Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53037
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมรกต เปี่ยมใจ-
dc.contributor.authorพัชรี สันติวราพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-21T13:58:38Z-
dc.date.available2017-06-21T13:58:38Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53037-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ค่าความแข็งผิวระดับไมโครเมตรของ วัสดุทดลอง เซรามิค เรซินคอมโพสิต และผิวเคลือบฟันมนุษย์ และเปรียบเทียบ 2) ค่าความแข็งแรงดึงยึดระหว่างสารยึดเรซินกับวัสดุทดลอง เซรามิค เรซินคอมโพสิต และโลหะผสมชนิดพื้นฐาน โดยใช้เรซินซีเมนต์แตกต่างกัน 2 กลุ่มคือ กลุ่มซุปเปอร์บอนด์ และกลุ่มออลบอนด์ทูร่วมกับดูโอลิงค์ซีเมนต์ (กลุ่มออลบอนด์ทู) วัสดุและวิธีการการทดสอบความแข็งผิวในระดับไมโครเมตร : เตรียมชิ้นตัวอย่างขนาด 4x5x2 มิลลิเมตรจำนวน 20 ชิ้นของวัสดุบูรณะแต่ละชนิดและผิวเคลือบฟัน จากนั้นทำการวัดความแข็งผิวแบบวิคเคอร์ด้วยเครื่องวัดความแข็งผิวระบบดิจิตอลที่แรงกด 100 กรัมเป็นเวลา 15 วินาที โดยทำการกด 8 จุดในแต่ละชิ้นตัวอย่าง นำผลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย วิธีการทดสอบค่าความแข็งแรงดึงยึด : เตรียมชิ้นตัวอย่างขนาด 4x5x2 มิลลิเมตร จำนวน 20 ชิ้นของวัสดุบูรณะแต่ละชนิด นำไปยึดในเรซินจากนั้นสร้างระนาบบนชิ้นตัวอย่าง โดยใช้กระดาษทรายซิลิกอนคาร์ไบด์ความละเอียด 400 และ 600 แล้วนำไปทำการปรับสภาพพื้นผิวโดยกลุ่มเรซินคอมโพสิตและเซรามิคจะทำการเป่าทรายด้วยผงอลูมินาขนาด 50 ไมโครเมตรร่วมกับการใช้สารคู่ควบไซเลน ส่วนกลุ่มวัสดุทดลองทำการปรับสภาพผิวโดยการเป่าทรายด้วยผงอลูมินาขนาด 50 ไมโครเมตร แล้วตามด้วยการกัดด้วยกรดฟอสฟอริก ส่วนกลุ่มโลหะผสมชนิดพื้นฐานนิกเกิล-โครเมียม-เบริลเลียมทำการปรับสภาพผิวโดยการเป่าทรายด้วยผงอลูมินาขนาด 50 ไมโครเมตร จากนั้นสุ่มชิ้นตัวอย่างมายึดกับแท่งพีเอ็มเอ็มเอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม.ด้วยเรซินซีเมนต์ทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง จากนั้นนำชิ้นตัวอย่างไปแช่น้ำที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนนำมาทดสอบค่าความแข็งแรงดึงยึดด้วยเครื่องทดสอบสากล ตรวจสอบตำแหน่งของการแตกหักและศึกษาบริเวณรอยต่อของวัสดุบูรณะกับเรซินด้วยกล้องจุลทรรศน์ ชนิดสเตอริโอและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด นำค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบวิคเคอร์และค่าความแข็งแรงดึงยึดมาวิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) ผลการทดลอง พบว่าในทุกกลุ่มวัสดุบูรณะและผิวเคลือบฟันมนุษย์มีค่าความแข็งผิวแบบ วิคเคอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยลำดับวัสดุที่มีค่าความแข็งผิวน้อยที่สุดไปยังมากที่สุดคือเรซินคอมโพสิต(109.79) < วัสดุทดลอง(287.16) < ผิวเคลือบฟัน(336.12) < เซรามิค(550.02) พบว่าค่าความแข็งดึงยึดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งจากปัจจัยด้านวัสดุบูรณะ เรซินซีเมนต์ และผลร่วมกันของทั้ง 2 ปัจจัย จากการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีของแทมเฮนพบความแตกต่างของค่าความแข็งแรงดึงยึดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มย่อยจากมากไปน้อยดังนี้ (กลุ่มโลหะผสมชนิดพื้นฐานกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์, เรซินคอมโพสิตกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์, กลุ่มวัสดุทดลองกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์) > (กลุ่มเซรามิคกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์, เรซินคอมโพสิตกับสารยึดเรซินออลบอนด์ทู, วัสดุทดลองกับสารยึดเรซินออลบอนด์ทู) > (กลุ่มโลหะผสมชนิดพื้นฐานกับสารยึดเรซิน ออลบอนด์ทู, กลุ่มเซรามิคกับสารยึดเรซินออลบอนด์ทู)โดยกลุ่มที่อยู่ในวงเล็บมีค่าความแข็งแรงดึงยึดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบชั้นรอยต่อระหว่างวัสดุทดลองและเรซินซีเมนต์ชนิดซุปเปอร์บอนด์มีลักษณะเป็นโครงสร้างตาข่าย สรุปผลการทดลอง วัสดุทดลองมีค่าความแข็งผิวใกล้เคียงกับเคลือบฟันมนุษย์มากกว่าวัสดุบูรณะชนิดอื่นๆและสามารถสร้างชั้นรอยต่อที่มีส่วนผสมระหว่างเรซินและวัสดุทดลองทำให้เกิดการยึดติดเชิงกลที่ดีดังนั้นวัสดุชนิดนี้น่าจะนำมาใช้เป็นวัสดุบูรณะทดแทนเคลือบฟันที่สูญเสียไปได้ดีกว่าวัสดุบูรณะอื่นที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน การเตรียมพื้นผิวของวัสดุบูรณะที่ก่อให้เกิดความขรุขระในระดับไมโครเมตรร่วมกับประสิทธิภาพการแทรกซึมของเรซินซีเมนต์มีผลต่อค่าความแข็งแรงดึงยึดบริเวณรอยต่อระหว่างวัสดุบูรณะกับเรซินซีเมนต์en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to compare: 1) microhardness of experimental material, ceramic, resin composite and human enamel and 2) the tensile bond strength(TBS) of resin-adhesive to experimental material, ceramic, resin composite and Ni-Cr-Be base metal alloys using 2 different resin cements: Super-Bond C&B (Super-Bond) and All-Bond2 with Duo-Link cement (All-Bond2) Materials and methods For microhardness testing: twenty specimens of 4x5x2 mm for each groups were prepared, Vickers microhardness test (VHN) using a digital microhardness tester at 100 gm for 15 seconds was loaded. Eight indentations were measured on specimen for the average value. For tensile testing: twenty specimens of 4x5x2 mm for each restorative materials were embedded in self-cured acrylic resin. The bonding area was horizontally grounded using 400 and 600 grit SiC abrasive paper. Surface of all materials were sandblasted with 50 µm alumina. Surface of resin composite and ceramic specimens were applied with silane coupling agent while experimental material specimens were etched with phosphoric acid. All specimens were randomly bonded with PMMA rod using different resin cement (n=10) All bonded specimens were stored in distilled water at 37OC for 24 h before tensile loading using a universal testing machine. The fractured surfaces and resin-material interface were examined under stereomicroscope and scanning electron microscopes. Mean±SD of VHN and TBS data were statistically analyzed at p<0.05 using ANOVA and Tamhane test. Results There were statistically significant differences among VHN from least to most were as follows: resin composite < experimental material < human enamel < ceramic. There were significant differences in the TBS for material, resin cement and the interaction. Statistically significant differences in the TBS for each subset ranking from most to least as follows: (metal alloys-Super-Bond ,resin composite-Super-Bond, experimental material-Super-Bond) > (ceramic-Super-Bond, resin composite-All-Bond2, experimental material-All-Bond2) > (metal alloys-All-Bond2, ceramic-All-Bond2) in the same subset were not significant differences. Interphase between experimental material and Super-Bond demonstrated honeycomb-like pattern. Conclusion: The experimental material has surface hardness more comparable to human enamel than other restorative materials and create the hybrid interphase that make good mechanical interlocking with resin. These results suggest that this experimental material may be a better restorative material than other restorative materials. Surface treatment of restorative material creating surface microroughness combined with penetration of resin cement has effect on tensile bond strength at resin-restoration interface.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2185-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectซีเมนต์ทางทันตกรรมen_US
dc.subjectเรซินทางทันตกรรมen_US
dc.subjectเคลือบฟันen_US
dc.subjectการยึดติดทางทันตกรรมen_US
dc.subjectResin Cementsen_US
dc.subjectDental resinsen_US
dc.subjectDental Enamelen_US
dc.subjectDental Bondingen_US
dc.subjectTensile Strengthen_US
dc.titleความแข็งผิวของวัสดุบูรณะและความแข็งแรงดึงยึดที่บริเวณรอยต่อของวัสดุบูรณะกับเรซินซีเมนต์en_US
dc.title.alternativeMicrohardness of restorative materials and tensile bond strength at resin-restoration interfaceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortmorakot@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.2185-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharee_sa_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_ch1.pdf765.61 kBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_ch2.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_ch4.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_ch6.pdf256.92 kBAdobe PDFView/Open
patcharee_sa_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.