Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมือง-
dc.contributor.advisorจิตตินันท์ เดชะคุปต์-
dc.contributor.authorมาลี จิรวัฒนานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-05-18T07:15:29Z-
dc.date.available2017-05-18T07:15:29Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52867-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพชีวิตครอบครัวพ่อหรือแม่คนเดียว 2) วิเคราะห์ความต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและความต้องการด้านการศึกษาของพ่อหรือแม่คนเดียว และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวพ่อหรือแม่คนเดียว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการศึกษารายกรณีแม่คนเดียว 14 ราย การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แม่คนเดียวและผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพชีวิตของครอบครัวแม่คนเดียว เมื่อจำแนกตามแหล่งที่พักอาศัย 3 ลักษณะ คือ บ้านพักชั่วคราว (หน่วยงาน/ องค์กรเอกชน ภาครัฐและองค์กรทางศาสนา) บ้านของพ่อแม่และเครือญาติ และบ้านเช่า พบว่า แต่ละกลุ่มต่างเผชิญการปรับตัวกับการเป็นแม่มือใหม่เพราะส่วนใหญ่มีบุตรคนแรก ครอบครัวแม่คนเดียวต้องปรับตัวจัดการกับบทบาทที่หลากหลาย เช่น การศึกษาต่อของผู้เป็นแม่คนเดียว การประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ และการเลี้ยงดูบุตรในเวลาเดียวกัน ฯลฯ สิ่งที่เป็นปัญหา คือ ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ อารมณ์ความรุนแรงและความเครียด แม่คนเดียวส่วนใหญ่ต้องการมีคู่ชีวิตและคาดหวังการเพิ่มวุฒิการศึกษาเพื่อให้สามารถมีอาชีพที่สร้างรายได้มากขึ้นสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของครอบครัว โดยเฉพาะการเลี้ยงดูลูกให้ได้รับการศึกษาสูง ๆ มีอนาคตที่ดี 2. ความต้องการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและความต้องการการศึกษาของแม่คนเดียว พบว่าคุณลักษณะครอบครัวเข้มแข็งที่ครอบครัวแม่คนเดียวในสังคมไทยมีอยู่คือ ทุนทางสังคม และสัมพันธภาพ ส่วนที่เป็นปัญหาที่เด่นชัด คือ การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจและการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง เมื่อวิเคราะห์ความต้องการการศึกษาพบว่า เนื้อหาสาระความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับครอบครัวแม่คนเดียวมี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การรับบทบาทการเป็นพ่อและแม่ 2) จิตวิทยาและความรัก 3) การวางแผนชีวิตครอบครัว 4) การงานอาชีพและเศรษฐกิจครอบครัว และ 5) การเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ 3. แนวทางการส่งเสริมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแม่คนเดียว พบว่าควรมีการจัดการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียนเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาครอบครัวแม่คนเดียว การส่งเสริมควรพิจารณาสภาพครอบครัวที่มีระดับปัญหาแตกต่างกัน ในกรณีที่มีปัญหาซับซ้อนมากอาจต้องการการปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายและต้องการปัจจัยสนับสนุนทางสังคมมากกว่าครอบครัวที่ค่อนข้างมีคุณลักษณะของครอบครัวเข้มแข็ง การวิจัยครั้งนี้พบว่าแนวนโยบายที่ดำเนินการในปัจจุบันเอื้อต่อการปฏิบัติแต่ควรพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการประสานเชื่อมโยงในการใช้ทรัพยากรและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเด็นหลัก 5 ด้านที่เป็นความต้องการทางการศึกษาควรได้รับการบรรจุเป็นเนื้อหาสาระความรู้สำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแม่คนเดียว ผู้ที่เป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีความรู้ เทคนิคและทักษะ การให้คำปรึกษา ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีการสร้างสัมพันธภาพก่อนเข้าสู่การเรียนการสอน รวมทั้งควรมีการสร้างสื่อการเรียนรู้ และนวัตกรรมที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนรู้แก่ครอบครัวแม่คนเดียวen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study family life of the single parents, 2) to analyze the needs to strengthen their families and their educational needs, and 3) to propose educational guidelines to promote the strength of single parents’ families. Case studies of 14 single mothers, focus-group discussion, and interview were used to collect the data. Finding were as follows: 1. Family life of single mothers. Case studies resided in 3 settings; namely, emergency homes, kinship’s homes, and rental houses. Since most of them had their first baby, they had to adjust to their new roles as single mothers and must cope with emotional tension, stress, and economic hardship. Single mothers hoped to have new lives with companion and further their studies in order to secure better jobs which could increase their family income. 2. Needs for education and family strength of single mothers. Social capital and relationship were two indicators of family strength found in single mothers’ families. Their forefront problems included economic self-reliance and risk avoidance. With regards to education needs, it was found that single mothers needed more knowledge in 5 subjects: 1) the dual role of parenting 2) psychology 3) family life planning 4) career development and family economic 5) access to various resources. 3. Educational promotion guidelines to enhance the strength of single mothers’ families. Family education should be provided both in and out of school to prevent and alleviate the problems. Single mothers’ families should be strengthened according to level of crisis. Those with complicated problems might need individualized program and more social support. Cooperation among related organizations must be developed in order to have a better share of resources and more efficiency in policy implementation. The 5 subjects needed by single mothers should be integrated in their learning substance. Educational facilitators and instructors should have knowledge, techniques, and counseling skills. There should be relationship-building activities prior to instruction. Various learning materials and innovation should be developed in order to provide learning options for single mothers’ families.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.136-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectSingle-parent families -- Study and teachingen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต-
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวพ่อหรือแม่คนเดียวen_US
dc.title.alternativeEducational promotion guidelines to enhance the strength of single parents' familyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchanita.r@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.136-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
malee_ji_front.pdf998.91 kBAdobe PDFView/Open
malee_ji_ch1.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
malee_ji_ch2.pdf11.2 MBAdobe PDFView/Open
malee_ji_ch3.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
malee_ji_ch4.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
malee_ji_ch5.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
malee_ji_back.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.