most experienced on residential problems to mention. However, those facing housing problems had to deal with environment nuisances (air and noise pollution). Our investigation of housing demand showed that there were 3 groups of seniors to consider with different needs : (1)the first group (82.07%) said they would not move because they were attached to their current residence (2)the second group (14.83%) was actively considering moving because they wanted to live in a peaceful place and be independent (3) the third group (3.10%) was not currently planning to move ,but would do so in the next 3-5 years for reasons similar to the 2nd group. Seniors in group 2 considering moving ,wanted a single house with an area less than 50 square wah located in central or peripheral Bangkok, with convenient access at a cost of 3-4 million bath. The main factor to be considered by this group was convenience of transportation because most had their own car. As for recreation, the study found that the participants were most interested in recreational travel. Most (32.2%) preferred to stay at resorts, or hotels (29.05%) at a cost of less than 2,000 baths per night. The favorite location for travel was in the countryside (seaside, mountain regions, cultural villages, waterfalls). For urban recreation, most preferred Public Parks because they are places where many gather and exercise. The study’s recommendation for housing preparation for the elderly includes: (1) house renovations for seniors who don’t want to move (2) different housing projects based on the universal design principles for those who wants to move (3) tax reduction measures for home renovation to benefit cohabiting children. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2181 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | Older people | en_US |
dc.subject | Older people -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Older people -- Dwellings | en_US |
dc.subject | Older people -- Dwellings -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.title | แนวทางการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในเมือง : กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุในสวนสาธารณะลุมพินี กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Urban housing preparation for the elderly of Thailand : a case study of a seniors' club in Lumpini Park, Bangkok | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Trirat.j@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.2181 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Likhitsri_ph.pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.