Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53035
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปฏิฎาณ ปัญญาพลกุล-
dc.contributor.authorพิชชาภา บุญญคง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-21T10:39:25Z-
dc.date.available2017-06-21T10:39:25Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53035-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาถึงปรากฏการณ์การดูดซับกรดฮาโลอะซิติกซึ่งเป็นสารพลอยได้จากกระบวนการฆ่าเชื้อโรคในกระบวนการผลิตน้ำประปา โดยใช้อนุภาคขนาดนาโนชนิดแมกเนไทต์ที่ถูกเคลือบผิวด้วยซิลิกา ซึ่งมีคุณสมบัติซูเปอร์พาราแมกเนติกทำให้สามารถแยกอนุภาคออกจากน้ำทำได้ง่ายโดยใช้สนามแม่เหล็ก ซึ่งอนุภาคที่มีสมบัติซูเปอร์พาราแมกเนติกได้ถูกทำการปรับปรุงพื้นผิวโดยการต่อติดหมู่ฟังก์ชันแบบเดี่ยวและแบบหมู่ฟังก์ชันคู่ที่สัดส่วน 1:1 โดยหมู่ฟังก์ชันที่ศึกษา ได้แก่ หมู่อะมิโน และ หมู่เมอร์แคปโต เพื่อเปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ชนิดผง จากผลการทดลองพบว่า การดูดซับกรดฮาโลอะซิติกบนตัวกลางดูดซับทุกชนิดเข้าสู่สมดุลภายในเวลา 24 ชั่วโมง อัตราการดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับสองเทียม (pseudo second order) นอกจากนั้นความสามารถในการดูดซับกรดฮาโลอะซิติกในช่วงความเข้มข้นต่ำ (0-300 ไมโครกรัมต่อลิตร) พบว่า ความสามารถในการดูดซับกรดฮาโลอะซิติกโดยใช้อนุภาคที่มีสมบัติซูเปอร์พาราแมกเนติกมีลักษณะเฉพาะตัว เนื่องมาจากหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวตัวกลางดูดซับแต่ละชนิดส่งผลต่อแรงทางประจุไฟฟ้า พันธะไฮโดรเจน และความชอบน้ำของตัวกลางดูดซับจึงทำให้แรงที่สำคัญในการดูดซับกรดแต่ละชนิดแตกต่างกัน โดยกรดฮาโลอะซิติกที่มีโบรมีนเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างถูกดูดซับได้มากกว่ากรดฮาโลอะซิติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ และความเกะกะของโครงสร้างของกรดไตรคลอโรอะซิติกมีผลต่อความสามารถในการดูดซับกรดฮาโลอะซิติกของตัวกลางดูดซับแบบหมู่ฟังก์ชันคู่เช่นกัน ความสามารถในการดูดซับกรดฮาโลอะซิติกของอนุภาคที่มีสมบัติซูเปอร์พาราแมกเนติกแต่ละชนิด แสดงให้เห็นว่าแรงที่ใช้ในการดูดซับไม่มีความสัมพันธ์กับค่าพีเอชของสารละลายการดูดซับกรดฮาโลอะซิติกในน้ำประปาจริง โดยอนุภาคที่มีสมบัติซูเปอร์พาราแมกเนติกมีความสามารถในการดูดซับกรดฮาโลอะซิติกได้สูงกว่า PAC ซึ่งเป็นผลมาจากการดูดซับของ PAC เกิดการแย่งพื้นที่ในการดูดซับกันen_US
dc.description.abstractalternativeIn this study, adsorption effieciencies of haloacetic acids (HAA5), disinfection by-products (DBPs), were investigated by using modified superparamagnetic silicacoated magnetic nanoparticles. According to superparamagnetic characteristic, silica coated magnetite nanoparticles can be separated from wastewater by magnetic field easily. Superparamagnetic magnetitle nanoparticles were synthesized and modified surface by silica coating (SCP) and organic functional groups grafting. 3-aminopropyltriethoxy- and 3-mercaptopropyl- functional groups were grafted on SCP surface by single and bi-functional grafting method. The results showed that adsorption of HAA5 on each adsorbent reached equilibrium state in 24 hours and consistent to pseudo second order model. The adsorption mechanisms of HAA5 onto synthesized particles at low concentration of HAA5 (0-300 µ/l) were specific due to electrostatic interaction, hydrogen bond and hydrophilic/hydrophobic interaction. This study found that the adsorption capacity of bromine HAA5 group were higher than adsorption capacities of chlorine HAA5 group. In addition, the steric effect of trichloroacetic acid molecular structure could increase adsorption capacity of bi-functional group adsorbent. However, the results showed that HAA5 adsorption capacities did not relate to pH significantly. Adsorption capacity of HAA5 on SCPs in real tap water had higher affinity than PAC due to competition of active surface accessibility.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.670-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกรดฮาโลอะซิติกen_US
dc.subjectHaloacetic acidsen_US
dc.titleการดูดซับเกรดฮาโลอะซิติกโดยใช้อนุภาคที่มีสมบัติซูเปอร์พาราแมกเนติกen_US
dc.title.alternativeAdsorption of haloacetic acids by superparamagnetic particlesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpatiparn.p@eng.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.670-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pidchapa_bo_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
pidchapa_bo_ch1.pdf571.93 kBAdobe PDFView/Open
pidchapa_bo_ch2.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
pidchapa_bo_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
pidchapa_bo_ch4.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
pidchapa_bo_ch5.pdf494.55 kBAdobe PDFView/Open
pidchapa_bo_back.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.