Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52937
Title: การศึกษาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่มารับบริการจากหน่วยงานทางการศึกษา และฟื้นฟูสมรรถภาพในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Study of parents' rearing practices on mentally retarded preschool children receiving services from educational and rehabilitation organizations, Bangkok metropolis
Authors: สุณีย์ บรรจง
Advisors: โสภาพรรณ ชยสมบัติ
ศรินธร วิทยะสิรินันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sopapan.c@chula.ac.th
Sarinthorn.v@chula.ac.th
Subjects: เด็ก -- การเลี้ยงดู
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความบกพร่องทางสติปัญญา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Child rearing
Preschool children -- Thailand -- Bangkok
Mental retardation -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มารับบริจาคจากหน่วยงานทางการศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ การปฏิบัติ ปัญหาและความต้องการ ตัวอย่างประชากรเป็นผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่นำเด็กมารับบริการจากหน่วยงานทางการศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากประชากร จำนวน 204 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตสภาพแวดล้อมทางบ้านและทางพฤติกรรมการปฏิบัติต่อเด็กที่เป็นตัวอย่างของแต่ละครอบครัว จากนั้นจึงนำข้อมูลเชิงปริมาณมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละในประเด็นต่างๆ ที่ค้นพบ และสรุปข้อมูลที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ในเชิงบรรยาย แล้วนำเสนอผลการวิจัยเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ผลการวิจัยแต่ละด้าน : ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยการสังเกต และสรุปผลการวิจัยเชิงบรรยาย และตอนที่ 2 สรุปภาพรวมผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มารับบริการจากหน่วยงานทางการศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีการปฏิบัติในการอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม สำหรับปัญหาในเรื่องต่างๆ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ระบุว่าไม่มีปัญหา ยกเว้นในเรื่องความรู้ ผู้ปกครองระบุว่าได้รับความรู้ไม่เพียงพอและต้องการความรู้ในเรื่องการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ การฝึกพูด การฝึกให้ช่วยตนเอง ลักษณะและพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนร่วมกับเด็กปกติ และการอบรมเลี้ยงดู ส่วนความต้องการ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ ยกเว้นในเรื่องการมีคนดูแลเด็ก และการให้เด็กของตนได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the parents’ rearing practices on mentally retarded preschool children receiving services from educational and rehabilitation organization, Bangkok Metropolis, about knowledge, practices, and problems and needs. The samples were 50 selected by using random sampling from the 204 population of the parents of mentally retarded preschool children receiving services from educational and rehabilitation organizations, Bangkok Metropolis. The parents were interviewed and their rearing behavior at home were observed. The quantitative data in each aspect were analyzed by means of frequency and percentage and the details were summarized descriptively. The results were presented in 2 parts, part 1 presenting the results of each aspect: the results from interviewing, the results from observation and descriptive summary of each aspect, and part 2 summarizing all the results. The research results indicated that most of the parents of the mentally retarded preschool children receiving services from educational and rehabilitation organizations had accurate knowledge and practiced rearing appropriately. Concerning each aspect of the problems, most of the parents said that they did not have the problem, except that of knowledge; they specified that they did not receive enough knowledge on how to rear their mentally retarded child and the wanted to know more about how to provide early stimulation, speed therapy, self-help practices, characters and behavior of mentally retarded preschool children, mainstreaming and rearing practices of a mentally retarded child. Concerning needs, most of the parents said that they did not need help in each aspect except help about getting a babysitter and having their mentally retarded child mainstreamed in the regular school with normal children
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52937
ISBN: 9745824658
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_ba_front.pdf721.53 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_ba_ch1.pdf884.97 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_ba_ch2.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ba_ch3.pdf663.59 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_ba_ch4.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ba_ch5.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ba_back.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.