Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52869
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพนันท์ ตาปนานนท์ | - |
dc.contributor.advisor | จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ | - |
dc.contributor.author | กฤติน วิจิตรไตรธรรม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-05-18T09:12:39Z | - |
dc.date.available | 2017-05-18T09:12:39Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52869 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่พื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมบริเวณแยกบางกะปิและพื้นที่โดยรอบ โดยทำการศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพ ของพื้นที่และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ, สังคม และการคมนาคมขนส่งในบริเวณแยกบางกะปิ การศึกษามีการสำรวจพื้นที่ในรายละเอียดด้านโครงข่ายคมนาคมขนส่ง การใช้ประโยชน์อาคารและที่ดิน พื้นที่โล่งว่าง และสภาพแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์ถึงบทบาทของพื้นที่, สภาพปัญหา, แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ ตลอดจนการศึกษาแนวความคิด ทฤษฏี และข้อมูลในการสนับสนุนการกำหนดแนวความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่ เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าในปัจจุบันพื้นที่บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมบริเวณแยกบางกะปิเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมที่สำคัญ เนื่องจากมีระบบการคมนาคมขนส่งที่หลากหลาย จากเส้นทางโครงข่ายถนน 5 เส้นทาง และระบบคมนาคมด้วยเรือโดยสาร 1 เส้นทาง จึงทำให้ประชากรที่เข้ามาใช้พื้นที่เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรมีปริมาณค่อนข้างสูงในแต่ละวัน ในขณะเดียวกันบริเวณพื้นที่ศึกษายังมีการใช้งานกิจกรรมอื่นๆอีกหลากหลายประเภทร่วมด้วย ทั้งกิจกรรมทางการค้า พาณิชยกรรม กิจกรรมในการเป็นพื้นที่ศูนย์ราชการ รวมถึงการเป็นพื้นที่ชุมชนที่มีการพักอาศัยตั้งแต่เดิม จึงทำพบสภาพปัญหาทั้งจากกิจกรรมที่หลากหลายในพื้นที่ อันก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการสัญจร และขาดความต่อเนื่องของพื้นที่กิจกรรม ตลอดจนการขาดพื้นที่และกิจกรรมในการสนับสนุนการเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายคมนาคม ขาดพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ลานกิจกรรมสำหรับชุมชน จึงทำให้พื้นที่ควรได้รับการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างบรรยากาศความเป็นเมืองที่ดีและน่าอยู่ยิ่งขึ้น การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และบทบาทความเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคม ร่วมกับแผนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าที่จะเข้ามาในพื้นที่ศึกษา นำไปสู่แนวคิดในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอาคารต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่จากกิจกรรมคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพัฒนาประสิทธิภาพการเชื่อมโยงพื้นที่กิจกรรมต่างๆให้เกิดการใช้งานที่ต่อเนื่อง เช่น พื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมในในจุดต่างๆ พื้นที่พาณิชยกรรมการค้า และอาคารสำคัญในพื้นที่ โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางเบื้องต้นสำหรับการนำไปสู่การปฏิบัติ และแสดงลำดับขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและการปรับปรุงพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมบริเวณแยกบางกะปิต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis is fabricated and compiled with the objectives that aim to give relevant design guidelines for the development of transport interchange at Bangkapi Intersection and its vicinities. In order to achieve these objectives, numbers of methodologies have been reinforced. Namely, the scrutiny of the area existing, economic & social ambiance and the characteristics of transportation in this area. Apart from the literatural studies, detailed field studies have also been conducted which covers the current conditions of the area’s transportation networking, the actual utilization of surrounding buildings and open space all of which lead to the analysis of area roles, ongoing problems and change tendencies of the area as well as the synthesis of ideas, strategies, supportive evidence and area’s physical components required for the development plans. From above, it has been found that Bangkapi Intersection is recognized as one of the most important transportation interchanges. As the network is consisting of 5 major roads and 1 waterway for transportation line, the junction accommodates great number of commuters almost to its maximum capacity each day. Other than transportation, Bangkapi is also a home to commercial bodies, governmental offices and one of the densest residential areas. Due to the density of the commuters, multiple purposes and ill management of the area, Bangkapi has reportedly lacked the consistency in serving its non transportation and increasingly deteriorated its role as a transport interchange. Furthermore, the current being of Bangkapi has also shrinked the green area necessary for the public and community activities. All in all, the development of Bangkapi is tremendously mandatory in order to elevate the capacity of the areas as a transport interchange and retrieve the better urbanism as a commercial and residential quarter. Finally, this thesis has analyzed and compiled current problems of Bangkapi area as the transport interchange which has brought about guidelines and initial development plans. These plans lead to maximizing the open space and building capacity in order to prepare for the future transportation activities such as the MRTA. (Mass Rapid Transit Authority of Thailand) expansion project. Also, it has lead to improving connectivity and accessibility of non-transportation area to transportation area and vice versa. In the end, these guidelines and development plans are aimed to be adopted and practiced for the further development of Bangkapi intersection in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.132 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | บางกะปิ (กรุงเทพฯ) | en_US |
dc.subject | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | การขนส่งในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | Bangkapi (Bangkok) | en_US |
dc.subject | Land use -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Urban transportation -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Community development, Urban -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.title | แนวทางการออกแบบเพื่อการพัฒนาพื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมบริเวณแยกบางกะปิ | en_US |
dc.title.alternative | Design guidelines for the development of transport interchange at Bangkapi intersection | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การออกแบบชุมชนเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Jittisak.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.132 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kriztin_wi_front.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_ch1.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_ch2.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_ch3.pdf | 11.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_ch4.pdf | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_ch5.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_ch6.pdf | 583.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
kriztin_wi_back.pdf | 992.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.