Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53008
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริมา ปัญญาเมธีกุล-
dc.contributor.authorเศรษฐพล บุญชู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-20T06:33:09Z-
dc.date.available2017-06-20T06:33:09Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53008-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกระจายตัวและความเข้มข้นของสารพีเอเอชในตัวอย่างดินจากพื้นที่ศึกษา 6 แห่ง ที่อยู่รอบโรงงานเยื่อกระดาษแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทำการเก็บตัวอย่างดิน 3 ระดับ คือระดับผิวหน้า (0-20 เซนติเมตร) ระดับความลึก 20-40 เซนติเมตรและระดับความลึก 40-60 เซนติเมตร เก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง คือในเดือนพฤษภาคมและตุลาคม 2551 เพื่อเป็นตัวแทนในฤดูแล้งและฤดูฝน ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างพบสารพีเอเอชรวมในระดับความเข้มข้น 39.9-91.3 นาโนกรัมต่อกรัมในฤดูฝนและ 111.7-261.8 นาโนกรัมต่อกรัมในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นรวมในฤดูฝนและฤดูแล้งมีค่าเท่ากับ 55.6+18.9 และ 156.4+61.5 นาโนกรัมต่อกรัม ตามลำดับ สำหรับความเข้มข้นรวมของสารพีเอเอชในดินตามระดับความลึกทั้ง 3 ระดับ ไม่แสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างสารพีเอเอชและระดับความลึกและยังไม่สามารถอธิบายการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนรูปของสารพีเอเอชจากดินผิวหน้าลงสู่ดินชั้นล่างได้อย่างชัดเจนในการศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตารม ระดับการปนเปื้อนของสารพีเอเอชในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ไม่เป็นพิษ (<200 นาโนกรัมต่อกรัม) มีบางพื้นที่ที่พบอยู่ในระดับปานกลาง (200-600 นาโนกรัมต่อกรัม) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแหล่งกำเนิดสารพีเอเอชที่ปนเปื้อนในพื้นที่ศึกษานี้ พบว่าในตัวอย่างดินเกือบทั้งหมดพบสารพีเอเอชในกลุ่มที่มีจำนวนวงอะโรมาติกในโครงสร้างโมเลกุล 4-6 วง เป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของสารพีเอเอชทั้งหมด (16 ชนิด) ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีแหล่งกำเนิดมาจากการเผาไหม้ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วน Benzo(a)anthracene//(Benzo(a)anthracene+Chrysene) และอัตราส่วน Fluorathene//(Fluoranthene+Pyrene) พบว่าแหล่งกำเนิดของสารพีเอเอชเป็นไปได้ที่จะมีที่มาทั้งจากการเผาไหม้และปนเปื้อนสารปิโตรเลียม โดยมีแนวดน้มค่อนไปทางการเผาไหม้en_US
dc.description.abstractalternativeSoil samples were collected at six sampling sites around pulp mill of Ayuddhya, Thailand, at 0-10 20-40 and 40-60 cm. soil depth in May and October 2008, and concentrations and distributions of 16 polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) were determined. The total of 16 PAHs concentrations in surface soil ranged between 39.9-91.3 ng/g (rainy) and 11 1.7-261.8 ng/g (in summer) respectively. Mean total concentration of16 PAHs are 55.6+18.9 nglg (rainy) and 156.4+61.5 nglg (summer). There was no significant correlation between the total of 16 PAHs ' concentration and depth of soil and the distribution and transformation of PAHs in surface soil to depth soil was not clear. However, the level of contamination of PAHs in most study area is non-toxic ( ~ 2 0 0ng /g) but have some study area is a moderate toxicity (200-600 ng/g). Relative concentrations of PAH compounds with different benzene rings and ratios of fluoranthene to fluoranthene plus pyrene ard benzo(a)anthracene to benzo(a)anthracene plus chrysene and fluoranthene To fluoranthene plus pyrene were used to identify the possible sources of soil PAHs. 50 % of total 16 PAHs found in all most study area are 4-6 ring PAHs group may indicate that the PAHs pollutants probably mainly originated from both the co~nbustion an3 petroleum, However It's tend to be combustion sourceen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.61-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษen_US
dc.subjectPolycyclic aromatic hydrocarbonsen_US
dc.subjectWood-pulp industryen_US
dc.titleการกระจายตัวและความเข้มข้นของสารพีเอเอชในดินรอบบริเวณโรงงานเยื่อกระดาษen_US
dc.title.alternativeDistributions and concentrations of polycyclic aromatic hydrocarbons, (PAHs) in soil around pulp millen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsirima.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.61-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
serahsattapon_bh_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
serahsattapon_bh_ch1.pdf576.48 kBAdobe PDFView/Open
serahsattapon_bh_ch2.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
serahsattapon_bh_ch3.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
serahsattapon_bh_ch4.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
serahsattapon_bh_ch5.pdf330.97 kBAdobe PDFView/Open
serahsattapon_bh_back.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.